กนอ.ผุดบริการใหม่อนุมัตินำเข้า-ส่งออก

กรุงเทพฯ 18 ธ.ค. – กนอ.พลิกโฉมระบบการอนุมัตินำเข้า-ส่งออก เขตประกอบการเสรีนิคมฯ 11 แห่ง พร้อมดันระบบสมาร์ทคิวอาร์โค้ด


นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวว่า ปัจจุบันการลงทุนในเขตประกอบการเสรีทั้ง 11 แห่ง นอกจากนักลงทุนและผู้ประกอบการจะได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ด้านภาษีอากรแล้ว กนอ.ได้ให้ความสำคัญกับการให้บริการและการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพเพื่อยกระดับนิคมอุตสาหกรรมให้เป็นฐานการผลิตที่มีความสมบูรณ์แบบเหมาะสมกับสถานการณ์และทันกับการแข่งขันในตลาดโลกยิ่งขึ้น โดยได้นำนวัตกรรม เทคโนโลยี และระบบอัจฉริยะมาให้บริการด้านอนุมัติอนุญาตนำส่งสินค้าเข้า-ออกในนิคมอุตสาหกรรม เพื่อเอื้อให้มีความรวดเร็ว ฉับไว พร้อมสร้างประสิทธิภาพในด้านผลลัพธ์และคุ้มค่ากับการลงทุนอย่างสูงสุด


นายวีรพงศ์ กล่าวต่อว่า ล่าสุด กนอ.ได้พัฒนาระบบบริการคิวอาร์โค้ด การอนุญาตอนุมัติการนำเข้าวัตถุดิบเพื่อการผลิตและการส่งออกสินค้าโดยไม่ต้องมีลายเซ็นของ กนอ. โดยผู้ประกอบการส่งคำขอผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ e-pp โดยเจ้าหน้าที่ กนอ.พิจารณาอนุญาตในระบบ พร้อมทั้งข้อมูลการอนุญาตของผู้ประกอบการก็ยังคงถูกเชื่อมโยงไปยังกรมศุลกากรเช่นเดิม แต่ข้อมูลการอนุมัติทั้งหมดจะถูกเชื่อมโยงไปยังระบบของผู้ประกอบการและสามารถพิมพ์หนังสืออนุญาตแบบมีคิวอาร์โค้ด พร้อมนำหนังสืออนุญาตที่ได้รับไปทำพิธีการต่อไปที่กรมศุลกากรได้เอง ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานจะใช้เพียงแค่สมาร์ทโฟนสแกนคิวอาร์โค้ดบนหนังสืออนุญาตที่ผู้ประกอบการแสดง พร้อมตรวจเช็คข้อมูลความถูกต้องในระบบฐานข้อมูลว่าข้อมูลตรงกันหรือไม่ ซึ่งระบบใหม่นี้ช่วยลดขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อน เพิ่มความรวดเร็วในการขนส่งสินค้า ช่วยเชื่อมโยงข้อมูลที่จำเป็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกรมศุลกากร

นอกจากนี้ ปี 2561 กนอ.ยังมีแนวคิดในการยกระดับระบบการอนุมัติอนุญาตให้เป็นแบบไร้กระดาษ แต่ยังคงไว้ซึ่งการยื่นระบบ การพิจารณา และการเชื่อมโยงฐานข้อมูลที่เป็นแบบเดิม เพียงแค่ผู้ประกอบการจดจำเลขที่หนังสืออนุญาตแล้วไปดำเนินพิธีการนำเข้า-ส่งออกสินค้าหรือวัตถุดิบถัดไปที่กรมศุลกากร โดยเจ้าหน้าที่จากกรมศุลฯ จะตรวจสอบเลขที่หนังสืออนุญาตในระบบฯ ที่ผู้ประกอบการแสดง อย่างไรก็ตาม กนอ.คาดว่าบริการรูปแบบใหม่นี้จะช่วยลดขั้นตอน เพิ่มความรวดเร็วให้แก่ผู้ประกอบการไม่ต้องเสียเวลา อย่างไรก็ตาม กนอ.อยู่ระหว่างการหารือร่วมกันกับกรมศุลกากร คาดว่าจะเสร็จภายในปี 2561.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

นร.หญิง ม.1 จมทะเลดับ หลังโรงเรียนพาไปทัศนศึกษาที่ระยอง

โรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งใน จ.นครราชสีมา พานักเรียนไปทัศนศึกษาที่ จ.ระยอง นักเรียนหญิง ม.1 ถูกคลื่นดูดลงทะเลขณะเล่นน้ำ เสียชีวิต พ่อแม่สุดเศร้าสูญเสียลูกสาวคนเดียวของครอบครัว

น้ำท่วมเชียงใหม่

เชียงใหม่จมบาดาล น้ำท่วมครั้งประวัติศาสตร์

น้ำท่วมในตัวเมืองเชียงใหม่ ยังวิกฤติ หลังน้ำในลำน้ำปิงขึ้นสูงสุดทรงตัวสูงกว่า 5.30 เมตร ซึ่งสูงที่สุดตั้งแต่มีการวัดระดับน้ำปิง

น้ำท่วมขนส่งเชียงใหม่กระทบผู้โดยสาร เปิดจุดจอดรับ-ส่งชั่วคราว

น้ำขยายวงกว้างเข้าท่วมสถานีขนส่งเชียงใหม่แห่งที่ 2 และ 3 เต็มพื้นที่ ระดับน้ำสูงเกือบ 50 ซม. ผู้ประกอบการขนส่งต้องนำรถทัวร์โดยสารออกมาจอดรับ-ส่งบนถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ ยืนยันผู้ประกอบการยังให้บริการตามปกติ

ระทึก! แท็กซี่พลิกคว่ำเกิดเพลิงไหม้ 5 ชีวิตรอดหวุดหวิด

รถแท็กซี่พลิกคว่ำและเกิดเพลิงลุกไหม้กลางถนนพระราม 9 ผู้โดยสารหญิงสติดีถีบประตูช่วยตัวเองและคนอื่นออกมาจากตัวรถรวม 5 ชีวิตได้ทัน แต่ในจำนวนนี้บาดเจ็บสาหัส 1 คน เป็นคนขับแท็กซี่ ตำรวจเร่งสอบสวนหาสาเหตุ

ข่าวแนะนำ

ไทยตอนบนฝนน้อย-อีสานอากาศเย็นตอนเช้า

กรมอุตุฯ เผยประเทศไทยตอนบนมีฝนน้อย โดยภาคอีสานมีอากาศเย็นในตอนเช้า ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง ส่วนกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง 20%

กต.ย้ำมีแผนพร้อมอพยพคนไทยในอิสราเอล-เลบานอน

กต.ประชุมประเมินสถานการณ์อิสราเอล-ฮิซบอลเลาะห์ในเลบานอน ย้ำมีแผนอพยพพร้อม เผย 5 แรงงานไทยเตรียมเดินทางกลับ แนะประชาชนตัดสินใจก่อนน่านฟ้าปิด

เตรียมตั้ง 7 เตาไฟฟ้า พิธีพระราชทานเพลิงศพ นร.-ครู 23 คน

เตรียมพื้นที่ตั้ง 7 เตาไฟฟ้า กลางสนามโรงเรียนวัดเขาพระยาสังฆาราม จ.อุทัยธานี ในพิธีพระราชทานเพลิงศพ นักเรียน-ครู 23 คน เหยื่อไฟไหม้รถบัสทัศนศึกษา วันที่ 8 ต.ค.นี้

เชียงใหม่ยังอ่วม เจอน้ำท่วมครั้งประวัติศาสตร์

แม้ระดับน้ำปิงที่ทะลักท่วมตัวเมืองเชียงใหม่เริ่มลดลง จากที่เคยขึ้นสูงสุดถึง 5.30 เมตร ซึ่งถือว่าสูงที่สุดเท่าที่เคยวัดระดับมา จนทำให้เชียงใหม่เผชิญกับน้ำท่วมครั้งใหญ่สุดเป็นประวัติการณ์ บ้านเรือนหลายพันหลังและย่านการค้ายังจมน้ำ บางจุดยังท่วมสูงกว่า 2 เมตร ยังต้องเร่งอพยพผู้คนออกจากพื้นที่น้ำท่วม หลายคนต้องใช้ชีวิตอยู่ในรถที่จอดบนสะพาน