หวั่น “ปลาเรืองแสง” กระทบอุตสาหกรรมปลาสวยงาม

กรุงเทพฯ 24 ส.ค.- อธิบดีกรมประมง เผยพบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตัดต่อพันธุกรรม หรือ GMOs ซึ่งเสี่ยงต่อการปนเปื้อนทางพันธุกรรมกับชนิดพันธุ์ท้องถิ่น รวมถึงถูกกีดกันทางการค้า กระทบอุตสาหกรรมปลาสวยงามไทยทั้งระบบ หากมีในครอบครองให้ส่งคืนกรมประมง หากพบมีโทษทั้งจำคุกไม่เกิน 1-2 ปี และปรับไม่เกิน 1-2 ล้านบาท


นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า ขณะนี้พบมีผู้ที่ทำการเพาะเลี้ยง “ปลาเรืองแสง” หรือปลาที่ได้รับการดัดแปลงพันธุกรรม (Genetically Modified Organisms : GMOs) ด้วยเทคนิคการนำยีนที่ได้จากแมงกะพรุนหรือดอกไม้ทะเลบางชนิดไปใส่ไว้ใน DNA ที่ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมของปลาและจะสร้างโปรตีนที่มีลักษณะเด่นขึ้นมา เมื่อถูกกระตุ้นด้วยแสงไฟ Blacklight จะทำให้ตัวปลาเรืองแสงสะท้อนขึ้นมา เกิดความแปลกตาสวยงาม ซึ่งชนิดของสีเรืองแสงที่มีการค้าในปัจจุบันมี 6 สี ได้แก่ สีเขียว (Electric Green) สีฟ้า (Cosmic Blue) สีแดง (Starfire Red) สีส้ม (Sunburst Orange) สีชมพู (Moonrise Pink) สีม่วง (Galactic Purple)

ปัจจุบันนานาชาติโดยส่วนใหญ่ไม่ยอมรับ GMOs ในสิ่งมีชีวิต เพราะอาจส่งผลให้เกิดการปนเปื้อนทางพันธุกรรมกับชนิดพันธุ์ที่มีในท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปลาสวยงาม หากเข้าไปแทรกอยู่ในยีนแล้วยากที่จะเอาออก ทำให้สูญเสียความเป็นสายพันธุ์ดั้งเดิมไป ถือเป็นเรื่องร้ายแรงที่น่ากังวล ประกอบกับประเทศไทยได้มีการลงนามในพิธีสารคาร์ตาเฮน่า ว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (Cartagena Protocol on Biosafety) มีเงื่อนไขที่ต้องดำเนินการป้องกันหรือลดความเสี่ยงต่อการที่ GMOs จะก่อให้เกิดอันตรายต่อความหลากหลายทางชีวภาพ สิ่งแวดล้อม และสุขอนามัยของมนุษย์ ดังนั้น หากประเทศไทยมีการเพาะเลี้ยงปลา GMOs อาจส่งผลกระทบทำให้ถูกกีดกันทางการค้าจากนานาชาติ ทั้งในเรื่องของความเข้มงวดของการนำเข้าปลาสวยงาม หรืออาจร้ายแรงไปจนถึงการห้ามค้าขายปลาสวยงามที่เป็นหรือเสี่ยงที่จะเป็นปลา GMOs 


ทั้งนี้ การตรวจสอบสัตว์น้ำตัดต่อพันธุกรรมเรืองแสงในปลาที่เรืองแสงชัดเจน มีขั้นตอนกระบวนการตรวจสอบโดยละเอียด ด้วยวิธีตรวจสอบจากสารพันธุกรรม (DNA) โดยเทคนิค PCR หรือ Real time PCR ก็เป็นเรื่องที่ยุ่งยากและมีค่าใช้จ่ายที่สูง ส่วนการตรวจสอบเบื้องต้น สามารถใช้ไฟฉาย UV Black light ส่องดูได้

สำหรับปลาสวยงามหลากหลายชนิดที่นำมาพัฒนาพันธุ์ด้วยวิธีการตัดต่อพันธุกรรมเป็นปลาเรืองแสง เช่น ปลาเสือเยอรมัน (Tiger Barb) ปลาม้าลาย (Danio) ปลากลุ่มเตตร้า (Longfin Tetra & Tetra) ปลาเทวดา (Angelfish) ปลากาแดง (Redfin Shark) 

ส่วนที่น่ากังวลคือ ปลากัด (Betta) เป็นสัตว์น้ำชนิดใหม่ล่าสุดที่นำมาดัดแปลงพันธุกรรมเรืองแสงกลายเป็น “ปลากัดเรืองแสง” และเริ่มออกขายในตลาดปลาสวยงามกว่า 1 ปี เป็นสิ่งที่อันตรายต่อวงการปลากัดไทยอย่างมาก เพราะปลากัดของไทยโด่งดังไกลทั่วโลก เนื่องจากมีลักษณะ ลวดลาย สีสันที่สวยงาม จนมีลูกค้าจากทั่วโลกที่ต้องการปลากัดของไทย มีตลาดค้าขายปลากัดไทยทั้งออนไลน์และออฟไลน์ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจมากกว่า 200 ล้านบาท/ปี ถือเป็นปลาสวยงามที่สร้างมูลค่าการส่งออกหลักให้การค้าสัตว์น้ำสวยงามของประเทศไทย สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร และก่อให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก ซึ่งทราบกันว่า ปลากัด เป็นสัตว์น้ำประจำชาติอีกด้วย 


กรมประมงจำเป็นต้องยับยั้ง เนื่องจากในอนาคตอาจเกิดการปนเปื้อนทางพันธุกรรมกับชนิดพันธุ์ที่มีในท้องถิ่นและก่อให้เกิดการกีดกันทางการค้า ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่ออุตสาหกรรมปลาสวยงามของไทยอย่างแน่นอน 

ทั้งนี้ ผู้เพาะเลี้ยงยังมีความผิดทางกฎหมายตามมาตรา 65 และมาตรา 144 แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติมและประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดชนิดพันธุ์สัตว์น้ำที่ห้ามเพาะเลี้ยงในราชอาณาจักร พ.ศ. 2564 และบัญชีแนบท้ายประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดชนิดพันธุ์สัตว์น้ำที่ห้ามเพาะเลี้ยงในราชอาณาจักร พ.ศ. 2564 เพื่อป้องกันอันตรายมิให้เกิดแก่สัตว์น้ำและระบบนิเวศ มีโทษทั้งจำคุกไม่เกิน 1-2 ปี ปรับไม่เกิน 1-2 ล้านบาท

ขอย้ำแก่เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยง ผู้ประกอบการปลาสวยงาม และกลุ่มลูกค้าปลาสวยงาม ว่าปลาสวยงามมีมากมายหลากหลายสายพันธุ์ ที่สำคัญเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลากัดมีความสามารถเป็นอันดับต้นๆ ของโลกอยู่แล้ว เช่น ที่ผ่านมามีการพัฒนาปลากัดเป็นลายธงชาติไทย หากพัฒนาให้เป็นลายธงชาติประเทศต่างๆ หรือจะผลิตลวดลายสีสันใหม่ๆ ที่สวยงาม แปลกตา สามารถสร้างมูลค่าในตัวเองได้อยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการตัดต่อพันธุกรรม ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายในอนาคต ดังนั้น หากเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยง ผู้ประกอบการปลาสวยงาม และกลุ่มลูกค้าท่านใดที่เพาะเลี้ยงและมีครอบครองอยู่ ขอให้ส่งให้กรมประมงได้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน-30 พฤศจิกายน 2565 ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ กรมประมง ทั่วประเทศ หรือสำนักงานประมงจังหวัด 77 จังหวัด ทั้งนี้ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด กรมประมง โทร. 0 2562 0426 หรือ Website กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด : https://www4.fisheries.go.th/local/index.php/main/site/ifdd หรือ Facebook Page : https://www.facebook.com/aquaticplantandornamentalfish.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ทีมกู้ภัยเดินหน้าค้นหาผู้สูญหายแผ่นดินไหวเมียนมา

ทีมกู้ภัยยังเดินหน้าค้นหาผู้สูญหายจากเหตุแผ่นดินไหวในเมียนมา แม้จะผ่านมา 4 วันแล้ว จนกลิ่นศพเริ่มคละคลุ้งไปทั่ว ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตใกล้แตะหลัก 3,000 ราย

ตึกถล่มพบเสียชีวิตเพิ่ม

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่าง

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ในพื้นที่โซน B และโซน C มีซากอาคารถล่มทับร่างอยู่ ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่างและค้นหาผู้สูญหายใต้ซากอาคารต่อเนื่อง

ข่าวแนะนำ

เจาะโซน C และ D สำเร็จ อีก 1 เมตรถึงลิฟต์-บันไดหนีไฟ

กู้ภัย เผยเจาะโซน C และ D ได้สำเร็จ อีก 1 เมตรถึงลิฟต์และบันไดหนีไฟ เชื่อมีผู้สูญหายติดอยู่โซนนี้จำนวนมาก หลังพบเสียงขอความช่วยเหลือจากโซน B ตั้งแต่เมื่อคืนที่ผ่านมา

ลุ้นช่วยผู้รอดชีวิต หลังพบสัญญาณชีพ

ปฏิบัติการค้นหาผู้สูญหายจากอาคาร สตง.ถล่ม ยังเดินหน้าต่อเนื่อง ขณะนี้ในพื้นที่เสียงเครื่องจักรหนักหยุดลง เป็นสัญญาณว่าทีมกู้ภัย ทั้งเจ้าหน้าที่ค้นหาและสุนัข K9 กำลังเข้าไปเดินสำรวจหลายจุด ซึ่งปฏิบัติการตลอดทั้งวันนี้เน้นจุดโซน B หลังจากช่วงคืนที่ผ่านมา (2 เม.ย.) มีสัญญาณตอบกลับจากผู้ที่คาดว่าจะรอดชีวิต

สภาฯ ถก 11 ญัตติ หาทางรับมือแผ่นดินไหว-ภัยพิบัติ

สภาฯ ถก 11 ญัตติ หาทางรับมือแผ่นดินไหว-ภัยพิบัติ ชง “ครม.” ผุดมาตรการตรวจสอบ “บ.รับจ้าง” ขึ้นบัญชีดำผู้รับเหมา หวังป้องกันเหตุซ้ำรอยตึก สตง. ถล่ม

“วันนอร์” ของขึ้น! ขอ ตร.สภาเข้าชาร์จ หลังเถียงกันวุ่นปมญัตติใครขึ้นก่อน

สภาเดือด “วันนอร์” ของขึ้น! ลุกยืน ขอ ตร.สภาเข้าชาร์จ หลังเถียงกันวุ่น เอาญัตติใครขึ้นก่อน เหตุ “อนุสรณ์” เสนอญัตติเลื่อนระเบียบวาระเอ็นเตอร์เทนเมนต์ฯ ไปพิจารณาครั้งถัดไป ซ้อน “เท้ง” เรื่องแผ่นดินไหว “ไอติม” ก็เดือด ทุบโต๊ะ แซะรัฐบาล ไม่กี่ชั่วโมงก็รอไม่ได้ จะเอา “กาสิโน” เข้าทันทีเลย ด้าน “ชัยชนะ” นั่งไม่ติดขอใช้สิทธิพาดพิง ยันพรรคร่วมรัฐบาลไม่ได้เห็นด้วยกับฝ่ายค้าน ทำ “ปกรณ์วุฒิ” โต้กลับ เบรกอย่าประท้วงมั่วซั่ว ขณะ “โรม” ลุกโวยปิดไมค์แต่ฝ่ายค้าน สุดท้ายแพ้ ญัตติขอเลื่อนระเบียบวาระถูกพิจารณาก่อน