fbpx

สทนช.ยืนยันแผนน้ำภาคใต้มุ่งดูแลประชาชน

กรุงเทพฯ 26 ม.ค.-สทนช.ระบุ บริหารจัดการน้ำภาคใต้เพื่อแก้ไขความเดือดร้อนประชาชน ไม่ใช่เพื่อโครงการขนาดใหญ่ พร้อมชูแนวทางแก้ไขปัญหาเชิงพื้นที่อย่างเป็นระบบ (Area Based) 


นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวว่า  ตามที่“กลุ่มเครือข่ายปกป้อง ดิน-น้ำ-ป่า บนผืนแผ่นดินใต้” เสนอให้ยุติโครงการบริหารจัดการน้ำขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคใต้ โดยมีความเข้าใจว่าโครงการที่เกิดขึ้นนั้น รัฐบาลเร่งดำเนินการเพื่อรองรับแหล่งอุตสาหกรรมใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตตามที่ปรากฏเป็นข่าวนั้น  สทนช. ขอเรียนว่า รัฐบาลมีนโยบายให้จัดทำแผนแม่บทเพื่อวางรากฐานการบริหารจัดการน้ำให้เป็นระบบ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ไขความเดือดร้อนของประชาชน ไม่ได้เน้นการผลักดันโครงการขนาดใหญ่ หรือการก่อสร้างเท่านั้น แต่ใช้การดำเนินการแบบคู่ขนาน โดยเริ่มจากการวางแผนยุทธศาสตร์น้ำตั้งแต่ปี 2558 เพื่อหาความต้องการน้ำที่แท้จริงของประเทศไทย หาแนวทางการดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาเรื่องน้ำทั้งน้ำแล้ง น้ำท่วม คุณภาพน้ำ มีรูปแบบการพัฒนาที่หลากหลาย เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และปัญหาน้ำ โดยไม่ทิ้งการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กและขนาดกลาง ตลอดจนการฟื้นฟูดูแลป่าต้นน้ำ 

เป้าหมายเร่งด่วน คือ การจัดทำระบบน้ำประปาหมู่บ้านให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้านทั่วประเทศ  และในช่วงฤดูแล้งปี 2558/2559 รัฐบาลใช้แนวทางเร่งด่วน จัดทำแก้มลิงเพื่อเก็บกักน้ำก่อนไหลออกนอกประเทศ ควบคู่กับการน้ำโครงการสำคัญที่ยังติดขัดเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อมมาศึกษาให้ชัดเจน พร้อมเสนอแผนป้องกันแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้งน้อมนำศาสตร์พระราชาและโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมาดำเนินการ หลังจากนั้น จึงได้จัดตั้งสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ในปี 2560 เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลงานนโยบายด้านน้ำของทุกหน่วยงานให้ดำเนินการในทิศทางเดียวกัน ลดความซ้ำซ้อนของแผนงานงบประมาณ และตรงกับความต้องการของพื้นที่ เพื่อแก้ไขปัญหาด้านน้ำแบบบูรณาการของประเทศตามนโยบายและเป้าหมายของรัฐบาล  


สทนช. จึงได้กำหนดพื้นที่เป้าหมายการการแก้ไขปัญหาเชิงพื้นที่อย่างเป็นระบบ (Area Based) โดยวางแผนการดำเนินการที่ใช้ทั้งมาตรการที่ใช้สิ่งก่อสร้างและไม่ใช้สิ่งก่อสร้างร่วมกัน รวม 66 พื้นที่ โดยพิจารณาจากพื้นที่ประสบปัญหาด้านน้ำซ้ำซากทั้งท่วม แล้ง และคุณภาพน้ำ ตลอดจนจัดหาน้ำเพื่อส่งเสริมพื้นที่พิเศษ เช่น การท่องเที่ยว และเขตเศรษฐกิจพิเศษ สำหรับในพื้นที่ภาคใต้ มีพื้นที่ที่ต้องแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ (Area Based) 15 แห่ง รวม 2.393 ล้านไร่ ใน 11 จังหวัด เป็นพื้นที่ประสบปัญหาอุทกภัย 11 แห่ง ประสบปัญหาทั้งอุทกภัย-ภัยแล้ง 1 แห่ง และพื้นที่พิเศษสนับสนุนการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจ 3 แห่ง เมื่อได้พื้นที่เป้าหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องทำแผนปฏิบัติการหรือโครงการแบบบูรณาการ เพื่อแก้ปัญหาในแต่ Area-based ทั้งนี้ แผนปฏิบัติการดังกล่าว ต้องนำความเห็นของกรรมการลุ่มน้ำเสนอประกอบการพิจารณา เสนอตามขั้นตอนของการพิจารณาเห็นชอบแผนงานโครงการและงบประมาณต่อไป

เลขาธิการ สทนช. กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของการดำเนินงานเพื่อหาจุดร่วมของการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ปัจจุบันประเทศไทยมีพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 ซึ่งเป็นกฎหมายน้ำฉบับแรก ระบุให้มีกรรมการลุ่มน้ำในทุกลุ่มน้ำทำหน้าที่เป็นตัวแทนประชาชนในพื้นที่ มีสิทธิและหน้าที่ในการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำ ดังนั้นโครงการสำคัญ แผนปฏิบัติการระดับลุ่มน้ำ แผนป้องกันภัยแล้ง แผนป้องกันน้ำ ทุกลุ่มน้ำต้องจัดทำ โดยการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการลุ่มน้ำ เพื่อสร้างความมั่นใจว่า โครงการจะก่อให้เกิดประโยชน์กับคนในพื้นที่อย่างแท้จริง และที่สำคัญ คือ การดูแลผู้ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาโครงการ ต้องทำให้ผู้ได้รับผลกระทบสามารถดำรงชีวิตได้โดยไม่ด้อยไปกว่าเดิม การจัดทำหมู่บ้านนิคมสำหรับผู้สูญเสียที่ดินทำกิน ควบคู่กับการส่งเสริมอาชีพ เป็นต้น ดังนั้นหน่วยงานต่าง ๆ ต้องดำเนินการขับเคลื่อนโครงการตามที่กฎหมายและระเบียบกำหนดไว้ทุกขั้นตอน-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พบศพโบลท์หญิงวัย 47 ในป่าหญ้าริมทาง คาดถูกฆ่าชิงรถ

โบลท์หญิงวัย 47 ปี หายตัวจากบ้านพักย่านดินแดง 9 วัน ล่าสุดพบเป็นศพในป่าหญ้าริมถนนสายนครชัยศรี-ห้วยพลู อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ส่วนรถยนต์โผล่ที่ จ.ภูเก็ต คาดถูกคนร้ายฆ่าชิงรถ

pagers on display

ทำไมยังมีการใช้ “เพจเจอร์” ในยุคสมาร์ทโฟน

ลอนดอน 19 ก.ย.- เพจเจอร์ หรือวิทยุติดตามตัวเป็นอุปกรณ์การสื่อสารยอดนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ต้องหลีกทางให้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว แต่ยังคงมีการใช้งานในบางกลุ่ม รวมถึงกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่เพจเจอร์ระเบิดพร้อมกันหลายพันเครื่องทั่วเลบานอนเมื่อวันที่ 17 กันยายน แหล่งข่าวเผยว่า ฮิซบอลเลาะห์ใช้เพจเจอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางสื่อสารเทคโนโลยีต่ำ ส่งข้อความผ่านสัญญาณวิทยุ จึงตรวจจับสัญญาณและตำแหน่งได้ยากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ส่งสัญญาณไปยังเสาส่งที่อยู่ใกล้ที่สุด อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีระบุพิกัดบนพื้นโลกอย่างจีพีเอสด้วย อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอ (FBI) ของสหรัฐเผยว่า ในอดีตแก๊งอาชญากรรมโดยเฉพาะแก๊งค้ายาเสพติดในสหรัฐเคยนิยมใช้เพจเจอร์ แต่ขณะนี้หันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินราคาถูกที่สามารถเปลี่ยนเครื่องและหมายเลขได้อย่างง่ายดาย ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามแกะรอยได้ยาก อย่างไรก็ดี  ศัลยแพทย์โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรเผยว่า เพจเจอร์เป็นอุปกรณ์ที่แพทย์และพยาบาลสังกัดสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติหรือเอ็นเอชเอส (NHS) ต้องพกติดตัวอยู่เสมอ เพื่อรับแจ้งข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นช่องทางที่ถูกที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแจ้งข่าวทางเดียวกับคนจำนวนมาก เพจเจอร์หลายรุ่นสามารถส่งเสียงไซเรนและมีข้อความเสียงแจ้งให้ทีมแพทย์ไปรวมตัวที่ห้องฉุกเฉินได้ทันที ข้อมูลล่าสุดในปี 2562 ระบุว่า เอ็นเอชเอสใช้เพจเจอร์ประมาณ 130,000 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 10 ของที่ใช้ทั่วโลก คอกนิทีฟมาร์เก็ตรีเสิร์ช  (Cognitive Market Research) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยคาดการณ์ว่า ตลาดเพจเจอร์จะเติบโตร้อยละ 5.9 ต่อปี จากปี 2566 ถึงปี 2573 […]

ข่าวแนะนำ

พายุโซนร้อนซูลิก

ฤทธิ์พายุโซนร้อนซูลิก ทำฝนเริ่มตกหนักในพื้นที่นครพนม

ฤทธิ์พายุโซนร้อน “ซูลิก” ทำฝนเริ่มตกหนักในพื้นที่ จ.นครพนม เจ้าหน้าที่ต้องเร่งเดินเครื่องสูบน้ำลงน้ำโขง

อุตุฯ เตือนพายุ “ซูลิก” ฉบับที่ 12 ฝนถล่มหลายจังหวัด

กรมอุตุฯ ออกประกาศเตือนพายุ “ซูลิก” ฉบับที่ 12 ภาคเหนือ อีสาน กลาง รวมทั้งกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนักถึงหนักมากกับมีลมแรง

ชายแดนแม่สายยังเละจมโคลน จับตาพายุลูกใหม่

แม้จะผ่านน้ำท่วมใหญ่ในรอบร้อยปีมาหลายวันแล้ว แต่ตอนนี้ชายแดนแม่สายยังเต็มไปด้วยความเสียหายและดินโคลนจำนวนมาก ชาวบ้านหลายคนยังไม่สมารถกลับเข้าบ้านได้

นายกฯ ตรวจความพร้อมการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

นายกฯ ตรวจความพร้อมการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค การซ้อมเป็นรูปขบวนเรือในแม่น้ำเจ้าพระยา ครั้งที่ 7 ณ โรงเรือพระราชพิธี ท่าวาสุกรี และวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ขณะที่ “เจ้าอาวาสวัดอรุณฯ” ให้กำลังใจทำหน้าที่ได้เต็มที่-ประสบความสำเร็จ