นายกฯ เสนอสร้างความเข้มแข็งแลกเปลี่ยนข้อมูลน้ำ

เสียมราฐ 5 เม.ย.- นายกรัฐมนตรีเสนอที่ประชุมสุดยอดผู้นำลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ครั้งที่ 3 อย่างไม่เป็นทางการ   ให้ประเทศสมาชิกร่วมกันเสริมสร้างความเข้มแข็งของการแลกเปลี่ยนข้อมูลน้ำ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านน้ำ และสนับสนุนประเทศสมาชิกบริหารจัดการความเสี่ยงของภัยพิบัติจากภาวะน้ำแล้ง น้ำท่วมและคุณภาพน้ำอย่างเป็นระบบ


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 09.00 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี  ได้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ครั้งที่ 3 อย่างไม่เป็นทางการ ณ ห้องบอลรูม 1 สกขารีสอร์ท แอนด์ คอนเวนชัน เซ็นเตอร์ (Sokha Siem Reap Resort & Convention Center)

พล.ท.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงผลการประชุมสุดยอดผู้นำลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ครั้งที่ 3 อย่างไม่เป็นทางการ ว่า การประชุมครั้งนี้ มี 2 หัวข้อ คือ 1.การเสริมสร้างการดำเนินการตามข้อตกลงแม่โขง ปี 2538 (Strengthening the Implementation of the 1995 Mekong Agreement) และ 2.บทบาทของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงในโครงสร้างสถาปัตยกรรมความร่วมมือภูมิภาค (The Role of MRC in the Regional Cooperation Architecture)


พล.ท.วีรชน กล่าวว่า  การเสริมสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินการตามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2538 นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงการให้ความสำคัญกับการดำเนินงานตามพันธกรณีของความตกลงฯ พ.ศ. 2538 และกรอบความร่วมมือคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงอย่างเป็นรูปธรรม โดยดำเนินความร่วมมือในทุกด้านของการพัฒนาที่ยั่งยืน การใช้ การบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ และทรัพยากรที่เกี่ยวข้องของลุ่มแม่น้ำโขง

รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นายกรัฐมนตรี เสนอผู้นำประเทศสมาชิกให้ร่วมกันเสริมสร้างความเข้มแข็งของการแลกเปลี่ยนข้อมูลน้ำ ซึ่งครอบคลุมการรักษาปริมาณและคุณภาพน้ำ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านน้ำตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ และยกระดับชีวิตความเป็นอยู่และการประกอบอาชีพของประชาชนริมฝั่งโขง และควรมุ่งเน้นสนับสนุนประเทศสมาชิกในการบริหารจัดการความเสี่ยงของภัยพิบัติจากภาวะน้ำแล้ง น้ำท่วมและคุณภาพน้ำอย่างเป็นระบบ ด้วยเทคนิควิชาการจากฐานข้อมูล ข้อสารสนเทศและองค์ความรู้ที่ผสานมุมมองเชิงลุ่มน้ำอย่างครอบคลุม  รัฐบาลไทยยินดีสนับสนุนการเสริมสร้างความมั่นคงด้านน้ำของประเทศสมาชิก เพื่อตอบสนองการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคมและรักษาสิ่งแวดล้อม ตามเงื่อนไขการพัฒนาของแต่ละประเทศ

พล.ท.วีรชน กล่าวว่า สำหรับการกำหนดบทบาทของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงในโครงสร้างสถาปัตยกรรมความร่วมมือภูมิภาค นายกรัฐมนตรีชื่นชมความสำเร็จของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ซึ่งรัฐบาลไทย กัมพูชา ลาวและเวียดนาม ได้จัดตั้งเมื่อปี 2538 และหวังว่า คณะกรรมาธิการฯ จะมีการพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง  เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประเทศสมาชิก ในการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเป็นระบบต่อภัยพิบัติด้านน้ำแล้ง น้ำท่วม คุณภาพน้ำ และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมีการกำหนดแผนงานและเป้าหมายที่มีกรอบระยะเวลาชัดเจนร่วมกัน .- สำนักข่าวไทย   


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง