กพอ.มั่นใจเลือกตั้งไม่กระทบแผนลงทุน

ทำเนียบฯ 22 ม.ค. – กพอ.มั่นใจกฎหมายเลือกตั้งไม่กระทบแผนลงทุน เห็นชอบผังเมืองอีอีซี หนุนเขตดิจิทัลปาร์คดึงการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย 


นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.)  เปิดเผยว่า การประชุม กพอ. มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน รับทราบความก้าวหน้า 5 โครงการลงทุนสำคัญในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เพราะทุกโครงการยังต้องเดินหน้าไปตามกรอบเดิม การเลือกตั้งจึงไม่กระทบต่อตารางเวลาการลงทุนให้ล่าช้าออกไป 

สำหรับโครงการลงทุนสำคัญ ประกอบด้วย 1.โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน อยู่ระหว่างการเจรจาสัญญากับผู้ชนะการประมูลของกลุ่มซีพี ทั้งเรื่องผลตอบแทนร้อยละ 6 และการส่งมอบพื้นที่ เพื่อเข้าทำการก่อสร้าง คาดว่าจะเสร็จภายในเดือนมกราคมนี้ จากนั้นเสนอ กพอ.อนุมัติผลการคัดเลือกภายในเดือนกุมภาพันธ์ก่อนนำเสนอ ครม.พิจารณา 2.โครงการสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก อยู่ระหว่างการตอบคำถามผู้ซื้อเอกสารการคัดเลือก กำหนดให้เอกชนยื่นข้อเสนอวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 25 62 คาดว่าจะได้ผู้ผ่านการประเมินภายในกลางเดือนเมษายน 2562 


3.โครงการท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 หลังเปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอวันที่ 14 มกราคม 2562 แต่มีผู้สนใจยื่นข้อเสนอเพียง 1 ราย และไม่ผ่านการประเมินคุณสมบัติ จึงต้องแก้ไขร่างทีโออาร์ เพื่อให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนอีกครั้ง นับเป็นบทเรียนครั้งสำคัญที่ต้องปรับปรุง โดยนายกรัฐมนตรีกำชับให้การประมูลต้องเป็น International Bidding มากขึ้น คาดว่าประกาศเชิญชวนคัดเลือกเอกชนวันที่ 24 มกราคม 2562 ขายเอกสารคัดเลือกเอกชนฉบับแก้ไข  28 มกราคม – 1 กุมภาพันธ์ 2562 โดยให้เอกชนยื่นข้อเสนอใหม่วันที่ 29 มีนาคม 2562 คาดว่าจะได้ผู้ผ่านการประเมินภายในเดือนเมษายน 2562

4.โครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด เฟส 3 เปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2562 คาดว่าจะประกาศผู้ผ่านการประเมินภายในเดือนมีนาคม 2562  และ 5.โครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา อยู่ระหว่างให้เอกชนส่งคำถามผ่านอีเมลถึงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2562 และเปิดให้ตรวจสอบข้อมูลโครงการถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 หลังจากนั้นจะเปิดซองข้อเสนอจากบริษัท Airbus S.A.S. ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2562 และประเมินข้อเสนอเสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2562  โดยวันที่ 30 มกราคมนี้กลุ่มนักธุรกิจจากฝรั่งเศส (MEDDEF) เตรียมเดินทางหารือนายกรัฐมนตรี โดยมีแอร์บัสมาหารือเรื่องศูนย์ซ่อมการบิน จึงมีความชัดเจนมากขึ้น เมื่อแกนนำหลักมาลงทุนจะทำให้อุตสาหกรรมต่อเนื่องเข้าลงทุนมากขึ้น 

นอกจากนี้ ที่ประชุมบอร์ด กพอ.ยังเห็นชอบร่างแผนผังพัฒนาอีอีซีบนพื้นที่กว่า 8.2 ล้านไร่  เพื่อจัดทำแผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดินและแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค ทั้งด้าน แผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดิน มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดพื้นที่พัฒนาเมืองอุตสาหกรรม เกษตรกรรม ให้เพียงพอต่อความต้องการ กำหนดพื้นที่สงวนและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ พื้นที่สิ่งแวดล้อมให้เกิดความสมดุล นำไปสู่การพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และนโยบาย Thailand 4.0 ได้อย่างยั่งยืน  ทำให้ประชาชนทราบจำนวนและตำแหน่งของระบบสาธารณูปโภค ระบบเทคโนโลยีและสื่อสาร ระบบควบคุมและขจัดมลภาวะเดิมที่ต้องปรับปรุง และระบบใหม่ที่ต้องพัฒนา การเข้าถึงบริการสาธารณะ ในด้านการประปา ไฟฟ้า พลังงานทางเลือก รองรับระบบเมืองใหม่ การตั้งถิ่นฐานและภูมิสังคม เพื่อแสดงบริเวณที่ตั้งถิ่นฐาน ชุมชนดั้งเดิม ย่านชุมชนเก่า ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะพิเศษ การอนุรักษ์ชุมชนที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ คาดว่าผังเมืองใหม่ประกาศได้ก่อน 9 สิงหาคม 2562 


สำหรับการลงทุนในพื้นที่อีอีซี ปี 2561 มีมูลค่าการขอรับการส่งเสริมการลงทุนมากกว่า 670,000 ล้านบาท มีการขอรับการส่งเสริมการลงทุนในจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง 422 โครงการ เงินลงทุนรวม 675,310 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 75 ของการลงทุนทั้งหมดในประเทศ แบ่งเป็นขอรับการส่งเสริม 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย มีมูลค่า 642,593 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 95 ของมูลค่าขอรับการส่งเสริมในอีอีซี ทั้งหมด จากเดิมขอรับส่งเสริมร้อยละ 84 ยอมรับว่ามูลค่าการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (New S-curve) มีเพียง 7,789 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1 ของมูลค่าการลงทุนทั้งหมด จึงต้องส่งเสริมอุตสาหกรรมใหม่ให้เพิ่มมากขึ้น เพราะส่วนใหญ่ยังเน้นลงทุนใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายเดิม (First S-curve) มีมูลค่าถึง 634,795 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 94 ของมูลค่าการลงทุนทั้งหมด

นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า ที่ประชุมยังรับทราบการพัฒนาโครงการเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (EECd) เพื่อเป็นศูนย์กลางการลงทุนและการพัฒนาด้านนวัตกรรมดิจิทัล ซึ่งมีระยะเวลาการร่วมทุน 50 ปี คาดว่าจะเปิดให้บริการปี 2564  โดยมีเงินลงทุนรวม 4,342 ล้านบาท เปิดให้ภาคเอกชนเป็นผู้ลงทุนทั้งหมด ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ 168,000 ล้านบาท (NPV) และผลประโยชน์ต่อประเทศ โดยมีผลประโยชน์ทางการเงินที่ภาครัฐจะได้รับ มากกว่า 3,402 ล้านบาท (PV) หวังให้เป็นศูนย์กลางการลงทุน และพัฒนาด้านนวัตกรรมดิจิทัลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีธุรกิจมากกว่า 1,580 ราย สร้างงานระหว่างก่อสร้าง และจ้างงานต่อเนื่องจากอุตสาหกรรม ภาคบริการ โดยเฉพาะในกลุ่มดิจิทัลเพิ่มขีดความสามารถอุตสาหกรรมเป้าหมายด้านดิจิทัล (New S-Curve Digital Industry) ยกระดับความเป็นอยู่ผ่านการพัฒนาเมืองดิจิทัลประชากรกว่า 33,700 คน ภายใต้แนวคิด Smart City โดยมีกลุ่มนักลงทุนทั้งจีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น ยุโรป ให้ความสนใจเข้ามาร่วมเสนอการลงทุน .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มุกใหม่มิจฉาชีพ

มุกใหม่มิจฉาชีพ! ป่วนโทรแจ้ง ตร. เกิดเหตุร้ายที่บ้านเหยื่อ

อินฟลูฯ สาว สายทำอาหาร ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นตำรวจโทรหา แต่เธอไม่เชื่อ โดนท้าอีก 10 นาทีเจอกัน ปรากฏว่า มีตำรวจจาก 2 โรงพักบุกมาที่บ้านจริง

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา บอกสนามใหญ่ ไม่เข้าไปก้าวก่ายสนามท้องถิ่น ซ้ายก็เพื่อน ขวาก็พวก

ครม.เคาะแจกเงินหมื่นเฟส 2 ผู้สูงอายุ 60 ปี

“จุลพันธ์” เผย ครม.เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการทันก่อน 29 ม.ค.68 รวม 3 มาตรการ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ 1.4-1.5 แสนล้านบาท

ข่าวแนะนำ

มติกฤษฎีกา “กิตติรัตน์” คุณสมบัติไม่ผ่านนั่งประธานบอร์ด ธปท.

คณะกรรมการกฤษฎีกา 3 คณะ มีมติไม่ผ่านคุณสมบัติ “กิตติรัตน์ ณ ระนอง” เป็นประธานบอร์ดธนาคารแห่งประเทศไทย

เครื่องบินโดยสาร อาเซอร์ไบจาน แอร์ไลน์ ตกในคาซัคสถาน

เครื่องบินโดยสารเอ็มบราเออร์ ของสายการบินอาเซอร์ไบจาน แอร์ไลน์ ที่บินจากอาเซอร์ไบจาน ไปยังประเทศรัสเซีย เกิดอุบัติเหตุตกที่บริเวณใกล้กับเมืองอัคเทา ในคาซัคสถาน โดยมีผู้โดยสาร 62 คน และลูกเรือ 5 คน บนเครื่อง เจ้าหน้าที่คาซัคสถานกล่าวว่า มีผู้รอดชีวิต 28 ราย