ผู้ว่าการแบงก์ชาติชี้โควิด-19 ซ้ำเติมความเหลื่อมล้ำ

กรุงเทพฯ 30 ก.ย.-ผู้ว่าการแบงก์ชาติ ชี้โควิด-19 ซ้ำเติมความเหลื่อมล้ำ แนะ 7 แนวทางปรับโครงสร้าง สร้างภูมิคุ้มกัน​รับมือความเปลี่ยนแปลงและความไม่แน่นอนของโลกที่เปลี่ยนรวดเร็ว


นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยกล่าวสุนทรพจน์ งานสัมมนาวิชาการธนาคารแห่งประเทศไทย ประจำปี 2564 หัวข้อ “สร้างภูมิคุ้มกัน ผลักดันเศรษฐกิจไทย” ระบุว่าปี 64 เป็นปีที่มีความท้าทายยิ่ง ไม่เพียงแต่ไทนกำลังเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจที่รุนแรงจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่ประเทศไทยยังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่ต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในบริบทโลกใหม่ที่ไม่เหมือนเดิม ทั้งพัฒนาการทางเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด การเข้าสู่สังคมสูงวัย การปรับเปลี่ยนของภูมิรัฐศาสตร์โลก และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ความท้าทายต่าง ๆ เหล่านี้ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว รุนแรง  ดังนั้น หากประเทศไทยจะก้าวต่อไปในอนาคตอย่างมั่นคง ยั่งยืน และมีเสถียรภาพภายใต้ความเปลี่ยนแปลงและความไม่แน่นอน หรือ resiliency จำเป็นต้องมี “ภูมิคุ้มกัน” รับบริบทโลกใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงและความไม่แน่นอนสูง

ทั้งนี้เศรษฐกิจไทยจะ resilient ได้ ต้องมีลักษณะที่สำคัญอย่างน้อย 3 ประการ คือ (1) ความสามารถในการหลีกเลี่ยงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ หรือ ability to avoid shocks (2) ความสามารถในการรับมือกับผลกระทบที่เกิดขึ้น หรือ ability to withstand shocks และ (3) ความสามารถในการฟื้นตัวจากผลกระทบดังกล่าว หรือ ability to recover from shocks


” ในปัจจุบัน เรามีขีดจำกัดในทุกด้าน ซึ่งทำให้เศรษฐกิจไทยไม่ resilient โครงสร้างเศรษฐกิจไทยไม่กระจายความเสี่ยง พึ่งพาต่างประเทศที่สูงในแทบทุกมิติ ทั้งการส่งออก การท่องเที่ยว เทคโนโลยีและแรงงานต่างชาติรวมทั้งมีความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ หรือ climate change” ผู้ว่าการธปท.ระบุ

สำหรับดัชนีความเสี่ยง Global Climate Risk Index 2021 ของ German Watch ได้จัดให้ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 9 จากกว่า 180 ประเทศทั่วโลก สภาพอากาศสุดขั้ว อุณหภูมิที่สูงขึ้น และความผันผวนของปริมาณน้ำฝนจาก climate change ได้ซ้ำเติมความเปราะบางของระบบเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคเกษตร, น้ำของอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่สำคัญ และยังเป็นแหล่งความมั่นคงทางอาหาร (food security) ของประเทศอีกด้วย

นอกจากนี้ ความพยายามในการลดก๊าซเรือนกระจก (greenhouse gas) ของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในประเทศพัฒนาแล้ว ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานสินค้า นโยบายการลงทุน และนโยบายการค้าระหว่างประเทศ เช่น การออกแผนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของยุโรป (European Green Deal) รวมถึงการออกมาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism: CBAM) ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการผลิตและส่งออกสินค้าของไทยอย่างรวดเร็ว ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดจากการที่มาตรการ CBAM จะเริ่มมีผลบังคับใช้ในปี 2023 นี้แล้ว


ในส่วนของการรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 ประการ คือ การเข้าถึงแหล่งเงินทุน และ ความสามารถในการปรับตัว ต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เช่น การปรับเปลี่ยนอาชีพของแรงงาน และการปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตและการตลาดของธุรกิจซึ่งไทยมี ความเหลื่อมล้ำ ที่สูงและมี ภาคเศรษฐกิจนอกระบบ (informal sector) ที่ใหญ่ กลุ่มเปราะบาง เช่น ครัวเรือนยากจน แรงงานที่เพิ่งเรียนจบ (first jobbers) แรงงานอิสระที่ไม่ได้รับค่าจ้าง หรือได้ค่าจ้างเป็นรายวัน และธุรกิจ SMEs ที่มีจำนวนมากและมักอยู่นอกระบบ ไม่สามารถรับมือและปรับตัวต่อวิกฤตและการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้​   มักมีสายป่านทางการเงินที่สั้น เนื่องจาก มีเงินออมที่ไม่เพียงพอ  กู้ยืมเงินได้ยาก  มีข้อจำกัดด้านทักษะและเทคโนโลยีที่จำเป็นสำหรับการปรับตัว

ความสามารถในการรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ยังขึ้นกับปัจจัยทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความสมานฉันท์ พบว่าประเทศไทยนั้น ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ความแตกต่างทางความคิดในสังคมไทยนำไปสู่ความขัดแย้งที่ฝังลึก มีการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย ความสมานฉันท์ในสังคมไทยลดต่ำลง ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ข้อมูลจาก World Values Survey ตั้งแต่ปี 2008 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันที่พบว่า ดัชนีวัดความไว้เนื้อเชื่อใจกันของคนในสังคมไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง  ได้บั่นทอนกลไกในการสร้าง resiliency ของระบบเศรษฐกิจไทยเศรษฐกิจไทยยังมีขีดความสามารถในการฟื้นตัวจากผลกระทบต่าง ๆ ที่จำกัดอีกด้วยโดย

ครัวเรือนและธุรกิจในกลุ่มเปราะบางมักได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่ค่อนข้างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รายได้ที่ขาดหายไปก่อให้เกิด “แผลเป็น” ทางเศรษฐกิจ (economic scars) ที่ทำให้การฟื้นตัวใช้เวลานาน และเหนี่ยวรั้งการฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจโดยรวมยิ่งซ้ำเติมปัญหาความเหลื่อมล้ำ และตอกย้ำความร้าวฉานในสังคมให้ลึกลง  น่ากังวลตั้งแต่ก่อนวิกฤตโควิด-19 มีแนวโน้มที่จะรุนแรงมากขึ้นจากการฟื้นตัวที่ไม่เท่าเทียมกัน (K-shaped recovery) ดังนั้นจึงขอเสนอแนวทางการสร้างภูมิคุ้มกัน​ที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาครัฐได้แก่

  1. ต้องมีการบริหารความเสี่ยงภาพรวมของประเทศ (country risk management)
  2. ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศให้พร้อมรับความท้าทายในอนาคต เช่น การปรับเปลี่ยนไปสู่เศรษฐกิจสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ resilient ต่อสถานการณ์ climate change รวมถึงความท้าทายในด้านอื่น ๆ ทั้งเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างก้าวกระโดด สังคมที่สูงวัย และภูมิรัฐศาสตร์โลกที่เปลี่ยนไป
  3. ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยทั้งในเชิงอุตสาหกรรมและในเชิงพื้นที่เพื่อกระจายความเสี่ยงให้ดีขึ้น
  4. ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ยังอยู่นอกระบบเข้ามาอยู่ในระบบ (formalization) มากขึ้น
  5. ลดความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมในสังคมอย่างจริงจัง
  6. สร้างโครงข่ายความคุ้มครอง (safety nets) ในทุกระดับเพื่อให้ครัวเรือนและธุรกิจอยู่รอดได้ในยามวิกฤต
  7. ลดการเกิดแผลเป็นทางเศรษฐกิจในยามวิกฤต เพื่อให้ครัวเรือนและธุรกิจสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว เช่น สร้างสายป่านที่ยาวพอ ให้ธุรกิจดำเนินอยู่ได้และจ้างงานต่อเนื่อง ฝึกทักษะแรงงานเพื่อรองรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่จะเปลี่ยนไปหลังวิกฤติ สร้างกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ กระบวนการไกล่เกลี่ยหนี้ และกระบวนการล้มละลายที่มีประสิทธิภาพและเป็นธรรม.-สำนักข่าวไทย
ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สาวซิ่งรถหรูชนท้าย จยย. ทำแม่ลูกดับ 3 ศพ

แม่ขี่ จยย.ไปรับลูก 2 คน กลับจากเรียนพิเศษ ถูกสาวขับรถหรูซิ่งชนท้าย ร่างกระเด็นตกสะพานข้ามรางรถไฟ เสียชีวิตทั้ง 3 คน ส่วนผู้ก่อเหตุอุ้มแมว ทิ้งรถ หลบหนีไป

ปิดล้อมล่ามือปืนคลั่งสังหาร 3 ศพ

ตำรวจเร่งไล่ล่ามือปืนคลั่งก่อเหตุยิง 3 ศพ ในพื้นที่ จ.หนองบัวลำภู ล่าสุดปิดล้อมพื้นที่กว่า 1,000 ไร่ รอยต่อ จ.เลย หลังพบเบาะแสคนร้ายหนีไปซ่อนตัว ขณะที่ชนวนสังหารยังไม่แน่ชัด

ลูกชายมือปืนคลั่งยิง 3 ศพ พาครอบครัวหนีตาย พ่อโพสต์ขู่ฆ่าล้างครัว

ลูกชายมือปืนคลั่งยิงดับ 3 ศพ ต้องพาภรรยาและลูก รวมถึงพ่อตา-แม่ยาย หนีไปอยู่ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง หลังพ่อโพสต์ข้อความขู่จะฆ่าล้างครัว เหตุจากปัญหาในครอบครัว

ชายคลั่งยิง3ศพ

ชายคลั่งยิงดับ 3 ศพ โผล่วัดที่ จ.เลย ขอข้าวกิน ก่อนหนีเข้าป่า

แม่ครัววัดภูคำเป้ ต.ผาสามยอด อ.เอราวัณ จ.เลย เผยพบชายคลั่งยิงดับ 3 ศพ เดินเข้ามาในวัดด้วยสภาพอิดโรย ขอข้าวกิน ลักษณะรีบกินเหมือนวิตกกังวล หลังกินเสร็จรีบเดินเข้าป่าหายไป ก่อนมาทราบภายหลังว่าเป็นผู้ก่อเหตุยิงคนเสียชีวิต

ข่าวแนะนำ

สงขลาประกาศเขตภัยพิบัติแล้วทุกอำเภอ เร่งช่วยน้ำท่วมวิกฤติ

ผู้ว่าฯ สงขลา ลงนามประกาศให้ทั้ง 16 อำเภอ เป็นเขตพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินอุทกภัยและวาตภัย เพื่อเร่งรัดให้ความช่วยเหลือประชาชน บรรเทาความเดือดร้อน โดย อ.จะนะ เทพา นาทวี และสะบ้าย้อย ยังมีระดับน้ำท่วมเพิ่มสูงขึ้น

จ.ยะลา น้ำท่วมสูงสุดเป็นประวัติการณ์รอบหลายสิบปี

จ.ยะลา โดยเฉพาะ อ.เมือง ปีนี้น้ำท่วมสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบหลายสิบปี และวันนี้ (28 พ.ย.) น้ำยังขยายวงกว้างอีกหลายจุด ประชาชนได้รับความเดือดร้อนมากกว่า 120,000 คน ถนนถูกน้ำท่วมแล้ว 158 สาย ใน 8 อำเภอ 58 ตำบล

ศาลไม่ให้ประกันเมีย-ลูก “หมอบุญ” ชี้ความเสียหายสูง หวั่นหลบหนี

ศาลอาญาไม่ให้ประกันภรรยา-ลูก “หมอบุญ” ชี้การสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น ความเสียหายสูง เกรงหลบหนี ยุ่งเหยิงพยานหลักฐาน ส่วนปมปลอมลายมือชื่ออยู่ระหว่างตรวจพิสูจน์

มือยิง 3 ศพ ขอโทษ-สำนึกผิด อ้างบันดาลโทสะ

ตำรวจแถลงข่าวจับกุม “สามารถ” ผู้ต้องหายิง 3 ศพ ในพื้นที่ อ.ศรีบุญเรือง จ.หนองบัวลำภู หลังจากติดต่อมอบตัว พร้อมยอมรับผิด ขอโทษญาติผู้เสียชีวิต อ้างบันดาลโทสะจึงก่อเหตุ และไม่มีอาการคลั่งตามที่เป็นข่าว