ดึง 31 องค์กรพัฒนาเอสเอ็มอีทั่วประเทศ

กรุงเทพฯ 23 ก.ค. – หอการค้าไทยผนึกพันธมิตร 31 องค์กร พัฒนาเอสเอ็มอีเครือข่ายหอการค้าทั่วประเทศ หวังเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ภาคธุรกิจ


นายกลินท์ สารสิน ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีเอสเอ็มอีกว่า 3 ล้านราย คิดเป็นร้อยละ 99.7 ของทั้งประเทศ มีการจ้างงานมากกว่า 11.7 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ  80.3 ของทั้งประเทศ สามารถสร้างมูลค่าจีดีพี 4.8 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ  41.1 ของทั้งประเทศ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีถือเป็นส่วนสำคัญของประเทศไทยและในสภาพแวดล้อม สถานการณ์ตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ประกอบกับบทบาทของเทคโนโลยีในโลกยุคดิจิทัลที่ทวีความสำคัญ แม้บริษัทขนาดใหญ่ยังมีความจำเป็นต้องปรับเข้าสู่กระบวนการ Digital Transformation เพื่อเสริมขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งผู้ประกอบการ โดยเฉพาะเอสเอ็มอีจำเป็นจะต้องเตรียมความพร้อมปรับตัวให้เข้ากับโครงสร้างเศรษฐกิจที่จะเปลี่ยนเป็นการค้าแบบไร้พรมแดน โดยการค้าขายบน Digital Platform จะเข้ามามีบทบาทสำคัญ ขณะที่การเกษตรจะเป็นเกษตรสมัยใหม่ที่เสริมด้วยเทคโนโลยีและเพิ่มมูลค่าด้วยนวัตกรรม 

อย่างไรก็ตาม หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและพัฒนาเอสเอ็มอี โดยมีการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมเอสเอ็มอีผ่านศูนย์ Thailand Smart Center (TSC) ซึ่งจะมุ่งเน้นการให้บริการเชิงรุก เข้าถึงง่าย และจับต้องได้จริง เน้นการพัฒนาผู้ประกอบการ 4.0 ให้สมาชิกสามารถนำข้อมูลนวัตกรรมและมาตรฐานไปต่อยอดการดำเนินธุรกิจ ส่งเสริมให้เกิดการต่อยอดความรู้และประสบการณ์ เพื่อยกระดับผู้ประกอบการทุกระดับ รวมถึงการส่งเสริมให้เกิดธรรมาภิบาลการดำเนินธุรกิจ และแนวทางการน้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน ดังนั้น หน่วยงานทั้ง 31 องค์กรที่อาสามาร่วมเป็นกำลังสำคัญในเครือข่ายพันธมิตร ร่วมสนับสนุนและผลักดันสานต่อนโยบายส่งเสริมและพัฒนาเอสเอ็มอีไทยให้สามารถยืนหยัดได้อย่างยั่งยืนในสภาวะธุรกิจปัจจุบันต่อไป


“หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยได้รับความร่วมมือจากบริษัทเอกชน 24 บริษัท สถาบันการเงินภาครัฐและเอกชน 5 สถาบัน และสถาบันการศึกษา 2 สถาบัน ที่จะร่วมกันพัฒนาให้กลุ่มเอสเอ็มอีไทยมีความเข้มแข็งมากขึ้น พร้อมทั้งจะมีการประเมินผล เพื่อปรับปรุงแผนงานให้มีประสิทธิภาพ” นายกลินท์ กล่าว

ทั้งนี้ ได้วางแนวทางส่งเสริมไว้ว่าจะช่วยเอสเอ็มอีเข้ามาปูพื้นฐานตามโครงการ โดยปีนี้กว่า 200 ราย ปีต่อไปเพิ่มขึ้นอีก 300-400 ราย และเท่าที่ประเมินคาดว่าหลังจากเพิ่มความรู้และการจัดการแล้วน่าจะเพิ่มยอดขายของกลุ่มได้มากขึ้น และเท่าที่ได้สอบถามเอสเอ็มอีส่วนใหญ่จะประสบปัญหาเข้าถึงแหล่งเงินทุน แต่เชื่อว่าความร่วมมือครั้งนี้จะสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนมากขึ้น ขณะเดียวกันภาครัฐจะต้องเร่งหามาตรการส่งเสริมอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรมมากขึ้น. – สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

“เหนือ-อีสาน-กลาง” อากาศเย็น ภาคใต้ฝนตกหนัก

กรมอุตุฯ รายงานภาคเหนือ อีสาน และภาคกลาง อากาศเย็นในตอนเช้า มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนภาคใต้ฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง