“บ่อหน่วงน้ำใต้ดิน” อีกหนึ่งทางออกแก้ไขน้ำท่วม กทม.

กรุงเทพฯ 11 มิ.ย.- หลังหลายคนเจอวิกฤติน้ำรอระบายเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ทำให้สิ่งที่กังวลตามมาคือ ปัญหาน้ำท่วมที่คนกรุงต้องเผชิญเป็นประจำ กรุงเทพมหานครพยายามหาทุกวิถีทางในการยับยั้ง หนึ่งในนั้นคือ ก่อสร้างบ่อหน่วงน้ำใต้ดิน หรือ Water Bank เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังในจุดเสี่ยง


หลุมลึกรูปทรงสามเหลี่ยม ที่ยังอยู่ระหว่างก่อสร้าง หน้าปากซอยสุทธิพร 2 บนถนนดินแดง ซึ่งถือเป็นจุดเสี่ยงน้ำท่วมขังบนถนนสายหลักของ กทม. เวลาฝนตกจะมีน้ำท่วมขังเป็นประจำ หลายคนที่ผ่านไปมาอาจคิดว่ามีการผุดที่อยู่อาศัยแห่งใหม่เพิ่มเติม แต่ความเป็นจริง คือ บ่อหน่วงน้ำใต้ดิน หรือ Water Bank อีกหนึ่งในความพยายามของกรุงเทพมหานครที่ทำทุกวิถีทางยับยั้งปัญหาน้ำท่วมถนนทุกครั้งยามที่ฝนถล่มกรุง 


Water Bank ทำหน้าที่คล้ายธนาคาร แต่เปลี่ยนจากฝากเงิน เป็นฝากน้ำฝนก่อนปล่อยสู่คลอง กลไกการทำงานบ่อจะรับน้ำฝนที่ตกลงมาเก็บไว้ก่อน เหมือนฝากน้ำไว้ในบ่อพักใต้ดิน เพื่อไม่ให้เจิ่งนองท่วมถนนเหมือนที่ผ่านมา โดยบ่อมีความลึก 11 เมตร เก็บน้ำได้ 1,200 ลูกบาศก์เมตร เมื่อฝนหยุดตกค่อยสูบน้ำออกจากบ่อใต้ดิน โดยมีเครื่องสูบน้ำขนาด 1.25 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ไหลไปตามแนวท่อระบายน้ำลงสู่คลอง โดย กทม.มั่นใจว่าหากการก่อสร้างเสร็จในเดือนกรกฎาคม จะทำให้ถนนอโศก-ดินแดง เนื้อที่ 30,000 ตารางเมตร ไร้ปัญหาน้ำท่วมขังแน่นอน


นอกจากถนนดินแดงแล้ว Water Bank จะถูกนำไปใช้กระจายแก้ปัญหาน้ำท่วมขังในจุดเสี่ยงทั่วกรุง 14 จุด ในเขตหลักสี่ จตุจักร บางซื่อ ดุสิต ราชเทวี สาทร มีนบุรี บางแค และบางขุนเทียน ถนนในพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ท้องช้างน้ำขังได้ง่าย

ขณะที่นักวิชาการวิศวกรรมด้านโยธาธิการระบุว่า การลงทุนในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังในกรุงเทพฯ ด้วยสารพัดวิธีของ กทม.ในขณะนี้ถือเป็นความพยายามที่ดี โดยเฉพาะการเพิ่มพื้นที่ซึมซับรับน้ำ แต่จะให้ท้องถิ่นจัดการฝ่ายเดียวเกรงไม่ใช่ทางออกในระยะยาว ต้องให้บ้านเรือนประชาชน หมู่บ้าน อาคารเกิดใหม่เพิ่มพื้นที่รับน้ำ จะเป็นอีก 1 ทางออกช่วยลดปัญหา

แม้จะมีแผนการรองรับแต่นักวิชาการก็อยากให้ชาวกรุงยอมรับว่า อาจจะยังคงต้องเจอกับปัญหาน้ำท่วมขังได้ทุกเมื่อ หากมีฝนถล่มลงมา แต่ก็จะบรรเทาเบาบางลงเมื่อเทียบกับครั้งอดีตที่ตัวช่วยน้อยนิด

สำหรับแผนงานก่อสร้าง Water Bank ขณะนี้มีทั้งหมด 4 จุด ภายใต้งบกว่า 490 ล้านบาท ทั้งหมดล้วนเป็นจุดที่เกิดน้ำท่วมขังทุกครั้งที่ฝนตกหนัก คือ ที่ บริเวณวงเวียนบางเขน หน้าหมู่บ้านอัมรินทร์นิเวศน์ 1 ซึ่งเสร็จเรียบร้อยแล้ว ส่วนที่เหลือ คือ ปากซอยสุทธิพร 2, ถนนอโศก-ดินแดง เขตดินแดง, ใต้สะพานข้ามแยกถนนกรุงเทพกรีฑาตัดกับถนนศรีนครินทร์ เขตบางกะปิ และถนนรัชดาภิเษกตัดถนนวิภาวดี จะแล้วเสร็จในปีนี้.-สำนักข่าวไทย  

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

นร.หญิง ม.1 จมทะเลดับ หลังโรงเรียนพาไปทัศนศึกษาที่ระยอง

โรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งใน จ.นครราชสีมา พานักเรียนไปทัศนศึกษาที่ จ.ระยอง นักเรียนหญิง ม.1 ถูกคลื่นดูดลงทะเลขณะเล่นน้ำ เสียชีวิต พ่อแม่สุดเศร้าสูญเสียลูกสาวคนเดียวของครอบครัว

น้ำท่วมเชียงใหม่

เชียงใหม่จมบาดาล น้ำท่วมครั้งประวัติศาสตร์

น้ำท่วมในตัวเมืองเชียงใหม่ ยังวิกฤติ หลังน้ำในลำน้ำปิงขึ้นสูงสุดทรงตัวสูงกว่า 5.30 เมตร ซึ่งสูงที่สุดตั้งแต่มีการวัดระดับน้ำปิง

น้ำท่วมขนส่งเชียงใหม่กระทบผู้โดยสาร เปิดจุดจอดรับ-ส่งชั่วคราว

น้ำขยายวงกว้างเข้าท่วมสถานีขนส่งเชียงใหม่แห่งที่ 2 และ 3 เต็มพื้นที่ ระดับน้ำสูงเกือบ 50 ซม. ผู้ประกอบการขนส่งต้องนำรถทัวร์โดยสารออกมาจอดรับ-ส่งบนถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ ยืนยันผู้ประกอบการยังให้บริการตามปกติ

ระทึก! แท็กซี่พลิกคว่ำเกิดเพลิงไหม้ 5 ชีวิตรอดหวุดหวิด

รถแท็กซี่พลิกคว่ำและเกิดเพลิงลุกไหม้กลางถนนพระราม 9 ผู้โดยสารหญิงสติดีถีบประตูช่วยตัวเองและคนอื่นออกมาจากตัวรถรวม 5 ชีวิตได้ทัน แต่ในจำนวนนี้บาดเจ็บสาหัส 1 คน เป็นคนขับแท็กซี่ ตำรวจเร่งสอบสวนหาสาเหตุ

ข่าวแนะนำ

นายกฯ สั่งเรียกประชุมด่วน ปัญหาความปลอดภัยทางถนน

นายกฯ สั่งด่วน เรียกประชุมคณะกรรมการป้องกันปัญหาความปลอดภัยทางถนนของไทยและทุกรูปแบบการคมนาคม พรุ่งนี้ เตรียมขันนอต รับฟังแนวทางแก้ไข

ตลาดวโรรสจมบาดาลกว่า 24 ชม. ระดับน้ำปิงทรงตัวสูงเกือบ 5 เมตร

น้ำปิงที่ไหลผ่านตัวเมืองเชียงใหม่ ยังสูงเกือบ 5 เมตร ทำให้น้ำท่วมเมืองเชียงใหม่ยังวิกฤติ หลายพื้นที่เร่งอพยพผู้คน ส่วนตลาดวโรรส หรือกาดหลวง ยังถูกน้ำท่วมสูง

อีสานอากาศเย็นตอนเช้า ตอนบนมีฝนน้อย

กรมอุตุฯ รายงานอีสานอากาศเย็นในตอนเช้า ไทยตอนบนมีฝนน้อย ส่วนภาคใต้ฝนตกหนักบางแห่ง ระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก

น้ำท่วมเชียงใหม่

เชียงใหม่จมบาดาล น้ำท่วมครั้งประวัติศาสตร์

น้ำท่วมในตัวเมืองเชียงใหม่ ยังวิกฤติ หลังน้ำในลำน้ำปิงขึ้นสูงสุดทรงตัวสูงกว่า 5.30 เมตร ซึ่งสูงที่สุดตั้งแต่มีการวัดระดับน้ำปิง