อภ.16 พ.ค.-ประธานอบร์ด อภ.เผยต้นกัญชา140 ต้น ที่ปลูกในโรงเรือนอภ. ออกดอกแล้ว คาดเก็บเกี่ยวทำน้ำมันกัญชาได้ ก.ค.นี้. สามารถผลิตได้ถึง2,500 ขวด เตรียมหารือกรมการแพทย์ ผู้ป่วยใดได้รับสารสกัดกัญชา พร้อมย้ำกัญชาไม่ใช่ยาวิเศษ ส่วนการเพาะปลูกในตลาด พบว่า ราคาตกลง เหลือ 5 แสนบาทต่อกิโลกรัม แนะคนสนใจควรปลูกเพื่อการแพทย์มากกว่าหวังกำไร
นพ.โสภณ เมฆธน ประธานบอร์ดองค์การเภสัชกรรม (อภ.) พร้อมด้วย นพ.วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม (อภ.) แถลงความคืบ หน้ากัญชาเมดิคัล เกรด องค์การเภสัชกรรม ว่า ขณะนี้ ผลการปลูกกัญชา ในโรงเรือนขององค์การเภสัชกรรม แบบรากลอย ที่องค์กรรมเภสัชกรรม ธัญบุรี ปทุมธานี เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา จำนวน 140 ต้น พบว่า เริ่มออกดอกแล้ว โดยดอกมีลักษระคล้ายถุงใส คล้ายเรซิ่น ทั่วทั้งด้านใน และด้านนอกของดอก ต้นกัญชาที่ออกทั้งหมดเป็นตัวเมีย ถึงร้อยละ 98 คาดว่าอีกประมาณ 10 -12 สัปดาห์ จะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตและบ่มแห้ง จากนั้นจึงค่อยมาสกัดเป็นน้ำมันกัญชา คาดว่าจะได้ 2,500 ขวด ขนาด ขวดละ 5 ซีซี
นพ.โสภณ กล่าวต่อว่า กัญชาที่ปลูกนั้นเป็นกัญชาสายพันธุ์ลูกผสม นำเข้าจากต่างประเทศ สามารถให้สารสำคัญได้ทั้ง 3 ชนิด ทั้งTHC สูงและCBD สูง และสัดส่วนของสารTHC และCBD เท่ากัน อย่างละ1ต่อ 1 ซึ่งการสกัดเป้นน้ำมันกัญชานี้ จะทำได้ในเดือนกรกฎาคม ส่วนการนำไปใช้นั้น จะมีการประชุม หารือร่วมกับ กรมการแพทย์ ในวันที่ 21 พ.ค.นี้ ว่าจะนำไปใช้กับผู้ป่วยกลุ่มใด เพื่อให้สอดคล้องกับการวิจัยทางคลินิก และการอบรมแพทย์ที่ช้กัญชาขององค์การเภสัชกรรม เบื้องต้นคาดว่าจะสามารถนำมา ใช้ ในกลุ่มโรคที่มีผลการศึกษาวิจัย ว่าการใช้กัญชาให้ประสิทธิภาพดี เช่น กลุ่มโรคลมชัก อาการคลื่นไส้อาเจียนจากเคมีบำบัด ,บรรเทาอาการปวด ,ปอดปลายประสาทอักเสบและการรักษามะเร็งระยะสุดท้ายแบบประคับ ประคอง อย่างไรก็ดียืนยันว่ามะเร็งไม่ใช่ยาวิเศษที่รักษาได้ทุก โรค
ด้าน นพ.วิฑูรย์ กล่าวว่า สำหรับการพิจารณาการขายสารสกัดน้ำมันกัญชา ที่สกัดโดย อภ. นั้น คาดว่าไม่แตกต่างจากการจำหน่ายในใต้ดิน และท้องตลาดในต่างประเทศ ที่กำหนด ซีซีละ 100-200 บาท บรรจุขวด 5 ซีซี แต่ยังต้องมีการพิจารณาถึงต้นทุนการผลิต เนื่องจากการปลูกกัญชาของ อภ. ทำให้ในโรงเรือนปิด ใช้ระบบการเพาะปลูกแบบรากลอย ปลอดสารโลหะหนัก และการปนเปื้อนทางเคมี
ขณะที่ นายวิเชียร กีรตินิจกาล ผู้เชี่ยวชาญด้านการเพาะปลูกและปรับปรุงสายพันธุ์พืช มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่าต่อไปการศึกษาวิจัยและการปลูก จะเน้นการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีจำนวนสารสำคัญในปริมาณที่เหมาะสม ให้เท่าสายพันธุ์ในต่างประเทศ ขณะเดียวกันอยากทำความเข้าใจกับประชาชนว่า การเพาะปลูกกัญชา ไม่ควรหวังเรื่องความร่ำรวย เพราะขณะนี้ในตลาดโลกสารสกัดจากกัญชา มีราคาถูกลง เหลือกิโลกรัมละ 5 แสนบาท ในส่วนของสาร CBD การปลูกจึงควรเห็นประโยชน์ของการแพทย์ น่าจะดีกว่า .-สำนักข่าวไทย