อุตฯ สั่ง 2.7 หมื่นโรงงาน เร่งรายงานข้อมูลกากอุตสาหกรรมภายใน 30 มิ.ย.นี้

ก.อุตสาหกรรม แจ้งทุกโรงงานเร่งรายงานข้อมูลการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุไม่ใช้แล้วตามกฎหมายฉบับใหม่ ภายใน 30 มิถุนายน นี้ หลังพบว่า โรงงานกว่า 27,000 แห่งผู้ก่อกำเนิดของเสียยังไม่รายงานข้อมูล ย้ำฝ่าฝืนปรับสูงสุด 20,000 บาท

ยกระดับมาตรฐานจัดการสิ่งปฏิกูล-กากอุตสาหกรรม

นายกฯ ส่งเสริมการยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการสิ่งปฏิกูลและกากอุตสาหกรรม จัดระเบียบการจัดการสิ่งปฏิกูลและกากอุตสาหกรรมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

สั่งตรวจเข้ม 2,265 โรงงานที่เสี่ยงลักลอบเก็บกากอุตสาหกรรมอันตราย

ก.อุตฯ สั่งกรมโรงงาน เร่งตรวจสอบ 2,265 โรงงานทั่วประเทศ ที่อาจมีการลักลอบขนกากอุตสาหกรรมอันตรายไปเก็บไว้ให้เสร็จภายใน 31 ส.ค.นี้

กรมโรงงานฯ เร่งหนุนเอกชนนำกากกลับมาสร้างมูลค่าเพิ่ม

กรุงเทพฯ 12 ส.ค.–  กรมโรงงานฯ นำร่อง 37 โรงงานนำกากอุตสาหกรรมกลับมาใช้ใหม่ ช่วยลดของเสียกว่า 2,800 ตัน  นายมงคล พฤกษ์วัฒนา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กล่าวว่า ในปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมมีการขยายกิจการเพิ่มขึ้น และเป็นส่วนสำคัญในการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการก็ย่อมมีปริมาณที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ปริมาณของเสียทั้งหมดที่ขออนุญาตนำออกนอกบริเวณโรงงานในแต่ละปีจะเห็นว่ามีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน  โดยสัดส่วนของปริมาณของเสียที่ขออนุญาตนำไปกำจัดด้วยวิธีฝังกลบระหว่างปี 2549 – 2559 อยู่ระหว่าง ร้อยละ 7.1 – 10.0 ของปริมาณของเสียทั้งหมดที่ขออนุญาตนำออกนอกบริเวณโรงงานในแต่ละปี กรมโรงงานอุตสาหกรรมจึงได้ดำเนินโครงการส่งเสริมการใช้ประโยชน์กากของเสียเป็นไปตามนโยบายการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  เพื่อเพิ่มศักยภาพการใช้ประโยชน์กากของเสีย ส่วนหนึ่งจะทำให้ปัญหาการลักลอบทิ้งของเสียลดลง ค่าใช้จ่ายในการกำจัดลดลง มูลค่าของเสียเพิ่มขึ้น เป็นการเพิ่มโอกาสในการแข่งขันทางการค้า สนับสนุนให้เกิดธุรกิจรักษ์สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน นายมงคล กล่าวอีกว่า กรมโรงงานอุตสาหกรรมจึงได้เร่งศึกษาและส่งเสริมสนับสนุนให้โรงงานอุตสาหกรรมเล็งเห็นถึงความสำคัญของการนำกากของเสียอุตสาหกรรมกลับมาใช้ประโยชน์หรือใช้ซ้ำตามหลัก 3Rs ได้แก่ Reduce Reuse และRecycle  โดยพบว่าตัวอย่างกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีกากของเสียและสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้แก่ 1.อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ผู้ประกอบการสามารถนำกากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสียและเศษเหลือจากกระบวนการจากโรงงานผลิตอาหารมาทำเป็นเชื้อเพลิงอัดแท่ง หรือนำเศษวัตถุดิบจากการผลิตและกากตะกอนน้ำเสียมาผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์ หรือนำน้ำเสียไปผลิตก๊าซชีวภาพเพื่อนำไปปั่นไฟฟ้าใช้ภายในโรงงาน นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ที่ขนาดรูปร่างไม่ได้มาตรฐานสามารถไปขายเป็นอาหารสัตว์เพื่อเพิ่มรายได้กับโรงงาน โดยในปี 2559 ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มมีการส่งกากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสียไปกำจัดด้วยการฝังกลบ ปริมาณมากกว่า 36,000 […]

...