“ยุทธพงศ์” ซักฟอก “ณัฏฐพล” ตั้งคนสนิทเป็นเลขา สกสค.

รัฐสภา 18 ก.พ.-“ยุทธพงศ์” ซักฟอก “ณัฏฐพล” ตั้งคนสนิทเป็นเลขา สกสค. คุมงบกว่า 1.5 หมื่นล้านบาท กินเงินเดือนหลักแสน แฉเอื้อแก้คุณสมบัติวุฒิการศึกษา ออกเกณฑ์สรรหาไม่ชอบด้วยกฎหมาย 


นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย อภิปรายไม่ไว้วางใจ นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยก่อนเริ่มได้เชิญชวนกลุ่มที่เรียกว่านักเรียนเลว และครูชุดดำมาฟังการอภิปรายของตนด้วย  ว่า นายณัฏฐพล ไร้ภาวะผู้นำ ไร้สำนึก แต่งกายเสื้อยืด กางเกงยีนส์ ไปร่วมประชุมข้าราชการผู้ใหญ่ระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ ปี 2563 นอกจากนี้ยังกล่าวหามีพฤติกรรมฉ้อฉล แต่งตั้งคนสนิทและพวกพ้องเข้าสู่ตำแหน่งในกระทรวงศึกษาธิการ ทำลายหลักธรรมาภิบาล และหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี อีกทั้งยังกำกับดูแลหน่วยงานสำคัญเองทั้งหมด  โดยเฉพาะ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา หรือ สกสค. ที่มีงบประมาณกว่า 1 หมื่น 5 พันล้านบาท เป็นรายได้ที่ไม่ต้องนำเข้ารัฐ ซึ่งนายณัฏฐพล นั่งเป็นประธาน และมีกรรมการทั้งคนไทยและต่างชาติ โดยเฉพาะตำแหน่งเลขา สกสค. ที่ชื่อนายธนพร สมศรี เป็น 1 ใน 9 บอร์ดทั้งที่อายุน้อย เป็นคนสนิทของนายณัฏฐพล เคยเป็นผู้สมัครบัญชีรายชื่อพรรคพลังประชารัฐที่สอบตก เพราะอยู่อันดับที่ 41  และยังไม่ได้จบทางด้านการศึกษาโดยตรง เพราะจบเกษตรศาสตร์บัณฑิตจาก ม.สุโขทัยธรรมาธิราช และเคยเป็นพนักงานบริษัทขายนม ใน จ.อุบลราชธานี ที่ปิดกิจการไปแล้ว พร้อมเปิดเส้นทางการเข้าสู่ตำแหน่ง ที่เดือน ส.ค.2562 ได้รับตำแหน่งเป็นข้าราชการการเมือง สำนักนายกรัฐมนตรี ก่อนที่เดือน ก.ย.ได้เป็นเลขา สกสค. กินเงินเดือน 2 แสน 5 หมื่นบาท 

พร้อมให้คนของตัวเองแก้คุณสมบัติ การเข้ามาเป็นรองเลขา สกสค. จากวุฒิ ป.โท ให้เป็น ป.ตรี  และมีคุณสมบัติว่า ประกอบอาชีพอื่นใดในภาคเอกชน รวมกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 ปี โดยนายยุทธพงศ์ ชี้ว่าจะมีประสบการณ์ได้อย่างไร เพราะจบการศึกษาเมื่อปี 2548 ไม่มีความรู้ ความสามารถเชิงประจักษ์จะมาบริหาร สกสค.ได้  นอกจากนี้ยังออกเกณฑ์สรรหาเลขาสกสค. โดยไม่มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่มีเพียงประกาศจากสำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ดังนั้นหลักเกณฑ์ดังกล่าวจึงไม่มีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย แต่นายธนพร กลับได้รับการแต่งตั้ง และเมื่อเทียบกับแคนดิเดต นายกฤตชัย อรุณรัตน์ ที่จบครุศาสตร์มหาบัณฑิต ปริญญาโท และมีประสบการณ์ทางด้านการศึกษาเหนือกว่ามากกลับไม่ได้รับการแต่งตั้ง


นายยุทธพงศ์ ยังอภิปรายเรื่องบูรณาการศึกษา ที่ออกคำสั่งสพฐ.ที่ 11/2564 ในเรื่องการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งผิดรัฐธรรมนูญ และกฎกระทรวง ถือเป็นการใช้อำนาจทางการเมือง แทรกแซงข้าราชการประจำ และตั้งคำถามว่าเป็นการเอื้อการใช้งบประมาณเพื่อประโยชน์ของพรรคการเมืองหรือไม่ กรณีแต่งตั้ง นางกนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ไปคุมจังหวัดบุรีรัมย์ แต่บ้านเกิดอยู่ปราจีนบุรี และนายเจตน์ โศภิษฐ์พงศธร เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ไปคุมจังหวัดภูเก็ต.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง