fbpx

สทนช.ถกลาวเชื่อมข้อมูลน้ำโขง-เขื่อนไซยะบุรี

กรุงเทพฯ 10 มิ.ย. – สทนช.จับมือลาวเชื่อมโยงข้อมูลฝน แผนระบายน้ำ สถานีวัดน้ำท่าในแม่น้ำโขงฝั่งลาว พร้อมแผนบริหารจัดการน้ำเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรี เพื่อวิเคราะห์คาดการณ์แนวโน้มระดับน้ำโขงก่อนถึงฝั่งไทย ตั้งเป้าลดวิกฤติน้ำล้นตลิ่งพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมริมโขง 8 จังหวัดภาคอีสาน เดือน ก.ค.-ก.ย. 


นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 8 – 9 มิถุนายนที่ผ่านมาเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย หารือกับท่านแก้วมณี หลวงฤทธิ์ ผู้อำนวยการกองบริหารองค์กรและความร่วมมือ และคณะฯ ของสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติลาว เพื่อร่วมมือบริหารจัดการน้ำในแม่น้ำโขง ซึ่งผลการหารือทั้ง 2 ประเทศเห็นพ้องร่วมกันแลกเปลี่ยนข้อมูลบริหารจัดการน้ำแม่น้ำโขง สถานีวัดน้ำฝน รวมถึงปริมาณน้ำที่มีการระบายจากเขื่อนของลาวที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขง ทั้งโครงการก่อสร้างปัจจุบันและในอนาคต ให้แก่ประเทศไทยโดยตรง นอกเหนือจากการประสานงานผ่านคณะกรรมการแม่น้ำโขง (MRC) เพื่อให้การใช้น้ำจากแม่น้ำระหว่างประเทศเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งผู้แทนลาวจะนำไปหารือระดับนโยบายเพื่อให้เกิดความร่วมมือแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านอุทกวิทยาระหว่าง 2 ประเทศ ทั้งระยะสั้นและระยะกลางให้เป็นรูปธรรมโดยเร็วต่อไป 


ขณะเดียวกันฝ่ายไทยยังได้หยิบยกประเด็นหารือเชิงเทคนิคเกี่ยวกับเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรีของลาว ซึ่งเป็นโครงการไฟฟ้าพลังน้ำประเภทเขื่อนทดน้ำเหมือนเขื่อนเจ้าพระยา  มีพื้นที่รับน้ำฝน 272,000 ตารางกิโลเมตร ปริมาณ/อัตราการไหลน้ำท่าเฉลี่ย 3,971 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ความยาวอาคารตั้งแต่ช่องทางการเดินเรือ อาคารระบายน้ำ ช่องระบายตะกอน โรงไฟฟ้าและอาคารประกอบ ยาวรวม 820 เมตร ปริมาณน้ำหลากที่ใช้ออกแบบ 47,500 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ปริมาณน้ำออกแบบเพื่อผลิตไฟฟ้าส่งออกขาย 4,900 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ตั้งอยู่บนลำน้ำโขงสายหลัก ซึ่งขณะนี้ก่อสร้างใกล้เสร็จและเริ่มทดสอบระบบผลิตกระแสไฟฟ้า รวมทั้งมีการดำเนินงานเกี่ยวกับระบบติดตาม และคาดการณ์ปริมาณน้ำทั้งด้านเหนือเขื่อนและท้ายเขื่อนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งไทยและกำหนดกรอบแนวทางความร่วมมือร่วมกัน 4 ประเด็นหลัก ได้แก่  1.การบริหารจัดการน้ำและการใช้น้ำของเขื่อนไซยะบุรี 2.แนวทางการประสานงานและการทำงานร่วมกันเพื่อรองรับการดำเนินงานในช่วงฤดูฝน 3.แนวทางการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านอุทกวิทยา ระบบการพยากรณ์น้ำท่วมและการบริหารจัดการเขื่อน และ 4.แผนเตรียมการรับมือภาวะฉุกเฉินและความปลอดภัยเขื่อน เป็นต้น

นายสมเกียรติ กล่าวว่า สทนช.เป็นผู้รับผิดชอบภารกิจงานด้านน้ำระหว่างประเทศตามที่ได้รับหมายจากมติคณะรัฐมนตรี รวมถึงภารกิจตามกรอบความร่วมมือของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง การเดินทางมาหารือระดับเทคนิคระหว่างไทย-ลาวครั้งนี้จะทำให้การบริหารจัดการและการใช้น้ำจากแม่น้ำระหว่างประเทศในแม่น้ำโขงล่างตอนบนเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สทนช.ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการแลกเปลี่ยนข้อมูลอุทกวิทยากรณีฤดูน้ำหลากสำหรับแม่น้ำโขง – ล้านช้าง โดยฝ่ายจีนจะให้ข้อมูลระดับน้ำและปริมาณฝนในช่วงฤดูน้ำหลาก ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม – 31 ตุลาคมของทุกปี จากสถานีอุทกวิทยา 2 แห่ง คือ สถานีจิ่งหง ซึ่งเป็นสถานีวัดปริมาณน้ำที่ระบายจากเขื่อนตัวที่ 6 ที่จีนสร้างในลำน้ำโขง และสถานีหม่านอัน ซึ่งเป็นสถานีวัดน้ำในลำน้ำสาขาของจีน และเร็ว ๆ นี้ลาวจะติดตั้งสถานีวัดน้ำสถานีเชียงกกซึ่งอยู่ในแม่น้ำโขงระหว่างพม่าและลาว บริเวณเหนือ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ประมาณ 200 กม.


“ผลการหารือร่วมกับลาวครั้งนี้จะทำให้เกิดความเชื่อมโยงบริหารจัดการแม่น้ำโขงตลอดสายฤดูฝนนี้ ทั้งข้อมูลปริมาณน้ำฝน รวมถึงการระบายน้ำจากเขื่อนไซยะบุรีสะท้อนกับสภาพความเป็นจริงและเป็นข้อมูลปัจจุบัน (Real Time) มากที่สุด เพื่อการวิเคราะห์ คาดการณ์สถานการณ์น้ำท่าที่จะไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่อาจจะส่งผลกระทบต่อแม่น้ำโขงฝั่งไทยได้ โดยเฉพาะพื้นที่ 8 จังหวัดเสี่ยงภาคอีสานที่ติดแม่น้ำโขง แต่ละปีปริมาณน้ำโขงจะมีปริมาณน้ำสูง 2 ช่วง คือ เดือนกรกฎาคมและกันยายน หาก สทนช.ได้รับข้อมูลสถานการณ์น้ำในลาวล่วงหน้าก็สามารถคาดการณ์ เพื่อป้องกันและบรรเทาผลกระทบที่จะเกิดจากน้ำล้นตลิ่งกับประชาชนในฝั่งไทยได้”นายสมเกียรติ กล่าว.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พบศพโบลท์หญิงวัย 47 ในป่าหญ้าริมทาง คาดถูกฆ่าชิงรถ

โบลท์หญิงวัย 47 ปี หายตัวจากบ้านพักย่านดินแดง 9 วัน ล่าสุดพบเป็นศพในป่าหญ้าริมถนนสายนครชัยศรี-ห้วยพลู อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ส่วนรถยนต์โผล่ที่ จ.ภูเก็ต คาดถูกคนร้ายฆ่าชิงรถ

pagers on display

ทำไมยังมีการใช้ “เพจเจอร์” ในยุคสมาร์ทโฟน

ลอนดอน 19 ก.ย.- เพจเจอร์ หรือวิทยุติดตามตัวเป็นอุปกรณ์การสื่อสารยอดนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ต้องหลีกทางให้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว แต่ยังคงมีการใช้งานในบางกลุ่ม รวมถึงกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่เพจเจอร์ระเบิดพร้อมกันหลายพันเครื่องทั่วเลบานอนเมื่อวันที่ 17 กันยายน แหล่งข่าวเผยว่า ฮิซบอลเลาะห์ใช้เพจเจอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางสื่อสารเทคโนโลยีต่ำ ส่งข้อความผ่านสัญญาณวิทยุ จึงตรวจจับสัญญาณและตำแหน่งได้ยากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ส่งสัญญาณไปยังเสาส่งที่อยู่ใกล้ที่สุด อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีระบุพิกัดบนพื้นโลกอย่างจีพีเอสด้วย อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอ (FBI) ของสหรัฐเผยว่า ในอดีตแก๊งอาชญากรรมโดยเฉพาะแก๊งค้ายาเสพติดในสหรัฐเคยนิยมใช้เพจเจอร์ แต่ขณะนี้หันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินราคาถูกที่สามารถเปลี่ยนเครื่องและหมายเลขได้อย่างง่ายดาย ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามแกะรอยได้ยาก อย่างไรก็ดี  ศัลยแพทย์โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรเผยว่า เพจเจอร์เป็นอุปกรณ์ที่แพทย์และพยาบาลสังกัดสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติหรือเอ็นเอชเอส (NHS) ต้องพกติดตัวอยู่เสมอ เพื่อรับแจ้งข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นช่องทางที่ถูกที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแจ้งข่าวทางเดียวกับคนจำนวนมาก เพจเจอร์หลายรุ่นสามารถส่งเสียงไซเรนและมีข้อความเสียงแจ้งให้ทีมแพทย์ไปรวมตัวที่ห้องฉุกเฉินได้ทันที ข้อมูลล่าสุดในปี 2562 ระบุว่า เอ็นเอชเอสใช้เพจเจอร์ประมาณ 130,000 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 10 ของที่ใช้ทั่วโลก คอกนิทีฟมาร์เก็ตรีเสิร์ช  (Cognitive Market Research) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยคาดการณ์ว่า ตลาดเพจเจอร์จะเติบโตร้อยละ 5.9 ต่อปี จากปี 2566 ถึงปี 2573 […]

ข่าวแนะนำ

พายุโซนร้อนซูลิก

ฤทธิ์พายุโซนร้อนซูลิก ทำฝนเริ่มตกหนักในพื้นที่นครพนม

ฤทธิ์พายุโซนร้อน “ซูลิก” ทำฝนเริ่มตกหนักในพื้นที่ จ.นครพนม เจ้าหน้าที่ต้องเร่งเดินเครื่องสูบน้ำลงน้ำโขง

อุตุฯ เตือนพายุ “ซูลิก” ฉบับที่ 12 ฝนถล่มหลายจังหวัด

กรมอุตุฯ ออกประกาศเตือนพายุ “ซูลิก” ฉบับที่ 12 ภาคเหนือ อีสาน กลาง รวมทั้งกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนักถึงหนักมากกับมีลมแรง

ชายแดนแม่สายยังเละจมโคลน จับตาพายุลูกใหม่

แม้จะผ่านน้ำท่วมใหญ่ในรอบร้อยปีมาหลายวันแล้ว แต่ตอนนี้ชายแดนแม่สายยังเต็มไปด้วยความเสียหายและดินโคลนจำนวนมาก ชาวบ้านหลายคนยังไม่สมารถกลับเข้าบ้านได้

นายกฯ ตรวจความพร้อมการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

นายกฯ ตรวจความพร้อมการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค การซ้อมเป็นรูปขบวนเรือในแม่น้ำเจ้าพระยา ครั้งที่ 7 ณ โรงเรือพระราชพิธี ท่าวาสุกรี และวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ขณะที่ “เจ้าอาวาสวัดอรุณฯ” ให้กำลังใจทำหน้าที่ได้เต็มที่-ประสบความสำเร็จ