‘นพ.ธีระเกียรติ’ พอใจผลงาน ศธ.4 ปี

ศธ.17ม.ค.-รมว.ศึกษาฯ พอใจภาพรวมผลการดำเนินงานของกระทรวงฯ ในรอบ4 ปี ให้คะแนนเกินครึ่งจนถึงเกือบเต็มในบางโครงการ ระบุหากหลังเลือกตั้งใครมาบริหาร อยากให้สานต่อ พัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ด้านปลัดฯ เผยการดำเนินงาน สพฐ.-สกอ.-สอศ.-กศน.-สกศ.ดีขึ้นทั้ง 5 องค์กรหลัก ยึด 6 ยุทธศาสตร์ชาติเดินหน้าต่อ


นพ.ธีระเกียรติ  เจริญเศรษฐศิลป์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  พร้อมด้วยนายการุณ สกุลประดิษฐ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการและผู้บริหาร 5 องค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เเถลงผลงานการดำเนินงานของกระทรวงศึกษาธิการในรอบ 4 ปี ว่า  ภาพรวมของการดำเนินงานของกระทรวงส่วนตัวพอใจ  ที่ผ่านมาย้ำมาเสมอว่าปัญหาหลายเรื่องมีมานาน และสะสมการเริ่มต้นมองด้วยแง่ลบและพยายามเปลี่ยนแบบถอนรากถอนโคน ไม่สามารถทำได้กับการปฏิรูปการศึกษา แต่ควรขยับทีละนิดเป็นขั้นเป็นตอน ซึ่งตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีทั้ง 6 ด้าน ไม่ว่ารัฐบาลใดมาดูจะเห็นได้ว่ากำหนดไว้ครอบคลุม ยังลดความเหลื่อมล้ำ การปฏิรูประบบราชการ ซึ่งมองให้ดีจะเห็นได้ว่าหน่วยงานทำครบถ้วนและทุกคนก็ตั้งใจทำงาน 


รมว.ศึกษาฯ กล่าวต่อไปว่า ถ้าจะให้คะแนนผลการทำงานภาพรวมตนให้เกิน 5 คะแนน แต่บางโครงการให้ 8-9 คะแนน เช่น โครงการพัฒนาครูทั้งระบบ หรือคูปองครู , การส่งเสริมการศึกษาเพื่อการมีงานทำ หรือ อีทูอี เป็นต้น อีกเรื่องที่พอใจมากคือ ธรรมาภิบาล ซึ่งตนมองว่ายุคนี้สังคมช่วยเราได้เยอะ เป็นยุคที่การโกงได้รับการสะสาง และป้องปรามมากที่สุดยุคหนึ่ง ทุกอย่างตรงไปตรงมาตนก็พอใจ ซึ่งไม่ใช่ผลงานชิ้นโบว์แดงแต่อะไรก็ตามที่สะท้อนมาในสื่อมาก แสดงว่าอยู่ในจิตใจประชาชน กดดัน แต่เรื่องอื่นๆ คนอาจจะไม่รู้สึกโดนเท่าเรื่องโกง เพราะไม่อึดอัดใจมาก เพราะเดี๋ยวก็พัฒนาไป แต่เรื่องโกงคนรู้สึกว่าสั่งสมมานานถึงเวลาต้องแก้ไข 


อย่างไรก็ตาม มีหลายโครงการที่เกี่ยวกับครูที่รัฐบาลชุดนี้ได้ดำเนินการไว้ คือการดูแลความเป็นอยู่ของครู การซ่อมแซมบ้านพักครู การแก้ปัญหาหนี้สินครู การเปลี่ยนวิธีการเลื่อนวิทยฐานะ เปิดโอกาสให้ครูได้พัฒนาตนเองผ่านคูปองครู เป็นต้น ตรงนี้ยังไม่ค่อยเห็นว่ามีพรรคการเมืองใดกำหนดเป็นนโยบาย แต่คาดว่าจะทยอยประกาศออกมาหลังจากนี้ ซึ่งก็อยากให้ใครก็ตามที่เข้ามาสานต่อและทำให้ดียิ่งขึ้นไปอีก

ด้านนายการุณ สกุลประดิษฐ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า การดำเนินงานของ ศธ.ยึดตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 6 ด้าน อาทิ ความมั่นคง ตั้งศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 7,424 ศูนย์ , แก้ ปัญหายาเสพติด สร้างภูมิคุ้มกันในนักเรียนนักศึกษา 3.5 ล้านคน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 87 ของกลุ่มเป้าหมาย เเละช่วยบำบัดเด็กได้เกือบทั้งหมด , โครงการโรงเรียาคุณธรรม ขยายผลทุกโรงเรียนครบเเล้วในปี 2561 , การบริหารจัดการเงินอุดหนุนโรงเรียนเอกชนให้มีประสิทธิภาพ ตรวจสอบเด็กซ้ำซ้อนได้เกือบ 4,000 คนเเละเรียกเงินคืนในรอบ 4 ปีได้ถึง 116 ล้านบาท 

,ช่วยเหลือเด็กอายุ 3-18 ปีที่อยู่นอกระบบกว่า 513,819 คน ให้กลับเข้าเรียนได้เเล้ว 49,434 คน ส่วนที่เหลือพร้อมกลับเข้าสู่ระบบ , พัฒนาครูเเละบุคลากรทางการศึกษา จัดตั้งสถาบันคุรุพัฒนา คัดเลือกหลักสูตรพัฒนาครู 1,207 หลักสูตร ครูได้รับการอบรมเเล้วทุกคน , จัดหาอัตรากำลังทดเเทนครูเกษียณได้กว่า 50,000 อัตราช่วยเเก้ปัญหาขาดเเคลนครู ส่วนการศึกษาใน  กศน. มีผู้เรียน กว่า 1 ล้านคน ซึ่งจะสนับสนุนการเรียนตลอดชีวิต เป็นต้น ซึ่งจากผลการดำเนินงานทั้งหมดจะนำไปสู่การพัฒนาในปีนี้เเละปีต่อๆไปให้สำเร็จขึ้นเรื่อยๆ

ขณะที่นายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีความคืบหน้าในการทำงานหลายเรื่อง ตั้งเเต่การจัด การเรียนการสอน โรงเรียนมีตัวชี้วัดในการเรียนการสอนนักเรียน เเต่อดีตบางโรงเรียนบางเเห่งยังมัวสอนเนื้อหาที่มุ่งเเต่การเรียนต่อ ปัจจุบันจึงเสริมเรื่องทักษะ มีชีวิต มีตัวตนเพื่อตอบโจทย์ประเทศ เด็กเรียนเพื่อการโจทย์ของบริบทสังคมไทย มีความรู้ด้านภัยคุกคามทางไซเบอร์, โครงการพัฒนาครูรูปแบบครบวงจร เน้น PLC พัฒนาศักยภาพที่เริ่มต้นจากตัวเราเอง จัดอบรมครูภาษาอังกฤษผ่านค่าย Boot camp , เรื่องครูไม่ครบชั้น ไม่ครบวิชาเอก นำระบบการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม DLTV มาใช้ มี 15,369 แห่งได้เรียนผ่านโทรทัศน์ ,

จัดโครงการสานฝันโรงเรียนชายแดนใต้ ลดความเหลื่อมล้ำหลังพบประชาชนสามจังหวัดชายเเดนใต้จำนวนไม่น้อยมีรายได้ไม่ถึง 30,000 บาทต่อปี ,โครงการเกิดขึ้นใหม่1ตำบล 1โรงเรียนคุณภาพ โดยนำโครงการการเรียนการสอนเด่นๆลงไปใช้ในเเต่ละโรงเรียน , โครงการ E-library รวบรวมหนังสือ เเละสื่อการเรียนต่างๆกว่า 50,000 ไฟล์ในอินเตอร์เน็ต  ซึ่งสามารถอ่านที่ไหนเวลาใดก็ได้ /การจัดตั้งโรงเรียนโคเซ็น ซึ่งเป็นโรงเรียนนวัตกรรมทางสังคมเเห่งเเรกของไทย

