มอบรางวัลศิษย์เก่าวิศวจุฬาดีเด่นปี 62

กรุงเทพฯ 16 ส.ค. – สมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดพิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ “วิศวจุฬากิตติคุณอาวุโสดีเด่น และวิศวจุฬาดีเด่น” ประจำปี 2562 


สมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดพิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ “วิศวจุฬากิตติคุณอาวุโสดีเด่น และวิศวจุฬาดีเด่น” ประจำปี 2562 โดยนายพละ สุขเวช อดีตผู้ว่าการ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) เป็นประธานในพิธีมอบรางวัล 


นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือจีซี ในฐานะนายกสมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า รางวัลประกาศเกียรติคุณ  “วิศวจุฬากิตติคุณอาวุโสดีเด่น และวิศวจุฬาดีเด่น” เป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่ร่วมกันจัดทุก ๆ 2 ปี ตั้งแต่ปี 2532 โดยปี 2562 เป็นการประกาศเกียรติคุณวิศวจุฬากิตติคุณอาวุโสดีเด่น ครั้งที่ 7 และวิศวจุฬาดีเด่น ครั้งที่ 16 เพื่อยกย่องเชิดชูและประกาศเกียรติคุณแก่นิสิตเก่าและคณาจารณ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ประกอบคุณงามความดี มีความรับผิดชอบต่อครอบครัว สังคม และประเทศชาติ พร้อมกับประสบความสำเร็จในการทำงาน มีความดีเด่น ในการปฏิบัติหน้าที่ และอุทิศตนให้กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาโดยตลอดอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ ในปี 2562 มีวิศวจุฬากิตติคุณอาวุโสดีเด่นได้รับการคัดสรรว่าเป็นผู้ที่มีจริยธรรม คุณธรรม สร้างประโยชน์แก่สังคมและประเทศชาติ 8 คน โดยทั้ง 8 คนนี้จะได้รับการจารึกไว้ในหอกิตติคุณ (Hall of Frame) เพื่อประกาศถึงคุณงามความดีและความสามารถของท่านตลอดไป และผู้ผ่านการคัดสรรวิศวจุฬาฯ ดีเด่นปีนี้มีทั้งหมด 11 คน โดยล้วนเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จการทำงาน มีความโดดเด่นและผลงานเป็นที่ประจักษ์ในสาขาอาชีพของแต่ละคน โดยไม่จำกัดเพศ วัย และสาขาอาชีพ ทั้งหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ ธุรกิจเอกชน หรือองค์กรอิสระ ที่ได้ประกอบคุณงามความดี สร้างคุณประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ เป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินตามรอยเพื่อพัฒนาตนเองและประเทศให้เจริญยั่งยืนต่อไป

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หนึ่งในผู้ที่ได้รับรางวัลวิศวจุฬาดีเด่น ครั้งที่ 16 กล่าวว่า รู้สึกยินดีและภาคภูมิใจกับรางวัลที่ได้รับ โดยจะมุ่งนำความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์หล่อหลอมเข้ากับองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ เพื่อพัฒนากระบวนการบริหารจัดการธุรกิจให้ตอบสนองต่อประเด็นด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม อันจะนำไปสู่การพัฒนาธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน และสร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติต่อไป


 ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หนึ่งในผู้ที่ได้รับรางวัลวิศวจุฬาดีเด่น ครั้งที่ 16 กล่าวว่า รู้สึกภาคภูมิใจที่ได้รับรางวัลนี้ ถือเป็นเกียรติแก่ตนเองและครอบครัว โดยจะมุ่งสร้างสรรค์สังคมเชิงบวกต่อไป . – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง