“สมคิด” แจงนักลงทุน มั่นใจไทยทะยานสูงสู่เศรษฐกิจยุคใหม่

เมืองทองธานี 19 มี.ค. –  “สมคิด” นำทีมเศรษฐกิจแจงนักลงทุน ประกาศความพร้อมพลิกโฉมประเทศ ดันไทยขึ้นแท่นศูนย์กลางความเจริญในอาเซียน เผย 3 กลุ่มยุทธศาสตร์ ทั้งเมกะโปรเจกต์ อีอีซี  ดิจิทัล สนับสนุนเศรษฐกิจไทยให้ทะยานขึ้นสูงสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ เชื่อมต่อการเดินทางทั้งอากาศ ทางบกติดต่อกับเพื่อนบ้าน 


นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี  กล่าวปฐกถาพิเศษในงานสัมมนา “Thailand Taking off to New Heights”  จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) มีผู้เข้าร่วม 3,000 คน ประกอบด้วย นักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ  ผู้บริหารจากหน่วยงานราชการ และสื่อมวลชนไทยและต่างประเทศ ให้ความสนใจมาร่วมงาน  

นายสมคิด กล่าวย้ำว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา คำขอส่งเสริมการลงทุนเติบโตอย่างรวดเร็วจาก  983 โครงการ มูลค่า 197,580 ล้านบาทในปี 2558 เพิ่มเป็น 1,456 โครงการ มูลค่ากว่า 600,000 ล้านบาทในปี 2560 เพิ่มขึ้นร้อยละ 224  หรือประมาณ 3.5 เท่าตัว และคาดว่าจะเติบโตอย่างก้าวกระโดดจาก  537 โครงการ มูลค่าลงทุน 96,077 ล้านบาท เพิ่มเป็น 818 โครงการ มูลค่าลงทุน 282,696 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 194 หรือประมาณ 3 เท่าตัว การลงทุนเฉพาะในส่วนของอุตสาหกรรมอันเป็นเป้าหมายเพิ่มจาก 83,339 ล้านบาทในปี 2558 เป็น 392,142 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นเกือบ 5 เท่าตัว โดยเฉพาะในเขต eastern economic corridor ที่รัฐบาลมุ่งพัฒนาให้เป็นฐานการผลิตและส่งออกใหญ่ของประเทศในอนาคต เพิ่มจาก 52,700 ล้านบาท เป็น 296,890 ล้านบาท หรือเพิ่มเกือบ 6 เท่าตัวในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา


นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวที่มาประเทศไทยก้าวกระโดดจาก 29.9 ล้านคน เป็น 35.4 ล้านคนในปีที่ผ่านมา ขณะที่เที่ยวบินที่บินเข้าและออกจากประเทศไทยเพิ่มจาก 363,880 เที่ยวบินในปี 2558 เป็น 416,552 เที่ยวบินในปี 2560 เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 15 สะท้อนว่าไทยมีศักยภาพและมีโอกาสก้าวสู่ความเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวและศูนย์กลางการบินของอนุภูมิภาค  ส่งผลให้ไทยพลิกฟื้นของดุลการค้าและดุลชำระเงินของประเทศที่เข้าสู่ยุคเกินดุลอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มทวีขึ้นอย่างรวดเร็ว จาก 155 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2558 เป็น 214 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2560 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์พุ่งทะลุเกิน 1,800 จุดเป็นครั้งแรก นับเป็นประวัติการณ์สูงสุดตั้งแต่เริ่มก่อตั้งตลาดหลักทรัพย์  ไทยยังได้รับการจัดอันดับความสามารถแข่งขันทั้งจาก IMD และ WEF ในทิศทางที่ดีขึ้น โดยเฉพาะการจัดอันดับ ease of doing business จาก world bank ในอันดับที่ 26 ในปี 60 ดีขึ้นถึง 20 อันดับ 

ทั้งนี้ รัฐบาลจึงเน้นเดินตามยุทธศาสตร์การลงทุนหลักสำคัญ ประกอบด้วย โครงการลงทุนขนาดใหญ่ หรือ เมกะโปรเจกต์  เพื่อเปลี่ยนโฉมการคมนาคมขนส่ง  ได้แก่  การโครงการรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพและปริมณฑล  10 เส้นทาง ระยะทางรวม 464 กิโลเมตร กำลังจะเปิดประมูลอีก 9 ช่วงตอนวงเงินรวมเกือบ 400,000  ล้านบาท  โครงการรถไฟฟ้าในต่างจังหวัดรวม 4 จังหวัด มูลค่ากว่า 160,000 ล้านบาท พร้อมเริ่มต้นในช่วง 2 ปีข้างหน้านี้  ส่วนโครงการรถไฟทางคู่ เตรียมเปิดประมูลอีก 10 สายทาง เชื่อมโยงการขงส่งทั้งภาคเหนือ กลาง ตะวันออกเฉียงเหนือและใต้ วงเงินรวมประมาณ 280,000 ล้านบาท  โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมโยงภูมิภาคที่เริ่มต้นก่อสร้างแล้ว คือ รถไฟความร่วมมือไทยจีน กรุงเทพฯ-หนองคาย  โครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-หัวหิน กำลังร่างทีโออาร์ให้แล้วเสร็จในไม่ช้า

การพัฒนาด้านท่าอากาศยาน ได้แก่ โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เฟส  2 โครงการพัฒนาท่าอากาศยานดอนเมือง การพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ต เฟส 2 และท่าอากาศยานเชียงใหม่ ระยะที่ 1 ตลอดจนการพัฒนาสนามบินขนาดเล็กลงมาในจังหวัดในภูมิภาค เพื่อรองรับการท่องเที่ยวและการขนส่งสินค้าทางอากาศ  รวมทั้งการสำรวจแหล่งพลังงาน การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแก๊ซธรรมชาติ โครงการลงทุนในโครงข่ายในระบบท่อส่งแก๊ซธรรมชาติ โครงการส่งเสริมพลังงานทดแทน  แผนลงทุนทั้งหมดนี้ในช่วงระยะเวลาปี 2560-2564 มูลค่าการลงทุนกว่า 1 ล้านล้านบาท เพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจในอนาคต  กลุ่มโครงการลงทุนใน Eastern Economic Corridor (EEC) Eastern Economic Corridor คือ เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกที่รัฐบาลไทยตั้งใจพัฒนาต่อยอด จากโครงการ eastern seaboard เดิมเพื่อรองรับเป็นฐานรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ที่เน้นการเพิ่มมูลค่า นวตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ และเพื่อให้เป็นฐานของการสร้างtranshipment port ขนาดใหญ่ในการขนส่งสินค้าเข้าและออกรองรับไม่เพียงแต่ประเทศไทยแต่รองรับ CLMVT โดยรวม ด้วยความมุ่งมั่นเพื่อให้ EEC เปี่ยมด้วยสมรรถนะในการรองรับนักลงทุน 


รัฐบาลได้จัดให้มีโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-ระยอง เชื่อม 3 สนามบิน วงเงินลงทุนประมาณ 236,700 ล้าน คาดว่าจะประกาศทีโออาร์เดือนมีนาคมหรืออย่างช้าต้นเดือนเมษายน เพื่อให้พร้อมเปิดดำเนินการปี 2566 โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก วงเงินประมาณ 200,000 ล้านบาท คาดว่าจะประกาศเชิญชวนประกวดราคาเดือนกรกฎา 2561 การพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 วงเงินประมาณ 150,000 ล้านบาท คาดว่าจะประกาศทีโออาร์เดือนสิงหา 2561  โครงการท่าเรือมาบตาพุดเฟส 3 มูลค่าโครงการประมาณ 110,000 ล้านบาท คาดว่าจะประกาศทีโออาร์เดือนมิถุนายน 2561 เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EECI) ที่จะสนับสนุน EEC ในการขับเคลื่อน นโยบาย Thailand 4.0 และทดสอบนวัตกรรมใหม่สำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมยุคต่อไป เพื่อวางเป้าหมายให้ไทยป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของอาเซียน. – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

นร.หญิง ม.1 จมทะเลดับ หลังโรงเรียนพาไปทัศนศึกษาที่ระยอง

โรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งใน จ.นครราชสีมา พานักเรียนไปทัศนศึกษาที่ จ.ระยอง นักเรียนหญิง ม.1 ถูกคลื่นดูดลงทะเลขณะเล่นน้ำ เสียชีวิต พ่อแม่สุดเศร้าสูญเสียลูกสาวคนเดียวของครอบครัว

น้ำท่วมเชียงใหม่

เชียงใหม่จมบาดาล น้ำท่วมครั้งประวัติศาสตร์

น้ำท่วมในตัวเมืองเชียงใหม่ ยังวิกฤติ หลังน้ำในลำน้ำปิงขึ้นสูงสุดทรงตัวสูงกว่า 5.30 เมตร ซึ่งสูงที่สุดตั้งแต่มีการวัดระดับน้ำปิง

น้ำท่วมขนส่งเชียงใหม่กระทบผู้โดยสาร เปิดจุดจอดรับ-ส่งชั่วคราว

น้ำขยายวงกว้างเข้าท่วมสถานีขนส่งเชียงใหม่แห่งที่ 2 และ 3 เต็มพื้นที่ ระดับน้ำสูงเกือบ 50 ซม. ผู้ประกอบการขนส่งต้องนำรถทัวร์โดยสารออกมาจอดรับ-ส่งบนถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ ยืนยันผู้ประกอบการยังให้บริการตามปกติ

ระทึก! แท็กซี่พลิกคว่ำเกิดเพลิงไหม้ 5 ชีวิตรอดหวุดหวิด

รถแท็กซี่พลิกคว่ำและเกิดเพลิงลุกไหม้กลางถนนพระราม 9 ผู้โดยสารหญิงสติดีถีบประตูช่วยตัวเองและคนอื่นออกมาจากตัวรถรวม 5 ชีวิตได้ทัน แต่ในจำนวนนี้บาดเจ็บสาหัส 1 คน เป็นคนขับแท็กซี่ ตำรวจเร่งสอบสวนหาสาเหตุ

ข่าวแนะนำ

กต.ย้ำมีแผนพร้อมอพยพคนไทยในอิสราเอล-เลบานอน

กต.ประชุมประเมินสถานการณ์อิสราเอล-ฮิซบอลเลาะห์ในเลบานอน ย้ำมีแผนอพยพพร้อม เผย 5 แรงงานไทยเตรียมเดินทางกลับ แนะประชาชนตัดสินใจก่อนน่านฟ้าปิด

เตรียมตั้ง 7 เตาไฟฟ้า พิธีพระราชทานเพลิงศพ นร.-ครู 23 คน

เตรียมพื้นที่ตั้ง 7 เตาไฟฟ้า กลางสนามโรงเรียนวัดเขาพระยาสังฆาราม จ.อุทัยธานี ในพิธีพระราชทานเพลิงศพ นักเรียน-ครู 23 คน เหยื่อไฟไหม้รถบัสทัศนศึกษา วันที่ 8 ต.ค.นี้

เชียงใหม่ยังอ่วม เจอน้ำท่วมครั้งประวัติศาสตร์

แม้ระดับน้ำปิงที่ทะลักท่วมตัวเมืองเชียงใหม่เริ่มลดลง จากที่เคยขึ้นสูงสุดถึง 5.30 เมตร ซึ่งถือว่าสูงที่สุดเท่าที่เคยวัดระดับมา จนทำให้เชียงใหม่เผชิญกับน้ำท่วมครั้งใหญ่สุดเป็นประวัติการณ์ บ้านเรือนหลายพันหลังและย่านการค้ายังจมน้ำ บางจุดยังท่วมสูงกว่า 2 เมตร ยังต้องเร่งอพยพผู้คนออกจากพื้นที่น้ำท่วม หลายคนต้องใช้ชีวิตอยู่ในรถที่จอดบนสะพาน

ภาคกลางเริ่มกระทบ น้ำเจ้าพระยาเอ่อท่วมบ้านประชาชน

น้ำเจ้าพระยาล้นข้ามถนนเข้าท่วมบ้านกว่า 30 หลังคาเรือน ต.ชีน้ำร้าย อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี ส่วนชุมชุนริมท่าน้ำปากเกร็ด เริ่มกระทบ