ด้านนายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เป็นหน่วยสำคัญในการพัฒนาประเทศไปสู่ไทยแลนด์4.0 มีศูนย์ฝึกทักษะอาชีวะทั่วประเทศ จัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมอาชีพในจังหวัดชายแดนใต้ โดยมีผู้เรียนสายอาชีพเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 11 เป็นร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับการเรียนสายสามัญ ,ลดปัญหาการทะเลาะวิวาท เพราะเสริมกิจกรรมสร้างสรรค์เเละปลูกฝังเรื่องคุณธรรม อย่างปี 2558 มีการทะเลาะวิวาทระหว่างสถาบันเกือบ 200 ครั้ง บาดเจ็บกว่า 100 คน เเละเสียชีวิต 13 คนเเต่ช่วงปี 61 เกิดเหตุวิวาทเเค่ 1 ครั้งเเละปัจจุบันก็ไม่มีเหตุเกิดขึ้นเลย  , ขับเคลื่อนเเละพัฒนากำลังคนในการจัดตั้ง EEC, ยกระดับมาตรฐานอาชีวะสู่สากล ,พัฒนาครูให้มีศักยภาพเเละทักษะภาษาให้ทัดเทียมกับนานาชาติ ขณะที่ภาพรวมคนเรียนอาชีวะเพิ่มขึ้นจากปี 2558 มีผู้เรียนร้อยละ 38 ปัจจุบันร้อยละ 40 เเละตั้งเป้าปี 62 มีผู้เรียนร้อยละ 45 , มีการยุบรวมอาชีวะเอกชนเข้ากับรัฐ เพื่อประสิทธิภาพการทำงาน เเละที่สำคัญช่วง 4 ปีที่ผ่านมาได้รับความร่วมมือจากภาคผู้ประกอบการได้เป็นอย่างดี

ขณะที่นางอรสา ภาววิมล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ดำเนินโครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ล่าสุด ปฏิรูปการศึกษาทุกด้าน ทำงานร่วมกับภาคผู้ประกอบการ ทำงานควบคู่กับเรียน คาดตัวเลขปี 2563 มีผู้จบการศึกษาจากโครงการนี้ไม่น้อยกว่า 6,000 คน , พัฒนาทักษะ ของผู้ที่ทำงานเเต่ต้องการทักษะอื่นเพิ่มเติมได้ 17,000 คน , โครงการไซเบอร์ยูนิเวอร์ซิตี้ มีผู้เรียน 65,000 คน สะสมหน่วยกิตและเรียนวุฒิปริญญาได้ ,นำสถาบัน อุดมศึกษาต่างชาติเข้ามาในไทย , มีวิทยาลัยพี่เลี้ยง ดูแลโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการมากกว่า 2,000 แห่ง , จัดสรรทุนให้เด็กได้รับทุนการศึกษาในพื้นที่ชายแดนใต้ มีผู้สำเร็จการศึกษาเเล้วหลายพันคน เเละเดินหน้าสนับสนุนงานวิจัย โดยสกอ.ร่วมมหาวิทยาลัย 158 แห่ง ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศชาติให้ได้

นายสุภัทร จำปาทอง เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวว่า ในภาพรวมระบบการศึกษาของไทยมีผู้เรียนตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา อุดมศึกษา และการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย รวมประมาณ 13 ล้านคนเศษ ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ในฐานะหน่วยงานที่ออกนโยบายและสร้างมาตรฐานการทำงานทั้งการปรับเปลี่ยนระบบการประเมินของโรงเรียน ลดการกรอกเอกสาร มีการผลักดันมีพ.ร.บ.การพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ..ที่จะมีส่วนสำคัญในการกำกับมาตรฐานการศึกษา ประกันคุณภาพให้กับผู้เรียนและผู้ปกครอง ขณะเดียวกัน คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา (กอปศ.)ที่เข้ามาวางแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของประเทศ มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เพื่อช่วยสนับสนุนดูแลส่งเสริมให้ผู้ที่ด้อยโอกาสได้รับโอกาสในการศึกษา อย่างไรก็ตาม อาจจะตั้ง “ธนาคารหน่วยกิต” เปิดโอกาสให้ประชาชนทุกวัยที่ต้องการพัฒนาตนเอง อยากเข้าสู่ระบบการศึกษาเรียนและสะสมหน่วยกิตได้ เพราะต่อไปนักเรียน นิสิต นักศึกษา ไม่จำเป็นจะต้องอยู่ในสถานศึกษาตลอดเวลาแต่สามารถเรียนได้ทุกที่.-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง