“สมคิด” ย้ำที่ประชุมอธิการบดีช่วยพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก

รร.สุโกศล 6 ก.พ. – รองนายกรัฐมนตรีย้ำที่ประชุมอธิการบดีช่วยพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เติมความรู้ แปรรูปภาคเกษตร แหล่งท่องเที่ยวเมืองรอง เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในชุมชน 


นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยระหว่างการประชุมวิชาการที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยปี 2563 ว่า  การพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เพื่อสร้างศักยภาพการแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาบุคลากร หวังให้นักลงทุนต่างชาติมีความเชื่อมั่นเข้ามาลงทุน มหาวิทยาลัยต้องเข้ามาช่วยพัฒนาบุคลากร เมื่ออีอีซีเริ่มคืบหน้า จากนั้นจะขยายไปยังเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC) เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (NEC) เพื่อกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค นอกจากภาคตะวันออก 

ทั้งนี้ หลังจากลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสินค้าชุมชนหลายพื้นที่ ยอมรับว่าการแปรรูปสินค้าเกษตรของไทยยังแข่งขันกับต่างชาติไม่ได้  เป็นการแปรรูปแบบไสตล์ท้องถิ่น ขณะที่ศักยภาพการผลิตมีสูงมาก  มหาวิทยาลัยจึงต้องเข้าไปส่งเสริมเติมความรู้ เพื่อยกระดับสินค้าเกษตรที่มีศักยภาพ เพื่อดีไซน์ ออกแบบ แพ็กเกจหีบห่อสินค้าไม่ปล่อยให้สินค้าชุมชนโดดเดี่ยว รัฐบาลต้องการให้มหาวิทยาลัยร่วมขับเคลื่อนบุคลากรยุคใหม่รองรับอุตสาหกรรมกลุ่มเป้าหมาย (S-Curve) นำความรู้ไปพัฒนาด้านเกษตรแปรรูป การท่องเที่ยวเมืองรอง เศรษฐกิจฐานราก นอกจากอุตสาหกรรม เพื่อนำสินค้าดีในท้องถิ่นพัฒนาให้ดีขึ้น


นายสมคิด กล่าวว่า การลดความเหลื่อมล้ำของสังคม จึงต้องยกระดับชุมชน เพราะมีสมุนไพรไทยศักยภาพสูงไม่เหมือนกับญี่ปุ่น หรือประเทศพัฒนาแล้ว ใช้ความรู้เทคโนโลยีมาร่วมพัฒนาท้องถิ่น จึงขอขอบคุณ  Disruption กระแสโลกยุคใหม่ ทำให้การศึกษาต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลง ขอให้ยกเลิกการใช้ดราม่า ใช้องค์ความรู้มาปฏิรูปการศึกษา  ผลิตบุคลากรดีสู่สังคม สัปดาห์ก่อนได้ลงพื้นที่ดูการแปรรูปน้ำยาง การขึ้นรูปยางพารา กลุ่มชาวบ้านมีอุปกรณ์ เครื่องมือน้อยมาก เพราะไม่มีกำลัง ไม่มีเครื่องมือ ไม่มีอุปกรณ์ เมื่อหน่วยงานรัฐ เช่น ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เข้าไปช่วยเรื่องเครื่องจักร อุปกรณ์เพิ่มมูลค่าสินค้า โดยมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏ ต้องเร่งผลิตบุคลากรรองรับการท่องเที่ยว โดยขอให้เน้นไปยังกลุ่มรวมตัวทั้งชุมชน

นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า มหาวิทยาลัยต้องเปลี่ยนมาผลิตบุคลากรตามความต้องการของตลาด กระทรวง อว.และมหาวิทยาลัยต้องร่วมกันมุ่งพัฒนายุวชนสร้างชาติ สร้างคนรุ่นใหม่ ทั้งด้านนวัตกรรม เทคโนโลยี งานวิจัย ร่วมกับภาคเอกชน การสร้างพลังสมองของประเทศ เพื่อสร้างพลังคนรุ่นใหม่ให้เกิดขึ้น สร้างองค์ความรู้ มุ่งเน้นการพัฒนาเชิงพื้นที่ เพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานราก มหาวิทยาลัยจึงมีส่วนสำคัญในการช่วยผลักดันประเทศ รัฐบาลได้เสนอจัดสรรงบประมาณปี 2564 วงเงิน  12,500 ล้านบาท ขับเคลื่อนประเทศผ่านการพัฒนาบุคลากรรองรับการ Take off เพื่อร่วมพลังครั้งใหญ่ของมหาวิทยาลัยทั่วประเทศในการตอบโจทย์ประเทศ.- สำนักข่าวไทย.


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

นร.หญิง ม.1 จมทะเลดับ หลังโรงเรียนพาไปทัศนศึกษาที่ระยอง

โรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งใน จ.นครราชสีมา พานักเรียนไปทัศนศึกษาที่ จ.ระยอง นักเรียนหญิง ม.1 ถูกคลื่นดูดลงทะเลขณะเล่นน้ำ เสียชีวิต พ่อแม่สุดเศร้าสูญเสียลูกสาวคนเดียวของครอบครัว

น้ำท่วมเชียงใหม่

เชียงใหม่จมบาดาล น้ำท่วมครั้งประวัติศาสตร์

น้ำท่วมในตัวเมืองเชียงใหม่ ยังวิกฤติ หลังน้ำในลำน้ำปิงขึ้นสูงสุดทรงตัวสูงกว่า 5.30 เมตร ซึ่งสูงที่สุดตั้งแต่มีการวัดระดับน้ำปิง

น้ำท่วมขนส่งเชียงใหม่กระทบผู้โดยสาร เปิดจุดจอดรับ-ส่งชั่วคราว

น้ำขยายวงกว้างเข้าท่วมสถานีขนส่งเชียงใหม่แห่งที่ 2 และ 3 เต็มพื้นที่ ระดับน้ำสูงเกือบ 50 ซม. ผู้ประกอบการขนส่งต้องนำรถทัวร์โดยสารออกมาจอดรับ-ส่งบนถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ ยืนยันผู้ประกอบการยังให้บริการตามปกติ

ระทึก! แท็กซี่พลิกคว่ำเกิดเพลิงไหม้ 5 ชีวิตรอดหวุดหวิด

รถแท็กซี่พลิกคว่ำและเกิดเพลิงลุกไหม้กลางถนนพระราม 9 ผู้โดยสารหญิงสติดีถีบประตูช่วยตัวเองและคนอื่นออกมาจากตัวรถรวม 5 ชีวิตได้ทัน แต่ในจำนวนนี้บาดเจ็บสาหัส 1 คน เป็นคนขับแท็กซี่ ตำรวจเร่งสอบสวนหาสาเหตุ

ข่าวแนะนำ

เตรียมตั้ง 7 เตาไฟฟ้า พิธีพระราชทานเพลิงศพ นร.-ครู 23 คน

เตรียมพื้นที่ตั้ง 7 เตาไฟฟ้า กลางสนามโรงเรียนวัดเขาพระยาสังฆาราม จ.อุทัยธานี ในพิธีพระราชทานเพลิงศพ นักเรียน-ครู 23 คน เหยื่อไฟไหม้รถบัสทัศนศึกษา วันที่ 8 ต.ค.นี้

เชียงใหม่ยังอ่วม เจอน้ำท่วมครั้งประวัติศาสตร์

แม้ระดับน้ำปิงที่ทะลักท่วมตัวเมืองเชียงใหม่เริ่มลดลง จากที่เคยขึ้นสูงสุดถึง 5.30 เมตร ซึ่งถือว่าสูงที่สุดเท่าที่เคยวัดระดับมา จนทำให้เชียงใหม่เผชิญกับน้ำท่วมครั้งใหญ่สุดเป็นประวัติการณ์ บ้านเรือนหลายพันหลังและย่านการค้ายังจมน้ำ บางจุดยังท่วมสูงกว่า 2 เมตร ยังต้องเร่งอพยพผู้คนออกจากพื้นที่น้ำท่วม หลายคนต้องใช้ชีวิตอยู่ในรถที่จอดบนสะพาน

ภาคกลางเริ่มกระทบ น้ำเจ้าพระยาเอ่อท่วมบ้านประชาชน

น้ำเจ้าพระยาล้นข้ามถนนเข้าท่วมบ้านกว่า 30 หลังคาเรือน ต.ชีน้ำร้าย อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี ส่วนชุมชุนริมท่าน้ำปากเกร็ด เริ่มกระทบ

ระทึก! เรือคณะนายอำเภอคว่ำ ขณะช่วยผู้ประสบภัย

กู้ภัยเข้าช่วยเหลือ เรือคณะนายอำเภอฮอดพลิกคว่ำ ขณะฝ่ากระแสน้ำเชี่ยวเข้าไปช่วยผู้ประสบภัย ขณะที่จุดอื่นในเชียงใหม่ เร่งอพยพประชาชนที่ยังตกค้าง