ยกระดับคุ้มครองปลากัดไทย

นนทบุรี 13 ก.พ. –  กระทรวงพาณิชย์ยกระดับคุ้มครองปลากัดไทยทั้งในและต่างประเทศ หลัง ครม.เห็นชอบให้เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ


นายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า กรณีที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2562 เห็นชอบให้ปลากัดไทย ซึ่งมีชื่อสามัญว่า “Siamese Fighting Fish” เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ หลังจากก่อนหน้านี้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ. 2559 ว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีและเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ กระทรวงพาณิชย์เห็นถึงความสำคัญและจำเป็นในการคุ้มครองปลากัดไทยในฐานะที่เป็นทรัพยากรพันธุกรรม (Genetic Resources) ของไทย ทั้งระดับประเทศและระดับสากล

ทั้งนี้ ในการดำเนินการเพื่อคุ้มครองทรัพยากรพันธุกรรมของไทย กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้เสนอร่างพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่..) พ.ศ. … ซึ่งได้รับความเห็นชอบในหลักการจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2562 โดยมีสาระสำคัญส่วนหนึ่งกำหนดให้ผู้ขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ที่มีการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมต้องเปิดเผยแหล่งที่มาและการแบ่งปันผลประโยชน์ให้แก่เจ้าของทรัพยากรพันธุกรรมนั้นในคำขอรับสิทธิบัตร เพื่อป้องกันปัญหาการขโมยทรัพยากรพันธุกรรมไปใช้ประโยชน์โดยไม่ชอบ หรือที่เรียกว่า ปัญหาโจรสลัดชีวภาพ (Bio-Piracy) นอกจากนี้ ไทยยังเดินหน้าเจรจา เร่งรัด และผลักดันให้มีการจัดทำข้อตกลงระหว่างประเทศด้านการคุ้มครองทรัพยากรทางพันธุกรรมภายใต้กรอบองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) หากการเจรจาจัดทำข้อตกลงระหว่างประเทศดังกล่าวเป็นผลสำเร็จจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศและชุมชนที่เป็นเจ้าของทรัพยากรพันธุกรรมอย่างมาก


สำหรับประเด็นคำถามที่ว่าชาวต่างชาติจะสามารถนำปลากัดไทยไปจดทะเบียนสิทธิบัตร เพื่ออ้างความเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียวได้หรือไม่นั้น นายทศพล กล่าวว่า กฎหมายสิทธิบัตรไทยกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่าสัตว์เป็นสิ่งที่ไม่สามารถขอรับสิทธิบัตรได้ แต่หากเป็นการคิดกรรมวิธีใหม่ เช่น กรรมวิธีใหม่ในการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ก็จะสามารถนำมาขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตรได้ ซึ่งผู้ประดิษฐ์หรือนักวิจัยไทยสามารถดำเนินการได้เช่นกัน  

ส่วนในต่างประเทศ แม้มีบางประเทศอนุญาตให้นำสัตว์ไปจดทะเบียนสิทธิบัตรได้ แต่มีกระบวนการคัดค้านและเพิกถอนการจดทะเบียนตามขั้นตอนของกฎหมายภายในประเทศนั้น ๆ ดังนั้น หากมีการนำสัตว์ที่เป็นทรัพยากรพันธุกรรมของไทย เช่น ปลากัดไทยไปจดทะเบียนสิทธิบัตรในต่างประเทศ ก็สามารถดำเนินการคัดค้านหรือเพิกถอนการจดทะเบียนตามขั้นตอนของกฎหมายได้ หลังจากนี้กระทรวงพาณิชย์จะกำชับสำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศให้เร่งประชาสัมพันธ์และแจ้งสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาประเทศต่าง ๆ ทราบว่าปัจจุบันปลากัดไทยเป็นสัตว์น้ำประจำชาติไทย ซึ่งไม่ควรมีบุคคลใดนำไปจดทะเบียนสิทธิบัตรเพื่ออ้างความเป็นเจ้าของ

นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญายังอยู่ระหว่างดำเนินการเชื่อมโยงฐานข้อมูลทรัพยากรพันธุกรรมที่อยู่ในความดูแลของหน่วยงานต่าง ๆ  ซึ่งจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตร เพื่อป้องกันปัญหาการลักลอบนำทรัพยากรพันธุกรรมของไทยไปใช้โดยไม่ชอบซึ่งขณะนี้คณะรัฐมนตรีมีมติให้ปลากัดไทยเป็นสัตว์น้ำประจำชาติแล้ว จึงขอให้หน่วยงานและองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญด้านทรัพยากรพันธุกรรมสาขาที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชนคนไทยทุกคนช่วยกันเป็นหูเป็นตาและเฝ้าระวังไม่ให้มีการขโมยทรัพยากรพันธุกรรมของไทย เช่น ปลากัดไทย ไปใช้โดยไม่ชอบ ซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการป้องกันปัญหาโจรสลัดชีวภาพไม่ให้เกิดขึ้น และเป็นการรักษาสิ่งที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจและคุณค่าทางวัฒนธรรมไว้ให้ลูกหลานของไทยสืบไป.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ฆ่าจระเข้

เจ้าของฟาร์มเศร้าตัดใจฆ่าจระเข้ 125 ตัว ห่วงน้ำท่วมทำหลุดบ่อ

สุดเศร้า! เจ้าของฟาร์มตัดใจฆ่าจระเข้พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ 125 ตัว เหตุกลัวน้ำท่วมทำหลุดบ่อ หลังฝนตกหนักในพื้นที่ จ.ลำพูน

น้ำป่าทะลักท่วมชุมชน ป่าช้า-เมรุเผาศพ จ.ชัยภูมิ

น้ำป่าจากเทือกเขาภูแลนคา ทะลักท่วม 6 ชุมชน เมืองชัยภูมิ ป่าช้า เมรุเผาศพ สุสานชาวจีน จมน้ำมากว่า 3 วันแล้ว เจ้าหน้าที่เร่งสูบน้ำตลอด 24 ชม.

ข่าวแนะนำ

กู้ภัยช่วย 2 วัยรุ่นขี่ จยย.ถูกน้ำซัดเกาะต้นไม้

น้ำท่วมภาคอีสานยังน่าห่วง หลังระดับน้ำโขงในหลายจังหวัดมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ที่อุดรธานี 2 วัยรุ่นถูกน้ำซัดรถจักรยานยนต์ตกถนน ลอยคอเกาะต้นไม้ไว้ทัน กู้ภัยฝ่ากระแสน้ำเข้าช่วย

เหนืออ่วม อ่างเก็บน้ำแตก-พนังกั้นน้ำพัง

สถานการณ์น้ำท่วมภาคเหนือหลายพื้นที่ยังสาหัส ที่ลำปาง “อ่างเก็บน้ำบ้านหนอง” แตก มวลน้ำหลากท่วมหลายหมู่บ้าน ส่วนที่สุโขทัย พนังกั้นน้ำยมพัง น้ำทะลักถนนทางหลวง บางจุดท่วมสูงกว่า 2 เมตร

น้ำท่วมเวียงกุมกาม

น้ำท่วมเวียงกุมกาม สูงเกือบ 3 เมตร

เวียงกุมกาม ซึ่งเคยเป็นเมืองหลวงแรกของล้านนาในสมัยพญามังราย ก่อนจะย้ายไปสร้างเมืองเชียงใหม่เพราะปัญหาน้ำท่วม จนได้ชื่อว่านครโบราณใต้พิภพ เป็นอีกปีที่ถูกน้ำท่วมสูงเกือบ 3 เมตร