สธ. แนะฤดูฝน อย่าลืมระวังโรคไข้เลือดออก

กรุงเทพฯ 5 มิ.ย.-ก.สาธารณสุข ย้ำช่วงฤดูฝน แพทย์-พยาบาล รักษาผู้ป่วยมีไข้ ให้คิดถึงไข้เลือดออกด้วย พร้อมให้ อสม. ชวนประชาชนกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในบ้านทุก 7 วัน หากมีไข้สูง 2 วันไม่ดีขึ้น หรือช่วงไข้ลด อาการแย่ลง อ่อนเพลีย ซึม ให้รีบไปโรงพยาบาล


นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า สถานการณ์ไข้เลือดออกในปีนี้ (1 มกราคม-2 มิถุนายน 2564) พบผู้ป่วยแล้ว 3,366 ราย มีผู้เสียชีวิต 2 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุ 5–14 ปี และเด็กเล็ก แม้ว่าจำนวนผู้ป่วยจะน้อยกว่าช่วงเดียวกันของปี 2563 ถึงร้อยละ 81 แต่ยังไม่สามารถนิ่งนอนใจได้ หากพบผู้ป่วยมีไข้มารับการรักษาที่โรงพยาบาลให้คำนึงถึงโรคไข้เลือดออกด้วย และให้สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดการขยะ กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน รวมทั้งให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ชวนประชาชนดูแลภายในบ้าน ไม่ให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ตามหลัก 3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค คือ โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคไข้ปวดข้อยุงลายหรือโรคชิคุนกุนยา

“ในช่วงนี้ เด็กเล็ก เด็กนักเรียนยังไม่เปิดเทอม ขอให้ผู้ปกครองดูแลไม่ให้ยุงกัด สวมใส่เสื้อแขนยาวและกางเกงขายาว นอนในมุ้ง หากมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หน้าแดง มีผื่น มีรอยจ้ำเลือดหรือจุดเลือดออกตามลำตัว แขน ขา เบื่ออาหาร จุกแน่นลิ้นปี่ หรือสงสัยว่าป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ให้ไปพบแพทย์โดยเร็ว ขอย้ำว่า อย่าซื้อยาแก้ปวดลดไข้กลุ่มเอ็นเสด (NSAIDS : Nonsteroidal anti-inflammatory drug) เช่น แอสไพริน ไอบรูเฟน มากินเอง เพราะหากเป็นไข้เลือดออก จะทำให้เกิดอาการเลือดออกมากขึ้น” นายแพทย์เกียรติภูมิกล่าว


นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ผู้ป่วยไข้เลือดออกจะมีอาการไข้สูงลอย อุณหภูมิ 38.5–40.0 องศาเซลเซียส ติดต่อกัน 2 – 7 วัน อาการทั่วไปคล้ายเป็นหวัด แต่ไม่ไอ ไม่มีน้ำมูก หน้าแดง ปวดศีรษะ บางรายอาจมีปวดท้อง อาเจียนมีจุดแดงเล็กตามแขน ขา ลําตัว หากมีอาการไข้สูง 2 วัน อาการไม่ดีขึ้น อ่อนเพลีย ซึมลง ปัสสาวะสีเข้ม หรือหลังจากไข้ลดแล้วแต่อาการแย่ลง ซึมกว่าเดิม เบื่ออาหาร เลือดกําเดาไหล อาเจียนเป็นเลือด และอุจจาระเป็นสีดํา หมดสติ ให้รีบนําส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด เพื่อรับการรักษาอย่างทันท่วงทีเพื่อลดการเสียชีวิต สำหรับการดูแลผู้ป่วยที่แพทย์ให้กลับมาพักฟื้นที่บ้าน ควรดื่มน้ำผลไม้หรือน้ำเกลือแร่บ่อยๆ เช็ดตัวลดไข้ด้วยน้ำธรรมดา รับประทานอาหารอ่อนและกินยาตามแพทย์สั่ง โดยทั่วไปผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นอย่างชัดเจนภายใน 2-3 วัน

ทั้งนี้ หลัก 3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค คือ เก็บบ้านให้สะอาด ไม่ให้มีมุมอับทึบเป็นที่เกาะพักของยุง เก็บขยะที่อยู่บริเวณรอบบ้าน เก็บภาชนะไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และเก็บน้ำ ปิดฝาภาชนะที่ใส่น้ำให้มิดชิด เปลี่ยนน้ำในกระถางหรือแจกันทุกสัปดาห์ ป้องกันไม่ให้ยุงลายวางไข่ จะสามารถป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือโรคชิคุนกุนยา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เหล้าเถื่อนลาว

เสียชีวิตรายที่ 6 คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว

คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเสียชีวิตเพิ่มรายที่ 6 เป็นหญิงชาวออสเตรเลีย เสียชีวิตขณะรักษาตัวในไทย

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษา ทบ.

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก ช่วยปฏิบัติราชการที่กองบัญชาการกองทัพบก หลังถูกร้องทำร้ายร่างกายผู้ใต้บังคับบัญชา พร้อมช่วยเจ้าทุกข์ย้ายหน่วยตามร้องขอ

ไฟไหม้โรงงานพัดลม เผาวอดเสียหายกว่า 50 ล้าน

ไฟไหม้โรงงานผลิตพัดลมรายใหญ่ จ.สมุทรสาคร ระดมรถดับเพลิงระงับเหตุ กว่า 5 ชม. จึงควบคุมไว้ได้ในวงจำกัด เบื้องต้นเสียหายกว่า 50 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

เร่งประสานอินเตอร์โพลขอหมายแดงล่าตัว “หมอบุญ”

ตำรวจเตรียมออกหมายจับเครือข่าย “หมอบุญ” ฉ้อโกง ลอต 2 รวมทั้งเร่งประสานอินเตอร์โพล ออกหมายแดงล่าตัว “หมอบุญ” กลับมาดำเนินคดี

“ทนายสายหยุด” จ่อถอนตัวคดีตั้ม หวั่นติดร่างแห

“ทนายสายหยุด” เตรียมถอนตัวเป็นทนายให้ “ตั้ม” เผยในมือมีแต่พยานเท็จ ปิดบังข้อเท็จจริง เสี่ยงเป็นผู้ร่วมกระทำผิด

ศึกชิงนายก อบจ.สุรินทร์ “ธัญพร มุ่งเจริญพร” เข้าป้าย

ศึกชิงนายก อบจ.สุรินทร์ ลุ้นกันจนนาทีสุดท้าย “ธัญพร มุ่งเจริญพร” พลิกชนะ “พรชัย มุ่งเจริญพร” แชมป์เก่าแบบขาดลอย คว้าเก้าอี้มาครอง นั่งนายก อบจ.หญิงคนแรกของจังหวัด

เลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานี ครึ่งวันเช้าคึกคัก

ภาพรวมการใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานี ครึ่งวันเช้าค่อนข้างคึกคัก มีประชาชนทยอยใช้สิทธิต่อเนื่อง ยังไม่มีรายงานการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง