นายกรัฐมนตรีชี้แจงที่ประชุมสภาฯ วันแรก (27 พ.ค.63)

สำนักข่าวไทย 27 พ.ค. 63 – พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ชี้แจง เรื่อง ชง พ.ร.ก.เงินกู้ 3 ฉบับ เพื่อเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจ ต่อสภาผู้แทนราษฎรจะเพื่อพิจารณาในการประชุมวันนี้ (27 พ.ค. 63)


พ.ร.ก. เงินกู้ 3 ฉบับ (นายกรัฐมนตรีฯ แจงในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร 27 พ.ค.63)


    ตามที่ครม.มีมติ เมื่อวันที่ 15 เม.ย. 63 เห็นชอบให้มีการตรา พ.ร.ก. ให้กระทรวงการคลัง กู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ซึ่ง พ.ร.ก. นี้ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 19 เม.ย. 63


เหตุผลและความจำเป็น


– ปัจจุบันเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างรุนแรงทั่วโลกรวมประเทศไทย และองค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้เป็นภาวะการแพร่ระบาดใหญ่ทั่วโลก ซึ่งโรคโควิด-19 ดังกล่าวนั้นเป็นโรคอุบัติใหม่ ทางการแพทย์ยังไม่มียารักษาและวัคซีนป้องกัน ส่งผลให้ผุ้ติดเชื้อทั่วโลกและภายในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและไม่สามารถจะคาดการณ์ระยะเวลาที่แพร่ระบาดจะสิ้นสุดลงได้ สถานการณ์ดังกล่าวได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อชีวิตและสุขภาพอนามัยของประชาชนทุกสาขาอาชีพในวงกว้าง

– มาตรการควบคุมและยับยั้งการแพร่ระบาดของรัฐบาลและประเทศอื่น ๆ อาทิ มาตรการปิดพื้นที่ เพื่อป้องกันการเคลื่อนย้ายคน มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม ส่งผลให้การดำเนินกิจกรรมของเศรษฐกิจทุกภาคส่วนทั่วโลกเกิดภาวะชะงักงันอย่างฉับพลันทำให้ระบบเศรษฐกิจของโลกและของประเทศไทยหดตัวอย่างรุนแรงและรวดเร็ว จากสถานการณ์ดังกล่าวส่งผลต่อเศรษฐกิจไทย ปี 2563 โดยในไตรมาสแรกเศรษฐไทย ปรับตัวลดลง ติดลบ ร้อยละ 1.8 ถือเป็นการชะลอตัวของสภาวะเศรษฐกิจไทย ครั้งแรกตั้งแต่ไตรมาส 1 ปี 2557 ทั้งนี้ภาคบริการโดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว ได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศเริ่มชะลอตัวลงตั้งแต่กลางเดือนมกราคม 2563 จากมาตรการควบคุมการเดินทางของประเทศต่าง ๆ ส่งผลให้ในไตรมาส 1 ปี 2563 จำนวนนักท่องเที่ยวอยู่ที่ 6.69 ล้านคน ลดลงร้อยละ 38.01 จากไตรมาส 1 ปี 2562 ในขณะที่รายได้จากการท่องเที่ยว 332,013 ล้านบาท ลดลง ร้อยละ 40.39

– จากนั้นในการแพร่ระบาดภายในประเทศที่พบจำนวนผู้ติดเชื้อในเดือนมกราคม 2563 และมีการระบาดหนักขึ้น ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม 2563 ทำให้รัฐบาลมีความจำเป็นต้องดำเนินมาตรการปิดพื้นที่เพื่อป้องกันการเคลื่อนย้ายคนและมาตรการการเว้นระยะห่างทางสังคม โดยการปิดสถานประกอบการณ์ สถานบริการต่าง ๆ รวมถึงสนามบิน เพื่อต้องการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคอย่างเป็นขั้นตอน จากการดำเนินการดังกล่าว ส่งผลต่อการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการจ้างงานของประชาชนในทุกสาขาอาชีพ จากการคาดการณ์ผลกระทบต่อรายได้ของประเทศไทยในปี 2563 ลดลงถึง 9.28 แสนล้านบาท และคนว่างงานอาจจะสูงนับล้านคน โดยเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจไทย หรือ GDP ปี 2563 ติดลบ ร้อยละ 5.0-6.0 โดยภาคที่ได้รับผลกระทบอย่างมาก ได้แก่

1. ภาคการค้าระหว่างประเทศ ที่เกิดจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกในภาพรวมและประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทย อาทิ จีน อินเดีย และเกาหลีใต้

2. ภาคการท่องเที่ยว เนื่องจากการระบาดของโรคโควิด-19 ที่อาจยืดเยื้อ โดยคาดว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2 จะปรับตัวลดลงรุนแรงมากขึ้นกว่าช่วงไตรมาสแรก จากการดำเนินมาตรการควบคุมการระบาดของโรคอย่างเข้มข้นตั้งแต่ช่วงปลายเดือนมีนาคม

แม้ว่าการแก้ไขวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 รัฐบาลได้พยายามทุกวิถีทางในการบริหารจัดการแหล่งเงินภายใต้กรอบกฎหมายที่มีอยู่ ทั้ง งบปี 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น การปรับแผนการใช้จ่ายงบประมาณ และการจัดทำ พ.ร.บ.โอนงบประมาณรายจ่ายปี 2563 แต่ก็ยังไม่เพียงพอ และไม่ทันกับสถานการณ์ที่จะยุติการระบาดของโรค ช่วยเหลือเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบในทุกภาคส่วนได้

    ดังนั้น เพื่อสร้างความเชื่อของประเทศให้กลับมาสู่สภาวะปกติได้โดยเร็ว รัฐบาลจึงมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่ต้องแก้ไขสถานการณ์และหยุดยั้งการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างความพร้อมด้านสาธารณสุขของประเทศ เพื่อรองรับวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้น การเยียวยาประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการประกอบอาชีพ จากมาตรการยับยั้งและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ตลอดจนการฟื้นฟุ้สภาพเศรษฐกิจและสังคมภายหลังการแพร่ระบาดสิ้นสุด จากสถานการณ์ดังกล่าว จึงเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ และเป็นทางเลือกสุดท้ายของรัฐบาลในการตราพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินในวงเงินไม่เกิน 1 ล้านล้านบาท

1. เพื่อแก้ปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมประมาณหนึ่งล้านล้านบาท ซึ่งไม่อาจดำเนินการได้มาโดยวิธีการปกติจึงเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้

2. เพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ และป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ

กรอบวินัยเงินกู้

การรักษาวินัยทางการเงิน การคลัง ความคุ้มค่า และความโปร่งใสในการใช้จ่ายเงินกู้ สอดคล้องกับ พ.ร.บ.วินัยทางการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 เพื่อเป็นกรอบวินัยในการกู้เงินไว้ในกฎหมายฉบับนี้ สรุปได้ดังนี้ 

1. อำนาจการกู้เงินของกระทรวงการคลัง

– วงเงินกู้ไม่เกิน 1 ล้านล้านบาท

– ระยะเวลา ต้องลงนามในสัญญาเงินกู้หฟรือออกตราสารหนี้ ไม่เกินวันที่ 30 ก.ย. 64

2. การใช้จ่ายเงินกู้ จะต้องใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ภายใต้แผนงานโครงการตามบัญชีท้ายพระราชกำหนด ซึ่งประกอบด้วย 3 แผนงานหลัก ได้แก่

– แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์ทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคโควิด-19 วงเงิน 45,000 ล้านบาท

– แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยให้กับภาคประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการ ซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 วงเงิน 555,000 ล้านบาท

– แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 วงเงิน 400,000 ล้านบาท

*ในกรณีจำเป็นคณะรัฐมนตรีสามารถอนุมัติปรับกรอบวงเงินภายใต้แผนงาน/โครงการได้ เพื่อให้การใช้จ่ายเงินสอดคล้องกับสถานการณ์

3. การพิจารณากลั่นกรองและอนุมัติโครงการ แต่งตั้ง “คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้” เพื่อทำหน้าที่ ดังนี้

– พิจารณากลั่นกรองแผนงาน/โครงการก่อนเสนอ ครม.อนุมัติ

– กำกับดูแลการดำเนินโครงการ

– รายงานความก้าวหน้าต่อคณะรัฐมนตรี

4. การดำเนินแผนงาน/โครงการ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เป็นไปตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้

ปัจจุบันคณะรัฐมนตรีได้ออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อกำหนดกระบวนการพิจารณากลั่นกรอง และอนุมัติโครงการ ตลอดจนขั้นตอนการบริหารจัดการโครงการเรียบร้อยแล้ว

5. เพื่อให้การใช้จ่ายเงินกู้มีความโปร่งใสและตรวจสอบได้

พ.ร.ก. ได้กำหนดให้กระทรวงการคลังจัดทำรายงานผลการกู้เงินภายใต้ พ.ร.ก. เสนอต่อรัฐบาลเพื่อทราบภายใน 60 วันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ ซึ่งรายงานดังกล่าวจะระบุรายละเอียดการกู้เงิน, วัตถุประสงค์ของการใช้จ่ายเงินกู้, ผลสัมฤทธิ์ และประโยชน์ที่ได้รับหรือคาดว่าจะได้รับ

มาตรการเยียวยาผลกระทบจากโควิด-19

ระยะที่ 1 และ 2 เป็นการช่วยบรรเทาภาระทางการเงินของปะชาชน ดังนี้

– พักชำระหนี้ประชาชน

– มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำแก่ผู้ประกอบการ

– ลดเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมของนายจ้างและลูกจ้าง

– การลดค่าน้ำค่าไฟ

– การขยายเวลาชำระค่าน้ำค่าไฟ

– การคืนเงินประกันค่าใช้ไฟฟ้า 

– การชะลอการจ่ายภาษีสำหรับบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล

– การให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับประชาชนและผู้ประกอบการ

– มาตรการชดเชยรายได้ผู้ประกอบอาชีพอิสระ

ระยะที่ 3 เป็นมาตรการดูแลเยียวยาผละกระทบ

– มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพิ่มเติมสำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (Non-Bank)

– ตราพระราชกำหนด 3 ฉบับ 

มาตรการดูแลและเยียวยา ระยะที่ 3 (ครอบคลุม 4 มิติ)

1. มิติด้านสาธารณสุข

รัฐบาลให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 เป็นลำดับแรก พ.ร.ก. กู้เงิน เพื่อด้านสาธารณสุข เป็นค่าใช้จ่ายด้านการแพทย์และสาธารณสุข วงเงิน 45,000 ล้านบาท

2. มิติด้านสภาพคล่อง 

เพื่อช่วยเหลือเยียวยาประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการเพิ่มภาพคล่องให้แก่ประชาชนทุกภาคส่วน รวมถึงผู้ประกอบการ เป็น พ.ร.ก.กู้เงิน (เพื่อเยียวยา) วงเงิน 555,000 ล้านบาท และ พ.ร.ก. Soft Loan สำหรับ SMEs

3. มิติด้านการรักษาเสถียรภาพทางการเงิน

เนื่องจากเสถียรภาพของระบบการเงินเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ จึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลในการรักษาเสถียรภาพระบบการเงินในช่วงวิกฤติ โดย พ.ร.ก.BSF สำหรับรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการสร้างความเชื่อมันในตลาดตราสารหนี้ เพื่อให้สามารถยังคงทำหน้าที่เป็น “แหล่งระดมทุน” ที่สำคัญของประเทศรองลงมาจากธนาคารพาณิชย์

4. มิติด้านการฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจและสังคมภายหลังการแพร่ระบาด

เมื่อวิกฤติโควิด-19 คลี่คลายลง รัฐบาลจำเป็นต้องเร่งฟื้นฟูความเชื่อมั่นต่อระบบเศรษฐกิจให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว เพราะหากล่าช้า ความเสียหายและผลกระทบต่อเศรษฐกิจจะเพิ่มสูงขึ้น

พ.ร.ก.กู้เงิน (เพื่อฟื้นฟู) ได้กำหนดวงเงินไว้ 400,000 ล้านบาท เน้นเศรษฐกิจและสังคม (New Normal)

1) เน้นสาขาเศรษฐกิจที่มีความได้เปรียบและมีโอกาสสร้างการเติบโต เช่น

– เกษตรอัจฉริยะ

– เกษตรมูลค่าสูง

– เกษตรแปรรูป

– อุตสาหกรรมอาหาร Bio-Economy

– การท่องเที่ยวที่เน้นคุณภาพและความยั่งยืน

– อุตสาหากรรมการให้บริการ

– เศรษฐกิจสร้างสรรค์

2) มุ่งเน้นให้เกิดการสร้างงานและสร้างอาชีพของเศรษฐกิจฐานราก

– กระตุ้นการบริโภคภาคครัวเรือนและเอกชน

– พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในการสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

– เตรียมความพร้อมของประเทศเพื่อรองรับการใช้วิถีชีวิตรูปแบบใหม่ภายหลังวิกฤติการระบาดของโควิด-19

ผลกระทบต่อสถานะหนี้สาธารณะและการวางแผนการกู้เงินของรัฐบาล

การกู้เงินของรัฐบาลในวงเงิน 1 ล้านล้านบาท ภายใต้ พ.ร.ก.ฉบับนี้ เมื่อรวมกับการกู้เงินกรณีอื่น ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะแล้ว จะส่งผลให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ณ สิ้นเดือนกันยายน 2564 เป็น ร้อยละ 57.96 ซึ่งกรอบบริหารหนี้สาธารณะไม่เกิน ร้อยละ 60

แหล่งที่มาของเงินกู้ (ทั้งในประเทศและต่างประเทศ)

รัฐบาลจะพิจารณาแหล่งเงินกู้ภายในประเทศเป็นหลัก ขณะเดียวกันก็จะพิจารณาเงื่อนไขและกระตุ้นการกู้เงินจากแหล่งกู้เงินต่างประเทศอีกทางหนึ่ง เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนสำรอง หากสภาพคล่องในประเทศไม่เพียงพอด้วย เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับปริมาณเงินในระบบของตลาดการเงินภายในประเทศ (Crowding out Effect)

แนวทางการใช้จ่ายเงินกู้

1. กำหนดกระบวนการกลั่นกรองโครงการผ่านกลไกของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้

2. ต้องเป็นโครงการที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์

3. อยุ่ภายใต้แผนงาน/โครงการที่กำหนดตามบัญชีท้าย พ.ร.ก. เท่านั้น

4. ต้องมีการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมและความคุ้มค่าของโครงการ, ความจำเป็นเร่งด่วน, ไม่ซ้ำซ้อนกับงบประมาณ และหน่วยงานมีความพร้อมดำเนินการได้ทันที.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

Satellite images show wake of destruction of wildfires burning across California

เปิดปัจจัยที่ทำให้ไฟป่าแอลเอไหม้ลามหนัก

มีหลายปัจจัยที่ทำให้ไฟป่าในเทศมณฑลลอสแอนเจลิสหรือแอลเอ (LA) ในรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐไหม้ลามเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นวิกฤตไฟป่าครั้งร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งของประเทศ

รู้ตัวคนไทยพลัดตกตึกสูงฝั่งปอยเปต พบไม่ได้ถูกจับโยนลงมา

รู้ตัวคนไทยพลัดตกตึกสูง 18 ชั้น ฝั่งปอยเปต ประเทศกัมพูชา เบื้องต้นพบไม่ได้ถูกจับโยนลงมา และอาคารดังกล่าวถูกระบุเป็นฐานบัญชาการของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ โดยมีคนไทยถูกหลอกไปทำงานที่นี่จำนวนมาก

Palisades Fire

สหรัฐสั่งอพยพกว่าแสนคนหนีไฟป่า 6 จุดในแคลิฟอร์เนีย

ลอสแอนเจลิส 9 ม.ค.- สหรัฐสั่งอพยพประชาชนมากกว่า 100,000 คน เนื่องจากจำนวนไฟป่าที่โหมไหม้ในเทศมณฑลลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนียเพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย 6 จุดแล้ว เพราะกระแสลมแรงเทียบเท่าเฮอริเคนและสภาพอากาศแล้ง เจ้าหน้าที่เผยว่า ในจำนวนไฟป่าทั้ง 6 จุด มีอยู่ 4 จุดที่ยังไม่สามารถควบคุมได้เลย ไฟป่าจุดแรก คือ พาลิเซดส์ไฟร์ (Palisades Fire) เกิดขึ้นช่วงเช้าวันที่ 7 มกราคมตามเวลาท้องถิ่นใกล้แปซิฟิก พาลิเซดส์ ซึ่งเป็นย่านที่พักอาศัยทางตะวันตกเฉียงเหนือของเทศมณฑล ต้นเพลิงมาจากไฟไหม้พุ่มไม้ที่โหมไหม้จนเกินควบคุมเพราะกระแสลมแรง ต้องอพยพคนอย่างน้อย 30,000 คน ไฟป่าจุดที่ 2 คือ อีตันไฟร์ (Eton Fire) เกิดขึ้นในเย็นวันเดียวกันที่หุบเขาอีตันแคนยอน เผาไหม้พื้นที่ขยายวงกว้างมากพอ ๆ กับไฟป่าจุดแรก ไฟป่าจุดที่ 3 คือ เฮิร์ตส์ไฟร์ (Hurst Fire) เกิดขึ้นกลางดึกวันเดียวกันในย่านซิลมาร์ของนครลอสแอนเจลิส จากนั้นในเช้าวันที่ 8 มกราคมเกิดไฟป่าจุดที่ 4 คือ วูดลีไฟร์ […]

ข่าวแนะนำ

เบื้องหลังล่าจ่าเอ็ม

เปิดเบื้องหลังตามล่า “จ่าเอ็ม” ข้ามแดนกัมพูชา

“บิ๊กจ๋อ” เปิดเบื้องหลังตามล่า “จ่าเอ็ม” ข้ามแดนกัมพูชา ชี้ คลาดกันแบบหายใจรดต้นคอ ก่อนประสานตำรวจกัมพูชารวบตัว เผย ผู้ต้องหาร้องขอเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัย หวั่น ถูกประชาทัณฑ์

ไฟไหม้บ้านสจ.สุพรรณ

เพลิงไหม้บ้านอดีต สจ.ดังเมืองสุพรรณ ดับยกครัว 4 ศพ

สลด! เพลิงไหม้บ้านพักของ สจ.ดังเมืองสุพรรณบุรี ทำให้คนในครอบครัวเสียชีวิตทั้ง 4 คน เบื้องต้นคาดสาเหตุจากไฟฟ้าลัดวงจร

งานวันเด็ก

วันเด็กทั่วไทยคึกคัก สร้างความสุขและรอยยิ้ม

ผู้ใหญ่ใจดี ทั้งภาครัฐ เอกชน หลายหน่วยงานทั่วประเทศ จัดกิจกรรมให้เด็ก ๆ ร่วมสนุก สร้างรอยยิ้มเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ 2568