สำนักข่าวไทย 1 พ.ย.- แพทย์ย้ำ โอกาสเกิดกล้ามเนื้อสลายจากการวิ่งมาราธอนเกิดขึ้นได้แต่น้อยมาก พบในคนไม่เคยใช้แรงออกกำลังกายอย่างหนักมาก่อน หากมีการฝึกฝน แนะดื่มน้ำให้พอเหมาะไม่น่าเกิดอันตราย
นพ.ธเนศ เติมกลิ่นจันทร์ นายแพทย์ชำนาญการกลุ่มงานประสาทวิทยา สถาบันประสาทวิทยา กล่าวถึง โรคกล้ามเนื้อสลาย ว่า เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้ พบในกลุ่มมีการใช้อวัยวะ หรือกล้ามเนื้อที่มีการใช้พลังงานสูง มักเกิดกับคนที่มีเคยมีการออกกำลังกายอย่างหนัก หรือได้รับการฝึกฝนมาก่อน แต่ต้องมีการใช้แรงงานเยอะ โดยพบมากใน คนที่เล่นกีฬายกน้ำหนัก การวิ่งมาราธอน ในคนที่ไม่เคยวิ่งมาก่อน แต่ในกรณีตูน บอดี้สแลม ที่วิ่งแบบอัลต้ามาราธอนนั้น เชื่อว่าในทีมวิ่ง จะมีทีมแพทย์คอยดูแล และตูนเอง ก็เคยผ่านการวิ่งมาแล้ว จึงไม่น่ากังวลมาก แต่ถามว่ามีโอกาสเกิดขึ้นได้หรือไม่ ก็ตอบว่าได้ โดยต้องระวังเรื่องการคำนวณการดื่มน้ำในพอเหมาะ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะกล้ามเนื้อสลาย
นพ.ธเนศ กล่าวว่า ภาวะกล้ามเนื้อสลาย เกิดขึ้นได้ จาการที่ใช้กล้ามเนื้อเป็นเวลานานเกิดการอักเสบ ของร่างกาย กล้ามเนื้อมีการหดตัส มีผลการขับโซเดียมในร่างกาย หากมีการวิ่งในที่ร้อนจัด ดื่มน้ำน้อยหรือมากเกินไปก็มีโอกาสเกิดขึ้น ส่วนการเสียชีวิตจากภาวะกล้ามเนื้อสลาย ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้เช่น แต่เป็นผลมาจาก ร่างกายเมื่อเกิดภาวะกล้ามเนื้อสลายเกิดร้อยละ 70 ร่างกายจะขับโปรตีนออกมาจำนวนมาก ทำให้ไตทำงานหนัก โดยกล้ามเนื้อที่มีการอักเสบ จะเกิดการบวมโต แสดงว่าไตทำงานผิดปกติ ทำให้เกิดภาวะไตวายเสียชีวิตได้
นพ.ธเนศ กล่าวว่า อาการของภาวะกล้ามเนื้อสลายจะปรากฎชัด หลังมีการหยุดพักใน 1-2 วัน หากรุนแรงจะมีปัสสาวะสีดำร่วม ฉะนั้นตลอดการวิ่งต้องคำนวณการดื่มน้ำในพอเหมาะ และไมควรรับประทานยาแก้อักเสบกลุ่มเอ็นเซส และหากเลิกวิ่งแล้ว ก็ไม่ได้เกิดอันตรายภายหลัง เนื่องจากกล้ามเนื้อสามารถซ่อมแซมได้ภายใน 3-6 เดือน ก็กลับปกติ .-สำนักข่าวไทย