จุฬาฯ ค้นพบ “กะท่างน้ำดอยภูคา” กะท่างชนิดใหม่ของโลก

จุฬาฯ 5 ก.ค.-นักวิจัยภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ เผยแพร่ภาพการค้นพบ “กะท่างน้ำดอยภูคา” กะท่างน้ำชนิดใหม่ของโลก จากอุทยานแห่งชาติดอยภูคา จ.น่าน บนแนวเทือกเขาหลวงพระบาง เป็นตัวชี้วัดสุขภาพป่าที่สมบูรณ์และไร้สารเคมีปนเปื้อน


ดร.ปรวีร์ พรหมโชติ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ตนพร้อมด้วยคณะทำงานได้แก่               ผศ. ดร.วิเชฏฐ์ คนซื่อ และ ดร.ภาณุพงศ์ ธรรมโชติ อาจารย์จากภาควิชาเดียวกัน และได้รับความร่วมมือจากนักวิจัยทั้งจากมหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ผู้สนับสนุนจากประเทศฝรั่งเศส และมหาวิทยาลัยพะเยา  ภายใต้การสนับสนุนการสำรวจโดยศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดน่าน คณะวิจัยสนใจการค้นพบกะท่างน้ำ บริเวณดอยภูคาที่มีเรื่องเล่าการพบเห็นในนิตยสารบางฉบับมามาก กว่า 20 ปีแล้ว จึงสนใจที่ค้นคว้าเพิ่มเติมว่ากะท่างที่พบนั้นยังมีอยู่หรือไม่ เป็นจุดเริ่มต้นของการลงพื้นที่ โดยขออนุญาตและได้รับความอนุเคราะห์จาก นายฉัตรชัย โยธาวุธ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยภูคา และมี นายพศิน อิ่นแก้ว พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่อุทยานท่านอื่นๆ เป็นผู้นำเส้นทาง 


ดร.ปรวีร์ กล่าวต่อไปว่า จากลักษณะทางกายภาพของ กะท่างน้ำดอยภูคา ที่มีสีน้ำตาลแถบส้ม รวมทั้งการตรวจแถบรหัสพันธุกรรม(DNA banding)ทำให้คณะนักวิจัยทราบได้ว่าสัตว์ตัวนี้ถือเป็นกะท่างน้ำสายพันธุ์ใหม่ของโลก ที่สำคัญยังได้รับรู้ถึงความสมบูรณ์ของพื้นป่าบริเวณนี้อีกด้วย เพราะกะท่างน้ำดอยภูคา เป็นสัตว์ที่สามารถใช้เป็นตัวชี้วัดสุขภาพสิ่งแวดล้อมของผืนป่าในบริเวณที่พบได้เป็นอย่างดี จากธรรมชาติของ ไข่ ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของกะท่าง จะอยู่อาศัยได้ในบริเวณผืนป่าสมบูรณ์ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงและไม่ถูกทำลาย รวมถึงพื้นที่นั้น ๆ ต้องไม่มีสารเคมีปนเปื้อน 100% เท่านั้น ซึ่งคณะนักวิจัยและคณะผู้นำทาง ต้องปีนขึ้นบนยอดดอยที่สูงชัน ผ่านป่าดิบที่สมบูรณ์ เพื่อค้นหาแอ่งน้ำ ที่เป็นแหล่งอาศัยของกะท่าง จนไปถึงแอ่งน้ำบนดอยหญ้าหวาย มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,795 เมตร โดยธรรมชาติของกะท่างนั้นจะอาศัยในแอ่งน้ำบริเวณหุบบนยอดเขามีขนาดประมาณ 200 ตารางเมตร และเป็นน้ำที่ปกคลุมด้วยหญ้าที่มีความสูงไม่มากนัก มีก้อนหินขนาดใหญ่อยู่กลางแอ่งน้ำและนอกจากนั้นยังมีขอนไม้ล้มที่มีโพรงจมอยู่กับพื้นของแอ่งน้ำที่มีความลึกไม่มากนัก หรือประมาณครึ่งหน้าแข้ง


ดร.ปรวีร์ กล่าวอีกว่า บริเวณดังกล่าวค้นพบกะท่างน้ำดอยภูคาปีนอยู่ตามกอหญ้า ขอนไม้และก้อนหินกลางแอ่งน้ำ มากกว่า 50 ตัว และส่วนใหญ่เป็นตัวผู้ เมื่อสำรวจทั้งแอ่งน้ำและริมตลิ่ง พบว่ากะท่างน้ำดอยภูคากำลังมุ่งหน้าเข้าผืนป่า คาดเดาว่าเป็นช่วงปลายของฤดูผสมพันธุ์ ธรรมชาติของกะท่างน้ำ เมื่อผสมพันธุ์กันแล้ว ตัวเมียจะวางไข่หลัง และทิ้งไข่ปล่อยให้ปรับตัวไปตามธรรมชาติ ส่วนตัวพ่อและแม่นั้นจะมุ่งหน้ากลับผืนป่า เพราะโดยธรรมชาติของกะท่างจะใช้ชีวิตอยู่บนบกยกเว้นช่วงเวลาผสมพันธุ์เท่านั้น 

