เปิดคำวินิจฉัยกลางนับอายุความฟ้องคดีปกครอง

กรุงเทพฯ 25 มี.ค.- เปิดคำวินิจฉัยกลางศาลรัฐธรรมนูญ นับอายุความฟ้องคดีปกครองที่ส่งผลต่อการรื้อคดีจ่ายค่าโฮปเวลล์ 2.4 หมื่นล้าน

เปิดคำวินิจฉัยกลางศาลรัฐธรรมนูญ นับอายุความฟ้องคดีปกครองที่ส่งผลต่อการรื้อคดีจ่ายค่าโฮปเวลล์ 2.4 หมื่นล้าน ระบุชัดมติที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดดังกล่าว เหมือนบัญญัติบทเฉพาะกาลที่กำหนดหลักเกณฑ์การนับระยะเวลาฟ้องคดี ซึ่งใช้เป็นการทั่วไปในทุกคดีที่ฟ้องต่อศาลปกครอง มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงบทบัญญัติกฎหมายที่ฝ่ายนิติบัญญัติตราขึ้น จึงเข้าข่ายเป็นระเบียบที่ต้องผ่านการตรวจสอบของสภา และประกาศราชกิจจาฯ ก่อนใช้บังคับ


วันนี้ ( 25 มี.ค.) เว็บไซต์สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่คำวินิจฉัยกลางในคดีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมากวินิจฉัยว่า มติที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดครั้งที่ 18/2545 วันพุธที่ 27 พ.ย. 2545 เรื่อง ปัญหาเกี่ยวกับระยะเวลาฟ้องคดีปกครองที่กำหนดให้นับอายุความฟ้องคดีปกครองตั้งแต่วันที่ศาลปกครองเปิดทำการ คือวันที่ 9 มี.ค. 2544 และถูกนำมาใช้อ้างอิงในคดีสัญญาสัมปทานโครงการโฮปเวลล์ เข้าข่ายเป็นการขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 วรรคสอง และมาตรา 197 วรรคสี่ โดยศาลได้ระบุถึงเหตุผลที่วินิจฉัยว่ามติดังกล่าวเข้าข่ายเป็นการออกระเบียบ ที่ต้องมีการส่งไปให้สภาผู้แทนราษฎรตรวจสอบ และประกาศในราชกิจจานุเบกษา ว่า มูลเหตุที่นำไปสู่การมีมติที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดดังกล่าว เกิดจากปัญหาเกี่ยวกับระยะเวลาฟ้องคดีตามคำร้องที่ 40/2544 คำร้องที่ 267/2544 และคำร้องที่ 428/2545 ที่ผู้ฟ้องคดีนำคดีที่เหตุแห่งการฟ้องเกิดขึ้นก่อนศาลปกครองเปิดทำการ มาฟ้องหลังจากศาลปกครองเปิดทำการแล้ว

และเมื่อพิจารณามติที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดดังกล่าวแล้ว เป็นการพิจารณาปัญหาเกี่ยวกับระยะเวลาฟ้องคดีในกรณีที่เหตุแห่งการฟ้องคดีเกิดขึ้นก่อนศาลปกครองเปิดทำการ ซึ่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง 2542 ไม่ได้บัญญัติบทเฉพาะกาลให้นับระยะเวลาฟ้องคดีในช่วงเปลี่ยนผ่านการใช้บังคับพระราชบัญญัติดังกล่าวไว้ จึงมีการนำปัญหาดังกล่าวเข้าพิจารณาในที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดโดยขอให้ที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด กำหนดแนวทางการวินิจฉัยปัญหา ไม่ใช่เป็นเพียงการพิจารณาพิพากษาเฉพาะคดี และเมื่อพิจารณาการอภิปรายของผู้เข้าร่วมประชุมในรายงานการประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดครั้งดังกล่าวแล้ว ไม่ได้มีการกล่าวถึงข้อเท็จจริงในคดีใดคดีหนึ่งของทั้ง 3 คดี เป็นการเฉพาะดังเช่นการพิจารณาวินิจฉัยปัญหาคดีทั่วไป เพื่อนำไปสู่การพิจารณาชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีที่มีผลเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งเฉพาะในคดีนั้น ๆ


“ยิ่งไปกว่านั้นตามคำสั่งในคดีทั้ง 3 มิได้อ้างอิงว่าเป็นคำวินิจฉัย โดยมติที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดไว้ในส่วนที่พิเคราะห์เพื่อชี้ขาดประเด็นแห่งคดี แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเป็นการกำหนดแนวทางเกี่ยวกับการฟ้องคดีปกครองทั่วไปที่เกิดขึ้นก่อนศาลปกครองเปิดทำการให้เป็นแนวทางในการปฏิบัติหรือการดำเนินการเพื่อเป็นอย่างเดียวกัน โดยประสงค์ให้การพิจารณาพิพากษาในคดีอื่นต้องเป็นไปในแนวทางเดียวกันนี้ด้วย มติที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดดังกล่าว จึงเป็นเสมือนการบัญญัติบทเฉพาะกาลกำหนดหลักเกณฑ์การนับระยะเวลาฟ้องคดีต่อศาลปกครองไว้เป็นการทั่วไปในทุกคดีที่ฟ้องต่อศาลปกครอง รวมทุกประเภทคดี ตามมาตรา 49 มาตรา 50 มาตรา 51 มาตรา 52 ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นโดยองค์การนิติบัญญัติ โดยไม่ได้เสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย แต่เป็นการตรากฎหมายเกี่ยวกับวิธีพิจารณาคดีของศาลปกครองขึ้นใหม่ มติที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดดังกล่าว จึงไม่ใช่การวินิจฉัยคดีใดคดีหนึ่ง ที่ผลของการพิจารณาวินิจฉัยต้องเป็นไปตามข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายของคดีนั้นตาม มาตรา 68 วรรคหนึ่ง แต่เป็นการกำหนดวิธีการดำเนินการทั้งปวงเกี่ยวกับการฟ้องตามมาตรา 44 ดังนั้น มติที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดดังกล่าวเกี่ยวกับระยะเวลาการฟ้องคดีปกครอง จึงเป็นการออกระเบียบตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง 2542 มาตรา 44

คดีนี้แม้ที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดมีอำนาจออกระเบียบกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับระยะเวลาการฟ้องคดีปกครองเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในช่วงเปลี่ยนผ่านเขตอำนาจศาล แต่ก็ต้องปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในมาตรา 5 คือส่งให้สภาผู้แทนราษฎร์ตรวจสอบ และประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามมาตรา 6 ด้วย ดังเช่นระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาคดีปกครอง ที่โอนมาจากเรื่องร้องทุกข์ตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2544 ที่ปรากฏในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 16 ก.พ. 2544 เมื่อปรากฏว่ามติที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดครั้งที่ 18/2545 วันพุธที่ 27 พ.ย. 2545 เรื่อง ปัญหาเกี่ยวกับระยะเวลาฟ้องคดี มิได้ดำเนินการตามที่มาตรา 5 และมาตรา 6 ของ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง 2542 กำหนดไว้ จึงเป็นการออกระเบียบที่ไม่เป็นไปตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 3 วรรคสอง และมาตรา 197 วรรคสี่ .-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง