กรมโรงงานฯ พัฒนาระบบนำกากออกนอกโรงงาน

กรุงเทพฯ 27 ก.ย. – นายสมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า กรมโรงงานอุตสาหกรรมยกระดับการอนุญาตกากอุตสาหกรรมขึ้นมาโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligent: AI) เป็นผู้วิเคราะห์ข้อมูลคำขออนุญาตและแจ้งผลให้กับผู้ประกอบการทราบในเวลาไม่เกิน 3 นาที จากเดิมการพิจารณาอนุญาตใช้เวลา 10 – 30 วัน อย่างไรก็ตาม การอนุญาตแบบนี้จะรองรับเฉพาะการขออนุญาต สก.2 ที่ยื่นผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น


สำหรับระบบปัญญาประดิษฐ์ที่ทดลองนำร่องนี้จะต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ประกอบการที่เป็นผู้รับบำบัดกำจัดที่ร่วมโครงการและเจ้าหน้าที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมที่จะมาทำงานร่วมกันดำเนินการให้สมองกลสามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและสามารถขยายผลไปยังผู้ประกอบกิจการรายอื่น เพื่อให้กากเข้าสู่ระบบตามแผนยุทธศาสตร์การจัดการกากอุตสาหกรรมปี 2558 – 2562 ที่จะต้องดำเนินการให้กากอุตสาหกรรมเข้าสู่ระบบไม่น้อยกว่าร้อยละ 90  ภายใน 5 ปี ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวเป็นการประสานงานของกระทรวงอุตสาหกรรมที่จะขับเคลื่อนประเทศเข้าสู่ความเป็น Digital Government ตามนโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาล โดยกระทรวงอุตสาหกรรมจะพัฒนาองค์กรเข้าสู่ Industry 4.0 และกรมโรงงานอุตสาหกรรมจะได้พัฒนาองค์กรเข้าสู่ DIW 4.0 เช่นเดียวกัน

นายมงคล พฤกษ์วัฒนา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กล่าวว่า  การดำเนินโครงการดังกล่าวระยะแรกนำร่องบริษัทผู้รับบำบัดกำจัดกากอุตสาหกรรมที่เข้าร่วมโครงการ  9 ราย รวมทั้งสิ้น 13 บริษัท ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มผู้ประกอบการชั้นดี โดยเป็นสมาชิกกลุ่มอุตสาหกรรมการจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการจัดการกากอุตสาหกรรมภายใต้โครงการยกระดับมาตรฐานการประกอบการรับบำบัดกำจัดกากอุตสาหกรรมของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้แก่ บริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด (มหาชน)  บริษัท บางปู เอนไววรอนเมนทอล คอมเพล็กซ์ จำกัด บริษัท อีสเทิร์น ซีบอร์ด เอนไวรอนเมนทอล คอมเพล็กซ์ จำกัด  บริษัท สุขเจริญทรัพย์ วังเย็น จำกัด บริษัท เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน จำกัด (มหาชน)  บริษัท อัคคีปราการ จำกัด (มหาชน) บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) บริษัท อินทรี อีโคไซเคิล จำกัด  บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด  บริษัท เอส ซีไออีโค่ เซอร์วิสเซส จำกัด  บริษัท บริหารและพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีเออาร์เอฟ จำกัด และบริษัท ไมโครไบโอเทค จำกัด เป็นการนำร่องเพื่อพิจารณาผลสัมฤทธิ์ อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้จะมีการแต่งตั้งคณะทำงานร่วมกันระหว่างกรมโรงงานอุตสาหกรรมและ ส.อ.ท. เพื่อกำหนดรหัสของเสียและรหัสวิธีบำบัด/กำจัดของเสียที่ผู้รับดำเนินการทั้ง 13 ราย ที่สามารถดำเนินการได้จริงและสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์


นายเจน นำชัยศิริ  ประธาน ส.อ.ท. กล่าวว่า โครงการนำร่องการอนุญาตนำสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วออกนอกบริเวณโรงงานโดยระบบอิเล็กทรอนิกส์ระยะแรกจะใช้เวลาดำเนินงาน 6 เดือน นับจากวันที่ลงนามในบันทึกความเข้าใจ  อย่างไรก็ตาม เมื่อโครงการนำร่องนี้เสร็จจะมีการนำระบบการพิจารณาอนุญาตกากอุตสาหกรรมโดยปัญญาประดิษฐ์ไปขยายผลใช้กับกลุ่มผู้ประกอบการรับบำบัดกำจัดของเสียได้ทั้งหมด ซึ่งทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ผู้พิจารณาอนุญาต โรงงานผู้ก่อกำเนิดกากอุตสาหกรรม และโรงงานผู้รับบำบัดกำจัด ต่างก็ได้ประโยชน์ทุกฝ่าย เป็นการสานงานของกระทรวงอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนประเทศเข้าสู่ความเป็น Digital Government ตามนโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาล และกระทรวงอุตสาหกรรมจะได้พัฒนาองค์กรเข้าสู่ Industry 4.0 และกรมโรงงานอุตสาหกรรมได้พัฒนาองค์กรเข้าสู่ DIW 4.0 .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เพลิงไหม้โรงอบลำไย อ.แม่สรวย จ.เชียงราย

เพลิงไหม้โรงงานอบลำไย อ.แม่สรวย จ.เชียงราย เจ้าหน้าที่เร่งนำรถดับเพลิงเข้าระงับเหตุ เพื่อควบคุมเพลิงไม่ให้ลุกลามไปยังพื้นที่ใกล้เคียง เบื้องต้นยังไม่สามารถประเมินความเสียหายได้

พุ่งไม่หยุดราคาทองคำโลกนิวไฮอีก คาดไปต่อถึง 3 พันดอลลาร์/ออนซ์

ราคาทองคำตลาดโลกพุ่งแตะ 2,800 ดอลลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ นักวิเคราะห์คาดมีโอกาสพุ่งต่อถึง 3,000 ดอลลาร์/ออนซ์ ส่งผลราคาทองไทยวันนี้ขึ้นต่อจากราคาปิดวานนี้ และทำนิวไฮเท่าวานนี้

ข่าวแนะนำ

“มาดามอ้อย” ยันไม่ยอมความ-เจรจา ปมเงิน 71 ล้าน

“มาดามอ้อย” เปิดใจครั้งแรก สบายใจหลังเข้าสู่กระบวนการตามกฎหมาย ยืนยันไม่ได้ให้เงิน 71 ล้านบาท โดยเสน่หา รับใจสลาย จะไม่ยอมความหรือเจรจา

กต.เผยหญิงไทยเสียชีวิต 1 ราย เหตุไต้ฝุ่นกองเร็ยถล่มไต้หวัน

ไต้ฝุ่นกองเร็ย คร่าชีวิตคนไทย 1 ราย ในไต้หวัน พบเป็นหญิงชาวสุโขทัย กต. แถลงเสียใจสุดซึ้งกับครอบครัว ย้ำประสานงานอย่างใกล้ชิด ย้ำ ก.แรงงาน แจ้งญาติเรียบร้อยแล้ว เผยประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์หลังโดยสารกับนายจ้าง