ชัวร์ก่อนแชร์: สหรัฐฯ ใช้ Cloud Seeding เปลี่ยนทิศทางเฮอริเคน จริงหรือ?

01 พฤศจิกายน 2567
แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถ
ตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล


ข้อมูลที่ถูกแชร์ :

ในช่วงปลายเดือนกันยายนถึงต้นเดือนตุลาคม 2024 รัฐทางฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐฯ โดยเฉพาะรัฐฟลอริดา ประสบภัยจากพายุเฮอริเคนถึง 2 ลูกติดต่อกัน นำไปสู่การกล่าวอ้างว่า สาเหตุของพายุเฮอริเคนเกิดจากกระบวนการที่เรียกว่าการทำ Cloud Seeding ที่เชื่อว่าสามารถสร้างหรือกำหนดทิศทางของพายุเฮอริเคนได้ โดยอ้างว่าในอดีตทางการสหรัฐฯ ก็เคยทดลองใช้เทคนิค Cloud Seeding เพื่อเปลี่ยนแปลงเส้นทางพายุเฮอริเคน และเคยใช้สร้างความได้เปรียบระหว่างสงครามเวียดนามมาแล้วเช่นกัน


บทสรุป :

  1. Cloud Seeding คือการทำฝนเทียม
  2. Cloud Seeding ไม่สามารถให้กำเนิด เปลี่ยนเส้นทาง หรือทำลายพายุเฮอริเคนได้
  3. สภาวะโลกร้อนส่งผลให้พายุรุนแรงขึ้น

FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง :

Cloud Seeding คือการเพาะเมฆหรือการทำฝนเทียม ด้วยการนำอนุภาคขนาดเล็กของ Silver Iodide หรือ Solid Carbondioxide (น้ำแข็งแห้ง) โปรยลงไปบนก้อนเมฆเพื่อกระตุ้นการควบแน่นให้เกิดเป็นน้ำฝนหรือหิมะ ใช้เพื่อผลิตน้ำฝนหรือหิมะในพื้นที่แห้งแล้ง หรือใช้ป้องกันการเกิดน้ำท่วม ด้วยการทำ Cloud Seeding เพื่อเร่งให้ฝนตกในทะเลก่อนจะมาตกในเขตพื้นที่ชุมชน


อย่างไรก็ดี Cloud Seeding ไม่สามารถให้กำเนิด เปลี่ยนเส้นทาง หรือทำลายพายุเฮอริเคนได้

Project Cirrus จุดกำเนิดโครงการ Cloud Seeding หวังลดความรุนแรงเฮอริเคน

เมื่อปี 1947 มีความร่วมมือระหว่างบริษัท General Electric และหน่วยงานของกองทัพบกสหรัฐฯ ทบวงทหารเรือสหรัฐฯ และกองทัพอากาศสหรัฐฯ ทดลองใช้ Cloud Seeding ลดทอนความรุนแรงของพายุเฮอริเคน ในโครงการที่รู้จักในชื่อ Project Cirrus

เป็นการทดลองปรับเปลี่ยนเส้นทางของพายุเฮอริเคนคิงซึ่งพัดขึ้นฝั่งที่รัฐฟลอริดาเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 1947

หลังจากพายุพัดออกทะเลไปแล้วในวันถัดมา มีการนำเครื่องบินขนน้ำแข็งแห้งปริมาณ 82 กิโลกรัมขึ้นไปโปรยบนก้อนเมฆที่อยู่เหนือพายุ

หลังจากนั้นปรากฏว่า พายุเกิดการเปลี่ยนเส้นทางและพัดมาทางทิศตะวันตก และพัดขึ้นฝั่งในรัฐจอร์เจียเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 1947 สร้างความเสียหายหลายล้านดอลลาร์ และเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย

แม้จะมีการโจมตีว่า Project Cirrus ทำให้พายุเปลี่ยนเส้นทางและมีกำลังแรงขึ้น แต่ไม่มีหลักฐานว่าการเปลี่ยนเส้นทางของพายุเฮอริเคนเป็นเพราะการ Cloud Seeding หรือเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เนื่องจากมีหลักฐานพบว่า พายุเริ่มเปลี่ยนเส้นทางก่อนที่จะมีการทำ Cloud Seeding เช่นกัน

ความล้มเหลวของโครงการ Project Stormfury

ระหว่างปี 1962-1983 มีความพยายามลดความรุนแรงของพายุเฮอริเคนด้วยการ Cloud Seeding โดยองค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ (NOAA) จากสมมติฐานการใช้อนุภาคขนาดเล็กของ Silver Iodide ไปแทรกแซงการก่อตัวของพายุจากโครงสร้างภายใน ด้วยการทำให้ไอน้ำที่เย็นจัดในพายุจับตัวเป็นน้ำแข็ง

แต่สมมติฐานดังกล่าวไม่เป็นจริง เนื่องจากภายในโครงสร้างของพายุเฮอริเคนไม่มีปริมาณไอน้ำเย็นจัดมากพอที่จะทำให้ Cloud Seeding เกิดผล และพบว่าพายุเฮอริเคนทั่วไปก็มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในไม่ต่างจากพายุเฮอริเคนที่ผ่านการ Cloud Seeding เช่นกัน

จนปฏิบัติการต้องสิ้นสุดในปี 1983 เมื่อการทดลองได้ผลลัพธ์ที่ไม่ชัดเจน และไม่อาจสรุปได้ว่าการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในพายุเฮอริเคน เกิดจากการทำ Cloud Seeding หรือเป็นเพียงปรากฏการณ์ธรรมชาติเท่านั้น

Operation Popeye การทำฝนเทียมในสงครามเวียดนาม

ระหว่างสงครามเวียดนามปี 1967–1972 มีรายงานว่ากองทัพสหรัฐฯ ใช้การทำ Cloud Seeding เพื่อเร่งให้เกิดฝนตกหนักบริเวณเส้นทางลำเลียงเสบียงของกองทัพเวียดนามเหนือ เพื่อให้ฝนทำให้สภาพถนนย่ำแย่และเกิดดินถล่ม

แม้ภายหลังจะมีการร่างสนธิสัญญาระหว่างประเทศ ห้ามการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อเหตุผลทางการทหาร แต่ก็ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าการทำ Cloud Seeding ในระหว่างสงครามเวียดนามประสบความสำเร็จหรือไม่

อดีตเจ้าหน้าที่ Project Stormfury ยืนยัน Cloud Seeding ควบคุมเฮอริเคนไม่ได้

ฮิวจ์ วิลโลบี อดีตเจ้าหน้าที่ของ Project Stormfury ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ภาควิชาโลกและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยฟลอริดาอินเตอร์เนชันแนล และเป็นอดีตหัวหน้าศูนย์วิจัยพายุเฮอริเคนของ NOAA อธิบายว่า ปัจจุบันไม่มีความพยายามดัดแปลงพายุเฮอริเคนในหน่วยงานของสหรัฐฯ หรือมีเทคโนโลยีเพียงพอที่จะทำได้ เนื่องจากพายุเฮอริเคนมีพลังงานที่มหาศาลอย่างมาก

มาร์ค โบรัสซา ศาสตราจารย์ภาควิชาอุตุนิยมวิทยา มหาวิทยาลัยฟลอริดาอินเตอร์เนชันแนล ย้ำว่า ไม่มีวิศวกรธรณีวิทยาใดสามารถเปลี่ยนแปลงพายุเฮอริเคนได้ เนื่องจากพายุเฮอริเคนมีพลังงานมหาศาล แม้แต่ระเบิดนิวเคลียร์ก็ไม่สามารถยับยั้งพายุเฮอริเคนได้

โมนิกา อัลเลน ผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์ของ NOAA ชี้แจงว่า ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศใด ๆ ที่อยู่เบื้องหลังการเกิดพายุเฮอริเคนเฮลีนและพายุเฮอริเคนมิลตัน เนื่องจากเป็นพายุที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ

ในเว็บไซต์ของ NOAA เปรียบเทียบว่า เมื่อถึงวันที่มนุษยชาติสามารถเดินทางข้ามดวงดาวด้วยความเร็วใกล้เคียงกับความเร็วแสง เมื่อนั้นเราก็คงจะมีแหล่งพลังงานที่มากพอจะแทรกแซงพลังอันมหาศาลของพายุเฮอริเคนได้

สภาวะโลกร้อนส่งผลให้พายุรุนแรงขึ้น

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ยืนยันว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีส่วนทำให้พายุมีความรุนแรงยิ่งขึ้น

ข้อมูลจากการศึกษาพายุเฮอริเคนเฮลีนและพายุเฮอริเคนมิลตันเบื้องต้นพบว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลให้พายุทั้ง 2 มีปริมาณน้ำฝนมากขึ้นและมีความเร็วลมมากขึ้น

ข้อมูลอ้างอิง :

https://www.politifact.com/factchecks/2024/sep/27/instagram-posts/hurricane-helene-was-not-a-product-of-weather-modi/
https://www.politifact.com/factchecks/2024/oct/10/facebook-posts/no-cloud-seeding-wasnt-used-to-create-hurricane-mi/
https://www.reuters.com/fact-check/false-rumor-says-hurricane-milton-is-product-weather-control-2024-10-09/
https://www.factcheck.org/2024/10/baseless-claims-proliferate-on-hurricanes-and-weather-modification/

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

เด้ง ตร.จราจร ปมคลิปรับเงินแลกไม่เขียนใบสั่ง

ผบก.ภ.จว.นนทบุรี สั่งย้าย “รอง สว.จร.สภ.รัตนาธิเบศร์” เซ่นคลิปรับเงินแลกไม่ออกใบสั่ง พร้อมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงภายใน 3 วัน ด้านเจ้าตัวอ้างไม่เห็นเงินที่วางบนโต๊ะในตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร

เชิญชวนร่วมงาน “มหานคร คัลเลอร์ฟูล ปาร์ตี้ 2025”

“กำภู-รัชนีย์” พาทัวร์งาน “มหานคร คัลเลอร์ฟูล ปาร์ตี้ 2025” ณ ลานจอดรถ บมจ.อสมท พบปะผู้ประกาศ ดีเจ และอินฟลูเอนเซอร์ รวมไปถึงศิลปินที่จะมาร่วมสนุกในงาน “มหานคร คัลเลอร์ฟู ปาร์ตี้ 2025”