7 ก.ย.-รมว.คมนาคม สั่งทบทวนแผนฟื้นฟูกิจการ ขสมก. ให้ฝ่ายบริหารทบทวนแผนจัดหารถ 3,000 คัน และแผนบริหารหนี้ภายใน 1 เดือน ก่อนนำเสนอกระทรวงคมนาคมพิจารณาอีกครั้ง
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงคมนาคม
เปิดเผยถึงการเร่งรัดแผนฟื้นฟูกิจการ รัฐวิสาหกิจด้านการขนส่ง ในสังกัดกระทรวงคมนาคม
หลังจากที่สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้สั่งทบทวนแผนฟื้นฟูกิจการ
ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ
ขสมก.ไปแล้ว โดยให้ฝ่ายบริหารไปทบทวนแผนจัดหารถ
3,000 คัน และแผนบริหารหนี้ภายใน 1 เดือน ก่อนนำมาเสนอให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาอีกครั้ง ซึ่งเรื่องฟื้นฟูกิจการรัฐวิสาหกิจนั้น กระทรวงคมนาคม
ต้องการฟื้นฟู ขสมก.ให้เห็นผล และเป็นต้นแบบของการฟื้นฟู รัฐวิสาหกิจอื่นๆตามมา
ทั้ง การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และ
บมจ.การบินไทย ซึ่งยอมรับว่า
รัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งมีจุดแข็งและจุดอ่อนแตกต่างกัน ที่ต้องดำเนินการแก้ปัญหาใหถูกจุด
โดยเฉพาะ ในส่วนของแผนฟื้นฟูกิจการ
การรถไฟฯ รัฐมนตรีคมนาคม ยอมรับว่า ยังต้องดำเนินการเพิ่มเติมหลายเรื่อง เช่น
การจัดทำแผนบริหารทรัพย์สินที่ดิน ซึ่งข้อมูลยังสบสนอยู่มาก การปรับแนวทางเพิ่มรายได้ จาการเดินรถ
และการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
ซึ่งในเร็วๆนี้ ก็จะมีการหารือร่วมกับบอร์ด รฟท.และผู้บริหารอีกครั้ง เพื่อสรุปแผนทั้งหมด
ด้านนายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย กว่าวว่า ฝ่ายบริหารของ
รฟท.จะขอเข้าหารือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในเร็วๆนี้ เพื่อรายงานประเด็นต่างๆ
ของแผนฟื้นฟูกิจการ ซึ่งสถานะล่าสุดของแผนฟื้นฟู ได้ผ่านการพิจารณา ของคณะกรรรมการคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) แล้ว
แต่มีการเปลี่ยนรัฐบาลก่อน จึงมีประเด็นที่ต้องนำเสนอกระทรวงคมนาคมอีกครั้ง
ซึ่งหากกระทรวงฯให้ความเห็นชอบ
ก็จะต้องเสนอขออนุมัติดำเนินการจากคณะรัฐมนตรี
ทั้งนี้
สาระสำคัญของแผนฟื้นฟูที่สำคัญคือเรื่องการจัดการทรัพย์สินที่ดิน
ซึ่งจะต้องมีการจัดตั้งบริษัทลูกขึ้น ซึ่งรฟท.เห็นว่า การมีบริษัทลูกนี้
จะประสบผลสำเร็จในการบริหารทรัพย์สิน รฟท
ต้องดำเนินการหลายเรื่อง เช่น การได้ผู้บริหารเบอร์หนึ่ง หรือ CEO ต้องเป็นผู้บริหารทรัพย์สินมืออาชีพ
มีประสบการณ์การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ นอกจากนี้
ยังเป็นเรื่องทำแผนการสำรวจ ปักหมุดอิเลคทรอนิคส์ เพื่อจัดทำข้อมูล
จำนวนที่ดินและมูลค่าของที่ดินรถไฟทั่วประเทศให้ชัดเจน
ตลอดจนที่ดินที่ติดสัญญาเช่าอยู่ ซึ่งประเด็นพวกนี้ รฟท.จะทำให้เสร็จภายใน 3 ปีข้างหน้า
“ พวกสัญญาเช่าที่ดินต่างๆ ที่เคยมี
ผู้เช่าใช้ประโยชน์ 15,000 -16,000 ราย แต่เอกสารหลักฐานสัญญามีประมาณ 8,000 ราย
ข้อมูลเหล่านี้ ต้องทำการจัดการให้ถูกต้อง” นายวรวุฒิกล่าว
รักษาการผู้ว่าการ รฟท.กล่าวว่า
แผนฟื้นฟูกิจการ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการบริหารทรัพย์สินที่ดินนี้ หากจัดทำฐานข้อมูลเสร็จ
ก็จะสามารถเริ่มต้นพัฒนา ซึ่งแน่นอนแผนอาจใช้เวลาประมาณ 10 ปี
แต่ก็จะสามารถทำให้การรถไฟฯ มีรายได้ กลับมาฟื้นกิจการให้เข้มแข็ง
ทั้งนี้แผนฟื้นฟูกิจการ
ของรฟท.ยังครอบคลุมถึงการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานระบบราง ที่สำคัญทั้งรถไฟทางคู่
รถไฟความเร็วสูง ,รถไฟสายใหม่ ,รถไฟฟ้าสายสีแดง
ซึ่งโครงการสำคัญๆ จะทยอยก่อสร้างแล้วเสร็จตั้งแต่ปีนี้จนถึงปี 2566 ,การรับบุคลากรเพิ่มให้เพียงพอต่อการพัฒนาระบบราง ,การปรับโหมดพลังงานของรถไฟ จากดีเซลสู่พลังงานไฟฟ้า
การนำระบบ IT มาพัฒนาระบบชำระค่าโดยสารแบบอิเลคทรอนิกส์
เป็นต้น .-สำนักข่าวไทย