กรุงเทพฯ 6 ธ.ค.-กัลฟ์ฯ
ยืนยันเดินหน้าลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าไอพีพี 5,000 เมกะวัตต์ ตามสัญญาเข้าระบบ ปี
64-68 แต่จะเลื่อนโรง 2 หรือไม่ ขึ้นอยู่กับ กฟผ.จะเจรจาอย่างไร โดย
บริษัทจะเริ่มกู้เงินโครงการแรกปลายปีหน้า คาดต้องกู้รวม 0.8- 1 แสนล้านบาท
นายสารัชถ์ รัตนาวะดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี
ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด(มหาชน) กล่าวว่าจนถึงขณะนี้ยังยืนยันการผลิตไฟฟ้าโครงการผลิตไฟฟ้าภาคเอกชน (ไอพีพี
)ตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (พีพีเอ)กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) 5,000 เมกะวัตต์
จำนวน 2 โรงไฟฟ้า เข้าระบบภายในปี 2564-2568 โดยจะเริ่มลงนามสัญญากู้เงินสำหรับโรงแรกในปลายปี
2561 วงเงิน 4-5 หมื่นล้านบาท โดยกู้จากธนาคารทั้งไทยและต่างประเทศ เช่น เจบิก
ธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย (เอดีบี ) ส่วนสัญญาเงินกู้โรงที่ 2 อีก 4-5 หมื่นล้านบาท
ก็คงจะเป็นการกู้ในระยะเวลาถัดไป
นายสารัชถ์ยอมรับว่าที่ผ่านมาภาครัฐได้พยายามเจรจาเลื่อนโครงการ
โรงที่ 2ออกไปด้วยเหตุผลสำรองไฟฟ้าที่สูง แต่ทั้งนี้ก็ยังไม่ชัดเจนก็ขึ้นอยู่แผนพัฒนากำลังไฟฟ้าระยะยาว
(พีดีพี) ที่รัฐบาลกำลังปรับใหม่ และขึ้นกับ กับ กฟผ.จะเจรจาให้เลื่อนหรือไม่ โดยยอมรับว่า จากทีมีข้อสังเกตเรื่องการลงทุนสายส่งของ
กฟผ.เพื่อรองรับโครงการ ทางบริษัทก็ได้มีการเสนอเงื่อนไขที่บริษัทจะลงทุนก่อสร้างสายส่งไปยัง
กฟผ. ซึ่งจะมีวงเงิน 1,900 ล้านบาทหรือไม่นั้น ยังตอบไม่ได้ ในขณะเดียวกันจากการที่ภาครัฐส่งเสริมโครงการระเบียงเศรษฐกิจ
ภาคตะวันออก หรืออีอีซี จึงคาดว่า ความต้องใช้ไฟฟ้าจะเพิ่มสูงขึ้น
และโครงการไอพีพี ของบริษัทก็จะช่วยรองรับความต้องการนี้
ทั้งนี้ หุ้นของกัลฟ์
ได้เทรดเป็นวันแรกในวันนี้(6ธ.ค.)ราคาเปิดที่ 59 บาทจากราคาไอพีโอ 45 บาท เป็นหุ้นที่มีมูลค่าไอพีโอ สูงสุดในรอบ 11 ปีเกือบ
2.4 หมื่นล้านบาท และ มีมาร์เก็ตแคปใหญ่ที่สุดในรอบ 16 ปี มูลค่าเกือบ 9.6 หมื่นล้านบาท
โดยกัลฟ์
จะนำเงินที่ได้จากการระดมทุนในค
และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน สำหรับการลงทุนในอนาคต โดยปัจจุบันกัลฟ์ เป็นผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ที่สุดของประเทศ
มีโครงการโรงไฟฟ้
(
(
6,353.6 เมกะวัตต์ในปี 2567
“ในปี2561 โรงไฟฟ้าเอสพีพีจะเข้าระบบอีก 4
โรงกำลังผลิตกว่า 100 เมกะวัตต์/โรง การขยายกำลังผลิตในอนาคต ทางบริษัทศึกษาเรื่องการลงทุนในเพื่อนบ้าน
ธุรกิจพลังงานทดแทน และธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับก๊าซ โรงไฟฟ้าก๊าซในประเทศที่ต้องรอดูว่าภาครัฐจะเปิดให้การแข่งขันอย่างไร
ในขณะเดียวกันจะปรับปรุงต้นทุนผลิตไฟฟ้าให้ต่ำที่สุด ซึ่งจะเป็นผลดีต่อค่าครองชีพของประชาชนและต้นทุนการผลิตของโรงงาน
ซึ่งจะสร้างความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ” นายสารัชถ์
กล่าว–สำนักข่าวไทย