กยท.ชี้แจงปัญหาราคายางยืนยันราคาเป็นไปตามกลไกตลาด

กรุงเทพฯ 12 พ.ย.-การยางแห่งประเทศไทย ชี้แจงปัญหาราคายางตก ยืนยัน สถานการณ์ยางพารา
ในช่วงเดือนกรกฎาคม
ตุลาคม ของทุกปีเป็นช่วงที่ปริมาณยางออกสู่ตลาดสูงทำให้ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลง


นายธีธัช  สุขสะอาด  ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย หรือ กยท.  ชี้แจงประเด็นกรณีนายถนอมเกียรติ ยิ่งฉ้วน
ที่ปรึกษาประธานเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางระดับประเทศ กยท. ซึ่งจะเดินทางไปยังกระทรวงเกษตรฯ
ในวันที่ 13 พ.ย.2560  เรียกร้องประเด็น
1.การดำเนินนโยบายผิดพลาดในการจัดตั้ง บริษัท ร่วมทุนยางพาราไทย จำกัด
ที่เป็นต้นเหตุของปัญหาวิกฤติราคายางอยู่ขณะนี้ และยื่นข้อเรียกร้องผ่านไปถึงรัฐบาล
3 ข้อ คือ ให้ กยท. ถอนหุ้นจาก บริษัท ร่วมทุน
และจัดตั้งบริษัทใหม่โดยถือหุ้นร่วมกับเกษตรกร     ให้ยึดระเบียบการบริหารราคายางพารา ตามตลาดกลางอย่างเคร่งครัด
 และ ให้รัฐบาลผลักดันนโยบายส่งเสริมการใช้ยางในหน่วยงานภาครัฐอย่างจริงจัง
เพื่อให้เกิดการใช้ยางในประเทศเพิ่มมากขึ้น

 โดย กยท.ขอชี้แจข้อเท็จจริง  คือ สถานการณ์ยางพารา ในช่วงเดือนกรกฎาคม ตุลาคม ของทุกปีเป็นช่วงที่ปริมาณยางออกสู่ตลาดสูงทำให้ราคายางในสภาพปกติมีแนวโน้มปรับตัวลดลง
สำหรับปี 2560 นี้ ภาพรวมราคายางเป็นไปตามกลไกตลาด โดยราคาทั้งในและต่างประเทศ
ปรับตัวในทิศทางเดียวกัน แต่ปัญหาราคายางขณะนี้ สาเหตุที่แท้จริงมาจาก 1.ปริมาณผลผลิตและความต้องการใช้ยางไม่สมดุลกัน
ส่งผลต่อราคาขาย โดยประเทศผู้ผลิตหลักทั้ง 3 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย
และมาเลเซีย ราคาปรับตัวลดลงเช่นเดียวกัน
แต่ราคายางในประเทศไทยยังคงสูงกว่าประเทศอื่น นอกจากนี้
ยังมีประเทศผู้ผลิตยางรายใหม่ มีผลผลิตเพิ่มมากขึ้นจากปี 2559 สูงมาก เช่น กัมพูชา
เพิ่มขึ้น 33.1% อินเดีย เพิ่มขึ้น 21.0% และ เวียดนาม เพิ่มขึ้น 11.3%
ทำให้ผลผลิตทั่วโลกเพิ่มขึ้น  2.
ปัจจัยด้านเศรษฐกิจชะลอตัว โดยเฉพาะประเทศผู้ใช้ยางรายใหญ่ของโลก ทั้งจีน สหรัฐฯ
และญี่ปุ่น ทำให้เกิดการชะลอซื้อของประเทศผู้ใช้ยางเหล่านี้ รวมถึง ความตึงเครียดทางการเมืองหลายประเทศ
ทำให้นักลงทุนชะลอการซื้อและราคาในตลาดล่วงหน้ามีความผันผวนอย่างรุนแรง
ส่งผลกระทบต่อราคายางในตลาดซื้อขายจริงในประเทศที่ปรับตัวลดลงตามไปด้วย 3.
การเก็งกำไรของนักลงทุนทั้งตลาดซื้อขายจริงในประเทศและตลาดล่วงหน้า
กระทบต่อการซื้อขายทำให้ราคาในตลาดนั้นๆ ผันผวนลดลงเช่นกัน
ซึ่งการดำเนินงานนโยบายของบริษัทร่วมทุน
ไม่ใช่ต้นเหตุของปัญหาราคายางที่กำลังเผชิญอยู่


โดยที่ประชุมร่วมกัน ระหว่างภาครัฐ และภาคเอกชน
เพื่อกำหนดมาตรการขับเคลื่อนการสร้างเสถียรภาพราคายาง เมื่อวันที่ 28 มิ.ย.60  โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และมี กยท.กับ
บริษัทยางพารารายใหญ่ 5 บริษัท เข้าร่วม ได้มีข้อตกลงร่วมกันระหว่างภาครัฐ ผู้ผลิต
และผู้ส่งออก ให้จัดตั้งกองทุนรักษาเสถียรภาพราคายาง
เพื่อกระตุ้นแรงซื้อตลาดภายในประเทศ และชี้นำราคา
ด้วยการซื้อขายยางผ่านตลาดซื้อขายจริง (ตลาดกลางยางพารา กยท.)
และการซื้อขายสัญญาผ่านตลาดล่วงหน้า หรือ ตลาดทีเฟลก โดยไม่เน้นการแสวงหากำไร
เพื่อให้ประโยชน์ของกองทุนฯ ตกอยู่ที่เกษตรกร และสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง
สามารถขายผลผลิตได้ในราคาที่สูงขึ้น

ที่ผ่านมา ผลดำเนินงานบริษัทร่วมทุนฯ ทำให้ราคายางปรับตัวขึ้นในระดับหนึ่งท่ามกลางราคายางที่มีทิศทางจะปรับลดลง
บริษัทร่วมทุนฯ จะเข้าไปประมูลยางในราคาที่ชี้นำ
ซึ่งเกษตรกรสามารถนำราคาไปอ้างอิงในการต่อรองซื้อขายกับผู้ซื้อในแหล่งอื่นๆ ได้
เช่น ผลของการประมูลในวันที่ 9
10 พ.ย. 60 ราคายางมีทิศทางจะปรับลดลง
บริษัทร่วมทุนฯ ได้เข้าประมูลในราคา 47.10 บาท ซึ่งหากบริษัทร่วมทุนฯ
ไม่เข้าประมูล ราคายางที่พ่อค้าเสนอจะอยู่ที่ 46.39
46.49
บาทเท่านั้น และในช่วงวันที่ 30 ตุลาคม
1 พ.ย.
บริษัทร่วมทุนฯ ชะลอการประมูลยางในตลาดตามที่แกนนำบางกลุ่มเรียกร้อง
ส่งผลให้ราคายางปรับลง 5.61 บาท

 ดังนั้น ที่ผ่านมา
บริษัทร่วมทุนฯ ได้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนฯ มาโดยตลอด
นอกจากนี้ ข้อเสนอเรื่องการจัดตั้งบริษัทโดยถือหุ้นร่วมกับภาคสถาบันเกษตรกร ในส่วน
กยท. จะต้องดำเนินการตามกระบวนการที่กระทรวงการคลังกำหนด
และสำหรับสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางสามารถเข้ามาร่วมหุ้นได้
แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อบังคับของแต่ละสถาบันเกษตรกร


โดย กยท.ได้ปรับระเบียบตลาดกลางยางพารา กยท.
พร้อมทั้งประกาศให้ผู้ซื้อและผู้ขายเข้าใจ และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด รวมถึง
กรณีบริษัท ร่วมทุนฯ ได้มีการรับทราบระเบียบ พร้อมทั้งดำเนินการแถลงข่าวและแก้ปัญหาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
เพื่อปฏิบัติตามระเบียบที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัดเช่นกัน

 โครงการส่งเสริมใช้ยางพาราในหน่วยงานภาครัฐ กยท.
ได้ประสานกับทุกหน่วยงานที่ได้รับงบประมาณอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2560
เป็นปีแรกที่มีการดำเนินโครงการตามนโยบาย มีหน่วยงานรัฐนำยางไปใช้ในรูปแบบน้ำยางข้น
จำนวน 10
,213.49 ตัน
และยางแห้ง จำนวน 1
,453.48 ตัน งบประมาณทั้งสิ้น 15,074,604,881.57 บาท  ปี 2561
แต่ละหน่วยงานอยู่ระหว่างดำเนินการตามแผนงานและระเบียบการจัดหาของตนเอง
ซึ่งภาครัฐจะใช้น้ำยางข้น จำนวน 9
,916.832 ตัน ยางแห้ง จำนวน
1
,132.3895 ตัน งบประมาณรวม 11,583,115,494.570 บาท

 ทั้งนี้
ภาครัฐจะเป็นหน่วยงานนำร่องใช้ยางในประเทศ ควบคู่กับการวิจัยและพัฒนา
เพื่อให้การนำยางไปใช้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุด
โดยเฉพาะการลดต้นทุนการผลิตในความคุ้มค่าต่อปริมาณยางและงบประมาณที่ใช้ อย่างไรก็ตาม
ทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นเอกชน สถาบันเกษตรกร รวมถึงภาคประชาชน
ต้องร่วมมือผลักดันและใช้ยางในประเทศร่วมกัน ทั้งนี้
บางโครงการรัฐได้ให้การสนับสนุนร่วมด้วย เช่น
โครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการยางผลิตภัณฑ์ยาง
วงเงิน 15
,000 ล้านบาท ทำให้มีปริมาณการใช้ยางในประเทศเพิ่มขึ้น 60,000 ตัน/ปี 
สร้างมูลค่าจากการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยาง กว่า 7
,600
ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างรอเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ
ที่จะจัดขึ้นเร็วๆ นี้การยางแห่งประเทศไทย (กยท.)
ยืนยันที่ผ่านมาดำเนินงานด้านบริหารจัดการเป็นไปตามแผนการดำเนินงาน
นโยบายและเป้าหมายที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะโลกปัจจุบันเปลี่ยนแปลง
ทำให้วิธีการทำงานต้องปรับให้เหมาะสม และอาจแตกต่างจากที่เคยปฏิบัติกันมา แต่
กยท.ยึดประโยชน์ต่อส่วนรวมเป็นหลัก ทั้งเกษตรกร สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง
ผู้ประกอบกิจการยาง และผู้เกี่ยวข้องในวงการยางพารา
หวังให้ทั้งระบบเกิดการพัฒนาอย่างมั่นคง และยั่งยืน

ขณะที่นายสุนันท์ นวลพรหมสกุล ในฐานะรองโฆษกการยางแห่งประเทศไทย
เผยว่า สถานการณ์ยางพารา ในช่วงเดือนกรกฎาคม
ตุลาคม
ของทุกปีเป็นช่วงที่ปริมาณยางออกสู่ตลาดสูง
ทำให้ราคายางในสภาพปกติมีแนวโน้มปรับตัวลดลง สำหรับปีนี้
ภาพรวมราคายางเป็นไปตามกลไกตลาด โดยราคาทั้งในและต่างประเทศ
ปรับตัวในทิศทางเดียวกัน แต่ปัญหาราคายางขณะนี้ สาเหตุที่แท้จริงมาจาก คือ  ปริมาณผลผลิตและความต้องการใช้ยางไม่สมดุลกัน
ส่งผลต่อราคาขาย โดยประเทศผู้ผลิตหลักทั้ง
3 ประเทศ ได้แก่
ไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ราคาปรับตัวลดลงเช่นเดียวกัน แต่ราคายางในประเทศไทยยังคงสูงกว่าประเทศอื่น
นอกจากนี้ ยังมีประเทศผู้ผลิตยางรายใหม่ มีผลผลิตเพิ่มขึ้นจากปี
2559 สูงมาก เช่น กัมพูชา เพิ่มขึ้น 33.1% อินเดีย
เพิ่มขึ้น
21.0% และ เวียดนาม เพิ่มขึ้น 11.3% ทำให้ผลผลิตทั่วโลกเพิ่มขึ้น   ปัจจัยด้านเศรษฐกิจชะลอตัว
โดยเฉพาะประเทศผู้ใช้ยางรายใหญ่ของโลก ทั้งจีน สหรัฐฯ และญี่ปุ่น
ทำให้เกิดการชะลอซื้อของประเทศผู้ใช้ยางเหล่านี้ รวมถึง
ความตึงเครียดทางการเมืองหลายประเทศ
ทำให้นักลงทุนชะลอการซื้อและราคาในตลาดล่วงหน้ามีความผันผวนอย่างรุนแรง
ส่งผลกระทบต่อราคายางของตลาดซื้อขายจริงในประเทศที่ปรับตัวลดลงตามไปด้วย   การเก็งกำไรของนักลงทุนทั้งตลาดซื้อขายจริงในประเทศและตลาดล่วงหน้า
กระทบต่อการซื้อขายทำให้ราคาในตลาดนั้นๆ มีความผันผวนลดลงเช่นกัน
.-สำนักข่าวไทย

 

 

 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผบช.น.ยอมรับการอบรมอาสาตำรวจให้คนจีนมีจริง-ตร.แค่เป็นวิทยากร

ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ยอมรับการอบรมอาสาตำรวจให้กับคนจีนมีจริง แต่เจ้าของโครงการ ไม่ใช่ตำรวจนครบาล 3 เพียงแต่ถูกเชิญไปเป็นวิทยากรเท่านั้น ส่วนเจ้าของโครงการ เป็นมหาวิทยาลัยชื่อดังย่านฝั่งธนบุรี

ชายวัย 53 เมาคว้าปืนลูกซองยิงเพื่อนบ้านวัย 60 ดับ ฉุนฉลองปีใหม่

ชายวัย 53 ปี อารมณ์ร้อน คว้าปืนลูกซองยิงชายวัย 60 ปี เสียชีวิต ฉุนนั่งย่างเนื้อให้ลูกๆ ที่กลับมาเยี่ยมบ้านฉลองปีใหม่

ก๋วยเตี๋ยวเนื้อ

นึกว่าแจกฟรี ก๋วยเตี๋ยวเนื้อตุ๋น เมืองเชียงใหม่

เอาใจสายเนื้อ ขึ้นเหนือไปกินก๋วยเตี๋ยวเนื้อ ย่านถนนราชดำเนิน กลางเมืองเชียงใหม่ ขายดิบขายดี นึกว่าแจกฟรี ลูกค้าต่อแถวยาวเหยียด

ข่าวแนะนำ

กต.เผยเมียนมาปล่อยนักโทษไทย 152 คน-ไม่มี 4 ลูกเรือประมง

กระทรวงการต่างประเทศ เผยเมียนมาปล่อยตัวนักโทษชาวไทย 152 คน แต่ยังไม่มี 4 ลูกเรือประมง ยืนยันพยายามอย่างเต็มที่

นศ.ซิ่งเก๋งชนเสาไฟล้ม 12 ต้น ทับรถ 3 คัน โค้งถนนกาญจนาภิเษก

นักศึกษาซิ่งเก๋งชนเสาไฟฟ้าล้ม 12 ต้น ทับรถที่วิ่งผ่านไปมาเสียหาย 3 คัน บริเวณโค้งถนนกาญจนาภิเษก ตัดเพชรเกษม ประชาชน 150 ครัวเรือนเดือดร้อนไฟดับ การไฟฟ้านครหลวงเร่งซ่อมแซม คาดเย็นนี้กลับมาใช้การได้ตามปกติ

นายหน้าลอยแพ 250 แรงงานไทย ไร้ตั๋วบินทำงานต่างประเทศ

ฝันสลาย แรงงานไทย 250 ชีวิต เหมารถมาสนามบินเก้อ หวังได้ไปทำงานในต่างประเทศ สุดท้ายไม่มีตั๋วบิน รวมตัวแจ้งความตำรวจ หวั่นถูกหลอกสูญเงินกว่า 12 ล้านบาท