สศช.เผยจีดีพีไตรมาส 3 โตร้อยละ 3.3 เหตุส่งออก-ท่องเที่ยวลดลง

กรุงเทพฯ 19 พ.ย. – สภาพัฒน์เผยจีดีพีไตรมาส 3/61 โตแผ่วลงที่ร้อยละ 3.3 เหตุส่งออก-ท่องเที่ยวลดลง พร้อมปรับจีดีพีปีนี้โตลดลงเหลือร้อยละ 4.2


นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยไตรมาส 3/2561 ขยายตัวร้อยละ 3.3 ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวถึงร้อยละ 4.6 เนื่องจากการส่งออกชะลอลงเติบโตเพียงร้อยละ 2.6 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 12.3 ในไตรมาส 2 ซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน โดยกลุ่มสินค้าส่งออกที่มีมูลค่าลดลง คือ แผงวงจรรวมและชิ้นส่วนอุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคม ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า ยางพารา โดยตลาดสหรัฐอเมริกา จีน และออสเตรเลีย ปรับตัวลดลง 

นอกจากนี้ รายได้จากการท่องเที่ยวต่างประเทศอยู่ที่ 474,600 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.5 ชะลอตัวลงจากการขยายตัวร้อยละ 13.7 ในไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากนักท่องเที่ยวจีน ซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ 27 และนักท่องเที่ยวยุโรป รัสเซีย มาเที่ยวไทยน้อยลง อย่างไรก็ตาม สศช.เชื่อว่า จีดีพีไตรมาส 4/2561 จะมีทิศทางดีขึ้นกว่าไตรมาส 3 โดยเชื่อมั่นว่า รัฐบาลจะฟื้นความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวจีนให้กลับมาท่องเที่ยวไทยเหมือนเดิม ด้วยการออกแผนกระตุ้นท่องเที่ยว 4 มาตรการ เช่น การฟรีวีซ่านักท่องเที่ยว 21 ประเทศ 


ส่วนอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจไทยปี 2561 สศช.ปรับลดคาดการณ์ลงจากโตร้อยละ 4.5 มาที่เติบโตร้อยละ 4.2 หรืออยู่ที่กรอบล่างของคาดการณ์เดิมที่ร้อยละ 4.2-4.7 เนื่องจากปรับลดการส่งออกทั้งปีเหลือขยายตัวร้อยละ 7.2 จากเดิมคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 10 ส่วนการนำเข้าคาดว่าจะเติบโตร้อยละ 16.2 จากเดิมคาดไว้ที่ร้อยละ 15.4 ส่วนการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 4.7 การลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 3.6 

ส่วนเศรษฐกิจปี 2562 คาดจะเติบโตในกรอบร้อยละ 3.5-4.5 หรือค่ากลางที่ร้อยละ 4  โดยการส่งออกน่าจะขยายตัวร้อยละ 4.6 และนำเข้าจะเติบโตร้อยละ  6.5 โดยคาดว่าการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคจะขยายตัวในเกณฑ์ดีต่อเนื่องที่ร้อยละ 4.2 ส่วนการลงทุนโดยรวมเร่งตัวขึ้น ขยายตัวร้อยละ 5.1 โดยเฉพาะการลงทุนภาครัฐที่จะมีความคืบหน้าโครงการที่สำคัญ และการลงทุนภาคเอกชนที่จะมีการขยายอัตราการใช้กำลังผลิตสูงขึ้น รวมทั้งแนวโน้มการย้ายฐานการผลิตของบริษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทย เพื่อลดผลกระทบของมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศเศรษฐกิจหลัก

ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่กังวลมากที่สุด คือ สถานการณ์สงครามการค้าระหว่างสหรัฐ-จีน ซึ่งหากมีความรุนแรงขึ้น จะกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยชะลอตัวลง โดยเฉพาะเศรษฐกิจประเทศกำลังพัฒนาที่พึ่งพิงการส่งออกสูง และเป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เศรษฐกิจโลกและปริมาณการค้าโลกต่ำกว่าที่ประเมินไว้ โดยคาดการณ์เศรษฐกิจโลกปี 2562 ขยายตัวร้อยละ 3.8 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 4 ในปี 2561.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เชียงใหม่อากาศแปรปรวน เจอลมหนาว-ฝนตก 3 วันติด

ชาวเชียงใหม่เจอลมหนาวและฝนตกต่อเนื่อง 3 วันติด อุตุฯ ย้ำอากาศแปรปรวน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย ยังมีฝนตกและลมหนาว แนะรักษาสุขภาพ

“อัจฉริยะ” ยื่นสอบปม “ทนายตั้ม” ปูดข่าวผู้บริหารปลอมเอกสารขยายอายุเกษียณ

“อัจฉริยะ” ยื่นหนังสือตรวจสอบข้าราชการช่วยผู้บริหารรัฐวิสาหกิจปลอมเอกสารขยายอายุเกษียณ คาดอาจมีทนายดังเข้าไปเอี่ยว เสนอตำรวจให้สอบพยานรายสำคัญที่เป็นประโยชน์กับ “มาดามอ้อย”

“ทนายตั้ม” เครียดหนัก หลัง 3 บิ๊ก บช.ก. สอบปากคำ

“ทนายตั้ม” เครียดหนัก หลัง 3 บิ๊กสอบสวนกลาง สอบปากคำ นานกว่า 5 ชั่วโมง ขณะที่พนักงานสอบสวนเตรียมเข้าค้น “ษิทรา ลอว์ เฟิร์ม” เช้าพรุ่งนี้ หาหลักฐานเพิ่ม ก่อนฝากขังช่วงบ่าย ค้านประกันตัว

“บิ๊กอ้อ” เผย “ทนายตั้ม-ภรรยา” มีพฤติการณ์หนี-ยุ่งเหยิงพยานฯ

“บิ๊กอ้อ” ชี้ตำรวจต้องออกหมายจับ “ทนายตั้ม” เหตุพบพฤติการณ์เตรียมหลบหนีออกนอกประเทศ และยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน นอกจากนี้ยังมีคดีต่อเนื่อง 3 คดี เตรียมแจ้งข้อหาเพิ่ม

ข่าวแนะนำ

อุตุฯ เผย “เหนือ-อีสาน” อากาศเย็นตอนเช้า-ภาคใต้ฝนหนัก

กรมอุตุฯ เผย “เหนือ-อีสาน” อากาศเย็นในตอนเช้า เตือนภาคใต้ฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง พร้อมอัปเดตเส้นทางพายุ “หยินซิ่ง”

MOU44

MOU 44 ผลประโยชน์ชาติ กับ การเมือง ตอนที่ 1

ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา เรื่องเอ็มโอยู 44 และเส้นแบ่งอาณาเขตทางทะเล หรือเส้นเคลม กลายเป็นปมร้อน ท่ามกลางความกังวลถึงผลประโยชน์ของชาติทางทะเล และสิทธิเหนือเกาะกูด ติดตามความเห็นและมุมมองจากผู้เกี่ยวข้องในรายงาน “ปมร้อน เอ็มโอยู 44 ผลประโยชน์ชาติ กับ การเมือง”

ทนายตั้ม

“ทนายตั้ม” สร้างตัวตนผ่านสื่อ หวังหาผลประโยชน์หรือไม่

หลังจากพนักงานสอบสวนควบคุมตัว “ทนายตั้ม” และภรรยา เข้าเรือนจำไปแล้ว มีคำถามตามมาว่า ทนายคนดังสร้างตัวตนจนโดดเด่นในสังคม เพื่อหาผลประโยชน์จากความน่าเชื่อถือที่สร้างไว้หรือไม่