fbpx

ทำความรู้จัก “คณะกรรมการวัตถุอันตราย”

สำนักข่าวไทย 3 ต.ค.- มติที่ประชุมของคณะกรรมการวัตถุอันตรายครั้งหลังสุด ยังไม่สรุปถึงการยกเลิก 3 สารเคมีอันตราย แม้จะ “จำกัดการนำเข้า” และต้องได้ข้อสรุปใน 60 วันก็ตาม ท่ามกลางข้อกังขาว่ามีการ “ยื้อ” หรือไม่ อย่างไร สำนักข่าวไทย พาไปทำความรู้จัก “คณะกรรมการวัตถุอันตราย” รวมถึงพิษภัยของ 3 สารเคมีอันตราย


คณะกรรมการวัตถุอันตรายชุดนี้ มีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม เป็นประธานกรรมการ และกรรมการโดยตำแหน่งอีก 17 คน ได้แก่ ปลัดกระทรวงที่เกี่ยวข้อง อย่างกระทรวงเกษตรฯ พลังงาน สาธารณสุข เป็นต้น ร่วมด้วยอธิบดีหลายกรม เช่น กรมควบคุมมลพิษ กรมวิชาการเกษตร กรมศุลกากร รวมทั้งเลขาธิการ อย. และผู้แทนจากหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง


โดยคณะกรรมการชุดนี้ มีอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรมเป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้ช่วยเลขานุการ มาจากผู้แทน 3 กรม คือ กรมธุรกิจพลังงาน กรมโรงงานอุตสาหกรรม และกรมวิชาการเกษตร รวมทั้งผู้แทนจาก อย.ด้วย


นอกจากนี้ ยังมี “กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่มาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐมนตรี” ไม่เกิน 8 คน ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเคมี วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ และกฎหมาย และ “กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตัวแทนองค์กร” อย่างน้อย 4 คน ที่มีประสบการณ์ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านการเกษตรกรรม และสิ่งแวดล้อมด้วย

ทั้งนี้ แหล่งข่าวของสำนักข่าวไทย ระบุว่าการประชุมครั้งล่าสุด เมื่อ 18 กันยายนที่ผ่านมา มีรายงานข่าวว่า มติที่ประชุมมีคณะกรรมการที่สนับสนุนให้ “จำกัดการนำเข้า” ต่อไป มีจำนวนมากกว่ากลุ่มที่ต้องการยกเลิกถึง 3 เท่า  ตีความอย่างง่าย กรรมการโหวตให้คงมติเดิมมากกว่า 20 เสียง มีกรรมการสนับสนุนให้ยกเลิกหรืองดออกเสียงเพียง 7-8 เสียงเท่านั้น ซึ่งมากกว่าการประชุมครั้งก่อนหน้านั้นที่มีการสนับสนุนให้ใช้ต่อ 16 เสียง โหวตให้ยกเลิก 5 เสียง และงดออกเสียง 5 เสียง จึงมีการตั้งข้อสังเกตว่าเป็นการ “ถ่วงเวลา” หรือไม่

เหตุผลของการเดินหน้าขอ “ยกเลิก” เพราะสารเคมีอันตรายทั้ง 3 ชนิดนี้ มีผลกระทบต่อร่างกายและผู้ป่วยอัลไซเมอร์ หลายประเทศทยอยยกเลิกการใช้แล้ว

อย่าง “พาราควอต” เป็นสารเคมีที่มี “พิษเฉียบพลัน” ได้รับเพียงเล็กน้อย 1-2 ช้อนชา ก็อาจถึงแก่ชีวิตได้ มีงานวิจัยแสดงว่า พาราควอตสามารถเข้าสู่สมองคน และมีฤทธิ์ทำลายสมอง มีรายงานการแพทย์พบสารนี้ในสมองของผู้ที่ตายจากการได้รับพาราควอตและผู้ป่วยอัลไซม์เมอร์ อีกทั้งยังพบในเลือดหญิงตั้งครรภ์และเลือดจากสายสะดือทารกด้วย ในต่างประเทศ 53 ชาติ ประกาศยกเลิกการใช้แล้ว รวมทั้งประเทศจีน ซึ่งเป็นแหล่งผลิตพาราควอตที่มีขนาดใหญ่ที่สุดด้วย

“คลอร์ไพริฟอส” ก็เป็นสารพิษที่มีงานวิจัยระบุว่า มีผลต่อสมองเด็ก ทำให้เรียนรู้ช้ากว่าปกติ อีกทั้งยังพบในเลือดหญิงตั้งครรภ์และเลือดจากสายสะดือทารกเช่นเดียวกับพาราควอต หลายประเทศยกเลิกการใช้สารนี้แล้ว เช่นเดียวกับที่สหรัฐ ที่ศาล “สั่งห้ามขาย คลอร์ไพริฟอส” ภายใน 60 วัน เมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2561

ส่วน “ไกลโฟเซต” เป็นสารพิษที่องค์การศึกษาและวิจัยโรคมะเร็ง หรือ IARC จัดเป็นสารพิษที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง พบไกลโฟเซตตกค้างสายสะดือของทารก รวมทั้งในแม่ของเด็กที่อาศัยในบริเวณที่มีการฉีดพ่นไกลโฟเซต หลายประเทศยกเลิกการใช้แล้ว  เรื่องอื้อฉาวล่าสุด คือ กรณี บริษัทไบเออร์มอนซานโตในเยอรมนี แพ้คดีฟ้องร้องของผู้ได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจากไกลโฟเซต ซึ่งยังมีผู้ฟ้องร้องอยู่อีกเกือบหมื่นราย.-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พบศพโบลท์หญิงวัย 47 ในป่าหญ้าริมทาง คาดถูกฆ่าชิงรถ

โบลท์หญิงวัย 47 ปี หายตัวจากบ้านพักย่านดินแดง 9 วัน ล่าสุดพบเป็นศพในป่าหญ้าริมถนนสายนครชัยศรี-ห้วยพลู อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ส่วนรถยนต์โผล่ที่ จ.ภูเก็ต คาดถูกคนร้ายฆ่าชิงรถ

pagers on display

ทำไมยังมีการใช้ “เพจเจอร์” ในยุคสมาร์ทโฟน

ลอนดอน 19 ก.ย.- เพจเจอร์ หรือวิทยุติดตามตัวเป็นอุปกรณ์การสื่อสารยอดนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ต้องหลีกทางให้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว แต่ยังคงมีการใช้งานในบางกลุ่ม รวมถึงกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่เพจเจอร์ระเบิดพร้อมกันหลายพันเครื่องทั่วเลบานอนเมื่อวันที่ 17 กันยายน แหล่งข่าวเผยว่า ฮิซบอลเลาะห์ใช้เพจเจอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางสื่อสารเทคโนโลยีต่ำ ส่งข้อความผ่านสัญญาณวิทยุ จึงตรวจจับสัญญาณและตำแหน่งได้ยากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ส่งสัญญาณไปยังเสาส่งที่อยู่ใกล้ที่สุด อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีระบุพิกัดบนพื้นโลกอย่างจีพีเอสด้วย อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอ (FBI) ของสหรัฐเผยว่า ในอดีตแก๊งอาชญากรรมโดยเฉพาะแก๊งค้ายาเสพติดในสหรัฐเคยนิยมใช้เพจเจอร์ แต่ขณะนี้หันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินราคาถูกที่สามารถเปลี่ยนเครื่องและหมายเลขได้อย่างง่ายดาย ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามแกะรอยได้ยาก อย่างไรก็ดี  ศัลยแพทย์โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรเผยว่า เพจเจอร์เป็นอุปกรณ์ที่แพทย์และพยาบาลสังกัดสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติหรือเอ็นเอชเอส (NHS) ต้องพกติดตัวอยู่เสมอ เพื่อรับแจ้งข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นช่องทางที่ถูกที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแจ้งข่าวทางเดียวกับคนจำนวนมาก เพจเจอร์หลายรุ่นสามารถส่งเสียงไซเรนและมีข้อความเสียงแจ้งให้ทีมแพทย์ไปรวมตัวที่ห้องฉุกเฉินได้ทันที ข้อมูลล่าสุดในปี 2562 ระบุว่า เอ็นเอชเอสใช้เพจเจอร์ประมาณ 130,000 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 10 ของที่ใช้ทั่วโลก คอกนิทีฟมาร์เก็ตรีเสิร์ช  (Cognitive Market Research) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยคาดการณ์ว่า ตลาดเพจเจอร์จะเติบโตร้อยละ 5.9 ต่อปี จากปี 2566 ถึงปี 2573 […]

ข่าวแนะนำ

“อนุทิน” ลุยเชียงใหม่ร่วมบิ๊กคลีนนิ่ง ฟื้นฟูหลังน้ำลด

“อนุทิน” ลงพื้นที่เชียงใหม่ ร่วมทีม จนท.-กู้ภัย-อาสาสมัคร “บิ๊กคลีนนิ่ง” ฟื้นฟูเมืองหลังน้ำลด เร่งจ่ายเยียวยาผู้ประสบภัย