กรมสุขภาพจิตห่วงปัญหาฆ่าตัวตาย แนะใช้หลัก 3 ส.

กรมสุขภาพจิต 8 มี.ค.-กรมสุขภาพจิต แนะใช้ 3 ส.‘สอดส่องมองหา-ใส่ใจรับฟัง-ส่งต่อเชื่อมโยง’โดยเฉพาะการฟังสำคัญ ทำให้ผู้คิดฆ่าตัวตายไม่รู้สึกโดดเดี่ยว พร้อมขอความร่วมมือสื่อ เพิ่มความระมัดระวังในการเสนอข่าวเกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย หลีกเลี่ยงการนำเสนอข้อมูล รูปภาพ เกี่ยวกับเหตุการณ์ สถานที่ วิธีการ อุปกรณ์ ที่เกี่ยวกับการทำร้ายตนเอง



นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต เปิดเผยว่าในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาจะเห็นว่ามีข่าวของการฆ่าตัวตายเกิดขึ้นมากในประเทศไทย และเป็นที่สนใจของสังคมและกระแสสังคม ในจำนวนนี้มีข่าวการฆ่าตัวตายในกลุ่มวัยรุ่นหรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้นรวมอยู่ด้วย ซึ่งหากพิจารณาถึงข้อเท็จจริงของอัตราการฆ่าตัวตายของคนกลุ่มวัย 10-24 ปี  ซึ่งจะครอบคลุมวัยเรียนทั้งช่วงระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา และอาจรวมถึงผู้ที่เริ่มต้นชีวิตการทำงานเป็นช่วงแรกของชีวิต พบว่า อัตราการฆ่าตัวตายของคนกลุ่มนี้ในปี2561 อยู่ที่ 3.03 ต่อประชากรหนึ่งแสนคนหรือคิดเป็นจำนวน 397 คน ซึ่งเมื่อเทียบกับวัยอื่นในภาพรวมของประเทศ ที่มีอัตราการฆ่าตัวตายอยู่ที่ 6.34 ต่อประชากรหนึ่งแสนคน อาจถือว่าคนไทยในวัย10-24ปี มีอัตราการฆ่าตัวตายน้อยกว่าในวัยทำงานและวัยสูงอายุ แต่เนื่องจากที่ผ่านมาสังคมค่อนข้างให้ความสนใจในกลุ่มวัยรุ่น เนื่องจากสังคมมีความสะเทือนใจและถือเป็นการสูญเสียผลิตภาพ และทรัพยากรสำคัญของประเทศ 


นอกจากนี้มีการใช้วิธีการกระทำการที่มีความเด็ดขาดรุนแรงถึงแก่ชีวิต ทำให้สังคมเกิดความสนใจและตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาการฆ่าตัวตายอย่างกว้างขวาง จากข้อมูลของศูนย์ป้องกันการฆ่าตัวตายระดับชาติ รพ.จิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต ได้มีการแยกแยะสาเหตุปัจจัยของการฆ่าตัวตายสำเร็จในวัย10-24 ปีได้แก่ปัญหาด้านความ สัมพันธ์ซึ่งเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ ได้แก่ความน้อยใจถูกดุด่าตำหนิ การทะเลาะกับคนใกล้ชิด พบร้อยละ48.7ความรัก หึงหวงพบร้อยละ 22.9 ต้องการคนใส่ใจ ดูแลร้อยละ 8.36 ปัญหาด้านการใช้สุราและยาเสพติด พบว่าผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จมีปัญหาการดื่มสุรา ร้อยละ 19.6 และพบว่ามีอาการมึนเมาระหว่างทำร้ายตนเอง ร้อยละ 6 และปัญหาด้านการเจ็บป่วยทางจิต พบภาวะโรคจิต ร้อยละ7.45 โรคซึมเศร้า ร้อยละ6.54 โดยขาดวิธีการแก้ปัญหาและความช่วยเหลือ ซึ่งจะพบสัญญาณเตือนในการฆ่าตัวตายที่แตกต่างกันออกไปในกลุ่มวัยนี้ ได้แก่ การเขียนระบายในรูปแบบข้อความ การโพสต์ลง FB การส่งไลน์ สติกเกอร์ บอกลา บางรายเอาของที่ระลึกไปคืนเพื่อนสนิท มากอดลาพ่อแม่ บางรายพบการทำร้ายตนเองด้วยวิธีการที่ไม่รุนแรงหรือไม่ถึงแก่ชีวิตมาก่อน ซึ่งในกลุ่มนี้ ร้อยละ 12 พบว่า จะมีการทำร้ายตนเองสำเร็จในเวลาต่อมา

สำหรับแนวทางป้องกันการแก้ไขปัญหา อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า กรมสุขภาพจิตน้อมรับนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องการให้สถานศึกษาทุกระดับชั้นทุกสังกัด ให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตของนักเรียน นักศึกษาโดยตรงตั้งแต่เด็กจนโต โดยที่ผ่านมากรมสุขภาพจิต มีการดำเนินโครงการสุขภาพจิตในสถานศึกษาอยู่แล้ว ซึ่งในเร็วๆ นี้กรมจะจัดสัมมนาหารือร่วมกับผู้รับผิดชอบของกระทรวงศึกษาธิการเพื่อทบทวนและเพิ่มศักยภาพในการคัดกรองความเสี่ยงการฆ่าตัวตาย พัฒนาผู้ให้ความดูแลช่วยเหลือและภาวะที่อาจนำไป สู่การฆ่าตัวตายให้มากและเข้มข้นขึ้น 

นอกจากนี้การป้องกันแก้ไขปัญหาคงต้องขอให้คนในครอบครัวหรือคนใกล้ชิดได้สังเกตสัญญาณเตือนซึ่งกันและกัน โดยให้ระลึกไว้เสมอว่าการส่งสัญญาณเตือนเท่ากับการส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ บางครั้งคนใกล้ชิด ไม่กล้าถามหรือพูดตรงๆเพราะกลัวว่าจะพูดไม่ถูกหรือกลาย เป็นการกระตุ้นให้คิดหรือทำ กรมสุขภาพจิตแนะนำวิธีการ 3 ส.คือสอดส่องมองหา ใส่ใจรับฟัง ส่งต่อเชื่อมโยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฟังอย่างใส่ใจนั้น เป็นวิธีการที่สำคัญและมีประสิทธิภาพมาก เพราะเป็นการเชื่อมโยงสายสัมพันธ์ไปยังผู้ที่คิดฆ่าตัวตาย ให้รู้สึกไม่โดดเดี่ยว หรือรู้สึกว่าไม่ถูกทิ้งให้อยู่เบื้องหลัง ทั้งนี้ กรมสุขภาพจิตมีสายด่วนสุขภาพจิต1323 ที่สามารถโทรปรึกษาได้ตลอดเวลาและไม่เสียค่าบริการ


อีกแนวทางหนึ่งที่อยากขอความร่วมมือสื่อมวลชน คือ ขอให้เพิ่มความระมัดระวังในการเสนอข่าวเกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย หลีกเลี่ยงการนำเสนอข้อมูล รูปภาพ เกี่ยวกับเหตุการณ์ สถานที่ วิธีการ อุปกรณ์ ที่เกี่ยวกับการทำร้ายตนเอง เพราะการฆ่าตัวตายเป็นพฤติกรรมรุนแรงอย่างหนึ่ง ซึ่งสามารถลอกเลียนแบบและเกิดการแพร่ระบาดได้ การเผยแพร่ในโลกออนไลน์ ไม่สามารถจำกัดผู้รับข้อมูลข่าวสารได้ เด็กหรือผู้ที่มีความเปราะบางทางจิตใจ ถือเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงที่การลอกเลียนแบบพฤติกรรม ทั้งโดยตั้งใจ และไม่ตั้งใจ

รวมทั้งสื่อมีบทบาทสำคัญที่จะเป็นตัวกลางตอกย้ำคุณค่าและความสำคัญของวัยรุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเสนอมุมมองของการเคารพตัวเองและรับผิดชอบในชีวิต ทั้งในส่วนการเลือกนำเสนอข่าวอื่นๆ ที่เกี่ยวกับวัยรุ่นในด้านดีๆ ให้รู้สึกว่า วัยรุ่นเป็นคนกลุ่มหนึ่งที่สังคมยอมรับ มีตัวตน เป็นกลุ่มที่ทำประโยชน์ได้มากและเป็นที่ต้องการ สำหรับการเสนอข่าวฆ่าตัวตายนั้น ถ้าพิจารณาแล้วก็ยังเห็นด้วย ที่สื่อควรจะต้องนำเสนอให้สังคมได้รู้ ได้ระวัง และได้ป้องกัน เหมือนเป็นการเสนอข่าวเพื่อเป็นบทเรียนและช่วยเพิ่มพื้นที่ในการหาวิธีป้องกัน โดยเฉพาะสำหรับวัยรุ่นที่อยากยุติปัญหาชีวิตด้วยการทำร้ายตัวเอง  .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง