ไทย-อินโด-มาเลย์ กำหนดโควตาส่งออกยางรวมกันไม่เกิน 3.5 แสนตัน

กรุงเทพฯ  22 ธ.ค. – ไทย-อินโด-มาเลย์ กำหนดโควตาส่งออกยางรวมกันไม่เกิน 350,000 ตัน ระยะเวลา 3 เดือน



นายลักษณ์ วจนานวัช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะรัฐบาลไทย เปิดเผยว่า ความร่วมมือระหว่าง 3 ประเทศสมาชิกผู้ผลิตยางรายใหญ่ของโลก ทั้งไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย เป็นอีกมาตรการแก้ปัญหาราคายางที่ผิดปกติและมีความผันผวน โดยเฉพาะไทยซึ่งเป็นผู้ผลิตยางรายใหญ่ของโลกจะนำข้อตกลงดังกล่าวมาดำเนินการอย่างเคร่งครัด ภายใต้การปฏิบัติตามมาตรการควบคุมปริมาณการส่งออกยางพาราของประเทศไทย ซึ่งมีทั้งพระราชบัญญัติควบคุมยาง พ.ศ.2542  โดยกรมวิชาการเกษตรซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ดูแลและควบคุมปริมาณการส่งออกยางของไทยออกนอกราชอาณาจักร และระเบียบตามประกาศของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดปริมาณจัดสรรเนื้อยางแห้งสำหรับการส่งออก (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2556 มาใช้ในช่วงระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่บัดนี้ จนถึง 31 มีนาคม 2561 ทั้งนี้ มอบให้การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ประสานงานกับผู้ประกอบกิจการยาง เพื่อให้ทราบถึงแนวทางปฏิบัติร่วมกันตามมาตรการ AETS พร้อมทั้งให้เร่งดำเนินการจัดตั้งคณะทำงานติดตามอย่างใกล้ชิด


“มาตรการความร่วมมือระหว่างประเทศในการควบคุมการส่งออกยางครั้งที่ 5 จะเป็นอีกหนึ่งในมาตรการสำคัญต่าง ๆ ที่รัฐบาลจะแก้ปัญหาสถานการณ์ราคายางผันผวน เพื่อช่วยยกระดับราคายางในตลาดให้สูงขึ้น ให้ความสำคัญเรื่องคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นแก่พี่น้องเกษตรกรชาวสวนยาง” นายลักษณ์ กล่าว

นายธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าฯ กยท. ในฐานะตัวแทนประเทศไทยในสภาไตรภาคียางพารา กล่าวว่า ในการประชุมสภาไตรภาคียางพารา (ITRC) นัดพิเศษระหว่างประเทศไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซียวันนี้ (22 ธ.ค.) รัฐบาล 3 ประเทศภายใต้กรอบความร่วมมือมีมติเห็นชอบประกาศมาตรการควบคุมปริมาณการส่งออกยางพารา โดยมีระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่บัดนี้จนถึงสิ้นเดือนมีนาคม 2561 ซึ่งกำหนดการลดโควตาการส่งออกยางพาราร่วมกัน 3 ประเทศลง 350,000 ตัน ซึ่งที่มาของจำนวนดังกล่าวมาจากการคาดการณ์ปริมาณยางส่วนเกินโดยสมาคมประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติระหว่างประเทศ (ANRPC) ของตลาดโลก และคาดว่าจะส่งผลต่อระดับราคายางสูงขึ้น ทั้งนี้ ที่ประชุมยังมีความเห็นเพิ่มว่าประเทศผู้ผลิตยางแต่ละรายควรแก้ปัญหาความสมดุลของปริมาณยางในโลกด้วยการต้องเพิ่มปริมาณการใช้ยางภายในประเทศของตนเองให้มากขึ้น ไม่ว่าจะนำยางธรรมชาติไปใช้ด้านการคมนาคม การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ยุทโธปกรณ์ กีฬา สุขภาพ รวมถึงภาคธุรกิจ สินค้าอุปโภคบริโภคและบริการต่าง ๆ


“ในนาม ITRC มีความมั่นใจว่าการดำเนินการร่วมกันในมาตรการนี้จะส่งผลให้ราคายางมีเสถียรภาพขึ้น และส่งผลดีต่อเกษตรกรรายย่อย สถาบันเกษตรกร และทุกส่วนที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทานยางพารา ให้ได้รับผลตอบแทนอย่างเป็นธรรมในระยะยาวต่อไป โดยมาตรการนี้จะมีการติดตามอย่างใกล้ชิดโดย ITRC และคณะกรรมการควบคุมยาง” นายธีธัช กล่าว.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มุกใหม่มิจฉาชีพ

มุกใหม่มิจฉาชีพ! ป่วนโทรแจ้ง ตร. เกิดเหตุร้ายที่บ้านเหยื่อ

อินฟลูฯ สาว สายทำอาหาร ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นตำรวจโทรหา แต่เธอไม่เชื่อ โดนท้าอีก 10 นาทีเจอกัน ปรากฏว่า มีตำรวจจาก 2 โรงพักบุกมาที่บ้านจริง

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา บอกสนามใหญ่ ไม่เข้าไปก้าวก่ายสนามท้องถิ่น ซ้ายก็เพื่อน ขวาก็พวก

ครม.เคาะแจกเงินหมื่นเฟส 2 ผู้สูงอายุ 60 ปี

“จุลพันธ์” เผย ครม.เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการทันก่อน 29 ม.ค.68 รวม 3 มาตรการ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ 1.4-1.5 แสนล้านบาท

ข่าวแนะนำ

เกาะติดทุกโหมดการเดินทางเทศกาลปีใหม่ 2568

เกาะติดทุกโหมดการเดินทางขาออกเทศกาลปีใหม่ 2568 ถนนทุกสาย และระบบขนส่งสาธารณะทุกโหมด มีประชาชนทะลักเดินทางตั้งแต่เย็นวานนี้ (27 ธ.ค.) ภาพรวมเป็นอย่างไร พูดคุยกับนายวิทยา ยาม่วง รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะ ผอ.ศูนย์ปลอดภัยคมนาคม.

หยุดยาววันแรก การจราจรขาออก กทม. มุ่งสู่อีสานเริ่มแน่น

เริ่มหยุดยาววันแรก การจราจรบนท้องถนนขาออกกรุงเทพฯ มุ่งสู่อีสานเริ่มแน่นตั้งแต่เมื่อคืน เช้านี้ ถนนมิตรภาพ ช่วง ต.กลางดง อ.ปากช่อง ชะลอเคลื่อนตัวไปได้เรื่อยๆ ส่วนถนนพหลโยธิน ขาเข้าหนองแค รถเริ่มแน่น