ทั้งนี้ การค้นพบดังกล่าว ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารทางวิทยาศาสตร์เป็นที่เรียบร้อย 

สำหรับ “กระท่างน้ำดอยภูคา” ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่สถานที่พบ คืออุทยานแห่งชาติดอยภูคา จ.น่าน มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Tylototriton phukhaensis จัดเป็นกะท่างน้ำชนิดที่ 5 ที่มีรายงานการตั้งชื่อในประเทศไทย 

จัดเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังกลุ่มสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกในวงกระท่างน้ำ หรือ Family Salamandridae สัตว์ในวงนี้เป็นสัตว์เทินน้ำสะเทินบกที่มีลักษณะสำคัญคือมีสีน้ำตาลแถบส้ม มีขาสี่ข้าง มีหางยาว มีความแตกต่างจากกลุ่มของกบ เขียด คางคกที่เราคุ้นเคย ซึ่งเป็นญาติที่มีความใกล้ชิดกัน สัตว์ในกลุ่มนี้มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก (เมื่อวัดจากปลายจมูกถึงปลายหางประมาณ 10 เซนติเมตร) 

มีรูปร่าง 2 แบบ คือ

แบบที่ 1 เรียกว่า newt หรือ นิวท์ มีลักษณะของผิวหนังที่ไม่เรียบ มีต่อมน้ำพิษปรากฏอยู่บนผิวหนังด้านหลัง บริเวณลำตัวและหัวมีสันที่ปรากฏอย่างชัดเจน มีสีสันบนลำตังไม่มากนัก ที่พบเด่นชัดคือ สีส้ม ที่ปรากฏตามสันของร่างกาย ปลายขาและปลายหาง 

แบบที่ 2 เรียกว่า salamander หรือ ซาลาแมนเดอร์ มีลักษณะของผิวหนังเรียบลื่น อาจจะมีของต่อมน้ำพิษปรากฏอยู่หลังลูกตา ลำตัวมีร่องอยู่ด้านข้างระหว่างขาหน้าและขาหลัง ซึ่งจะไม่ปรากฏในกลุ่มนิ้วท์ พวกซาลาแมนเดอร์ไม่พบในประเทศไทย

สถานภาพของประชากร(สถานที่ค้นพบ)ปัจจุบันมีรายงานการค้นพบเพียงแห่งเดียวเท่านั้น จำเป็นที่จะต้องมีการสำรวจในบริเวณอื่นของเทือกเขาหลวงพระบาง ทางฟากล้านนาตะวันออกซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน ถิ่นที่อยู่อาศัยของกะท่างน้ำในประเทศไทยนั้นมีขอบเขตการกระจายค่อนข้างจำกัด คือ จะพบในระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางมากกว่า 1,000 เมตร  และอยู่ในบริเวณที่มีอากาศเย็น แอ่งน้ำสะอาดและป่าปกคลุมที่ยังคงเป็นธรรมชาติ ดังนั้นกะท่างน้ำ สามารถใช้เป็นตัวขี้วัดทางชีวภาพที่สามารถบ่งบอกถึงสุขภาพของสิ่งแวดล้อมได้ .-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ฆ่าตัดนิ้วชิงทรัพย์

เร่งล่าฆาตกรโหดตัดนิ้วชิงทรัพย์หญิงวัย 67 ทิ้งศพกลางสวนปาล์ม

ตำรวจเร่งล่าฆาตกรโหดฆ่าตัดนิ้วหญิงวัย 67 ปี ชิงทรัพย์ ก่อนทิ้งศพกลางสวนปาล์ม อ.วังจันทร์ จ.ระยอง ชาวบ้านเผยพบรถเก๋งต้องสงสัยสีขาววิ่งเข้าไปในจุดพบศพ

จับนายก อบต.นาบัว

คอมมานโดบุกจับนายก อบต.นาบัว-พวก รวม 16 คน

คอมมานโดกองปราบฯ บุกจับฟ้าผ่า! นายก อบต.นาบัว อ.นครไทย ประธาน “ธนาคารหมู่บ้าน” พร้อมพวก รวม 16 คน ฐานร่วมกันฉ้อโกงและร่วมกันกู้ยืมเงิน มูลค่าความเสียหายนับร้อยล้านบาท

New Zealanders march towards Wellington to protest Indigenous treaty bill

ชาวเมารีเต้นฮากาประท้วงร่าง กม.นิวซีแลนด์

เวลลิงตัน 15 พ.ย.- ผู้คนในหลายเมืองทั่วนิวซีแลนด์เข้าร่วมการเดินขบวนมุ่งหน้าไปยังกรุงเวลลิงตัน เพื่อประท้วงร่างกฎหมายลิดรอนสิทธิของชนพื้นเมือง โดยมีการเต้นฮากาที่เป็นวัฒนธรรมของชาวเมารีในระหว่างการประท้วงด้วย รัฐสภานิวซีแลนด์ผ่านความเห็นชอบในเบื้องต้นเมื่อวานนี้ เรื่องการตีความใหม่สนธิสัญญาอายุ 184 ปี ที่มกุฎราชกุมารอังกฤษกับหัวหน้าชาวเมารีมากกว่า 500 คนลงนามในปี พ.ศ.2383 กำหนดเรื่องการปกครองนิวซีแลนด์ร่วมกัน ซึ่งเป็นแนวทางในการออกกฎหมายและนโยบายของประเทศมาจนถึงปัจจุบัน ความเคลื่อนไหวดังกล่าวทำให้เกิดการชุมนุมประท้วงตามเมืองต่าง ๆ ทั่วนิวซีแลนด์ โดยมีการจัดเดินขบวนเป็นเวลา 9 วันมุ่งไปยังกรุงเวลลิงตัน คาดว่าขบวนจะถึงเมืองหลวงในวันที่ 19 พฤศจิกายน ตำรวจแถลงวันนี้ว่า มีคนประมาณ 10,000 คน เข้าร่วมการเดินขบวนในเมืองโรโตรัว ห่างจากกรุงเวลลิงตันไปทางเหนือราว 450 กิโลเมตร ผู้ประท้วงแต่งกายในชุดชนพื้นเมือง มีการเต้นฮากาที่เป็นวัฒนธรรมของชาวเมารี โดยได้รับการต้อนรับจากคนจำนวนมากที่มาโบกธงเมารีและร่วมร้องเพลง.-814.-สำนักข่าวไทย

ข่าวแนะนำ

ลิงลพบุรีแหกกรง กว่า 200 ตัว จ่าฝูงนำทีมบุกโรงพัก

ลิงลพบุรีกรงแตก เพ่นพ่านกว่า 200 ตัว จ่าฝูงนำทีมบุกโรงพักท่าหิน ตำรวจปิดประตูหน้าต่างวุ่น ล่าสุดกลับมากินอาหารในกรงแล้วกว่า 100 ตัว กรมอุทยานฯ เร่งลุยจับ คาดใช้เวลา 2-3 วัน

มนุษย์ ภัยคุกคามพะยูน ?

ช่วงนี้พบพะยูนในทะเลฝั่งอันดามันตายเพิ่มขึ้นแบบถี่ยิบ จนน่าเป็นห่วงว่าพะยูนอาจสูญพันธุ์ไปในอนาคต โดยเฉพาะล่าสุดเมื่อมีการพบพะยูนตายในทะเลภูเก็ต อยู่ในสภาพถูกตัดหัว คาดนักล่าหวังเอาเขี้ยว

typhoon Man-Yi barrels through the Philippines

ซูเปอร์ไต้ฝุ่น “หม่านหยี่” เข้าฟิลิปปินส์

มะนิลา 17 พ.ย.- ซูเปอร์ไต้ฝุ่นหม่านหยี่ พัดเข้าเกาะลูซอนที่เป็นเกาะหลักและมีประชากรอยู่หนาแน่นที่สุดของฟิลิปปินส์แล้วในวันนี้ เสี่ยงทำให้เกิดฝนตกหนักในกรุงมะนิลาที่เป็นเมืองหลวง หม่านหยี่ เป็นภาษาจีนกวางตุ้ง เป็นชื่อของอ่างเก็บน้ำในฮ่องกง นับเป็นพายุลูกที่ 6 ที่พัดเข้าฟิลิปปินส์ในรอบ 1 เดือน มีความเร็วลม 185 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อ่อนกำลังลงเล็กน้อยหลังจากขึ้นฝั่งเมืองปางานีบัน จังหวัดคาตันดัวเนส ที่เป็นเกาะขนาดเล็ก เมื่อคืนวันเสาร์ ข้ามมาจนถึงจังหวัดคามารีเนส นอร์เต บนเกาะลูซอน ในเช้าวันนี้ ไต้ฝุ่นลูกนี้มีแนวโน้มจะทำให้เกิดฝนตกหนักทั่วเขตมหานครมะนิลา ซึ่งมีการอพยพประชาชนจากพื้นที่เสี่ยงแล้วกว่า 1 ล้านคน แต่ยังไม่มีรายงานผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต แม้ว่ากระแสลมแรงได้สร้างความเสียหายให้แก่สิ่งปลูกสร้างในจังหวัดคาตันดัวเนสก็ตาม.-820(814).-สำนักข่าวไทย

ดอยอินทนนท์คึกคักรับลมหนาว สัมผัสหมอกหนายามเช้า

นักท่องเที่ยวแห่ขึ้นดอยอินทนนท์รับลมหนาว สัมผัสหมอกหนายามเช้าวันหยุด หลายคนบอกไม่ผิดหวัง เพราะพระอาทิตย์สาดแสงเป็นประกายประทับใจ