ผลสำรวจพบเลือกตั้งเทศบาลซื้อเสียงสูงถึง 4,000 บาทต่อหัว

กรุงเทพฯ 2 พ.ค. – ผลสำรวจพบเลือกตั้งเทศบาลซื้อเสียงสูงถึง 4,000 บาทต่อหัว ประชาชนส่วนใหญ่ปฏิเสธคนโกง ต้องการผู้สมัครที่มีนโยบายต้านคอร์รัปชัน รับไม่ได้หากผู้สมัครมีประวัติทุจริต เครือข่ายหวังคนรุ่นใหม่เป็นกำลังสำคัญต้านคอร์รัปชัน วอน กกต. ตรวจเข้มเลือกตั้ง 11 พ.ค.นี้


มูลนิธิ “เพื่อคนไทย” ร่วมกับมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ร่วมกันแถลง “ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล และนายกเทศมนตรี” โดยสำรวจความคิดเห็นประชาชน 1020 ตัวอย่างทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 16-25 เมษายน 2568 โดยแบ่งเป็นผลสำรวจความเห็นผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง (อายุ 18 ปีขึ้นไป) จำนวน 711ตัวอย่าง และกลุ่มที่ยังไม่มีสิทธิเลือกตั้ง (อายุ 15-17 ปี) จำนวน 309 ตัวอย่าง

โดยในกลุ่มอายุ 18 ปีขึ้นไป ประชาชนร้อยละ 66.1 ระบุว่าเคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับการทุจริตของนักการเมืองท้องถิ่น โดยรูปแบบทุจริตคอร์รัปชันในเทศบาลที่เจอบ่อยคือ เรียกรับสินบนแลกออกใบอนุญาตต่างๆ ร้อยละ 18 เรียกเงินทอนจัดซื้อจัดจ้างกับผู้รับเหมา/รับจ้าง ร้อยละ 17.8 และรับธุรกิจสีเทาให้ดำเนินกิจการในท้องถิ่นโดยไม่ถูกตรวจสอบ ร้อยละ 14.7


ทั้งนี้ ประชาชนร้อยละ 94.7 อยากมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชันในระดับท้องถิ่นหรือในจังหวัด และร้อยละ 68 ระบุว่าถ้าไม่มีนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันจะไม่เลือก ประชาชนร้อยละ 65.9 รับไม่ได้หากสมาชิกสภาเทศบาลและนายกเทศมนตรีมีการทุจริตคอรัปชันบ้าง แต่มีผลงานและทำประโยชน์ให้พื้นที่ และมากถึงร้อยละ 87.3 ระบุว่าการที่ผู้สมัครเคยมีความคุ้นเคยไม่เป็นสาเหตุให้ตัดสินใจเลือก

ประชาชนร้อยละ 47.4 เชื่อว่าในการเลือกตั้งครั้งนี้จะมีการซื้อเสียงเกิดขึ้น เฉลี่ยอยู่ที่ 1,110 บาทต่อคน (ซื้อเสียงสูงสุด 4,000 บาทต่อคน และต่ำสุด 120 บาทต่อคน) โดยประชาชนร้อยละ 86.4 มองว่าการซื้อเสียงไม่สามารถชักจูงให้ประชาชนเลือกผู้สมัครที่ให้เงินได้และ 84.2% ยอมรับไม่ได้หากมีการซื้อเสียงการเลือกตั้ง และร้อยละ 86.1 บอกว่ารับเงินแล้วจะไม่เลือกคนที่จ่ายเงิน

นอกจากนี้ร้อยละ 79 ระบุว่าหากพิสูจน์ได้ว่าผู้สมัครเคยมีประวัติทุจริตจะไม่เลือก รวมถึงบอกให้บุคคลในครอบครัวไม่เลือกเช่นกัน ประชาชนส่วนใหญ่ระบุว่ามีบุคคลในภูมิใจในการเลือกตั้งวันที่ 11 พฤษภาคม 2568 แล้วทั้งนายกเทศมนตรีและสมาชิกสภาเทศบาล โดยร้อยละ 87.9 บอกว่าจะไปใช้สิทธิเลือกตั้ง โดยร้อยละ 56 เชื่อมั่นน้อยว่าระบบการเลือกตั้งท้องถิ่นปัจจุบันจะได้คนดีมีความสามารถ


โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งในครั้งนี้ ได้แก่ นโยบายการพัฒนาพื้นที่ ความน่าสนใจของตัวผู้สมัคร ประวัติการทำงานที่ผ่านมา ความสามารถในการบริหารงบประมาณ วิสัยทัศน์และการเป็นผู้นำ

ขณะที่ผลสำรวจความเห็นประชาชนกลุ่มอายุ 15-17 ปี เกือบครึ่งไม่พอใจผลงานของนายกเทศมนตรีและสมาชิกสภาเทศบาลปัจจุบัน ส่วนใหญ่มากกว่าครึ่งมองว่ามีการบริหารงานที่ไม่โปร่งใส โดยร้อยละ 77.3 ระบุว่าหากมีโอกาสเลือกตั้งจะไม่เลือกหากไม่มีนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชัน และร้อยละ 67.3 รับไม่ได้หากสมาชิกสภาเทศบาลและนายกเทศมนตรีมีการทุจริตคอร์รัปชันบ้าง แม้จะมีผลงานและทำประโยชน์ให้พื้นที่ นอกจากนี้ร้อยละ 66.7 ระบุว่าจะไม่เรียกผู้สมัครหากพิสูจน์ได้ว่าเคยมีประวัติทุจริต

โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือก ได้แก่ ความซื่อสัตย์สุจริต ไม่โกงกิน ความน่าสนใจของตัวผู้สมัครกระแสกลุ่มการเมืองคนรุ่นใหม่ ประวัติการทำงานที่ผ่านมา

ทั้งนี้ ในการสำรวจคาดว่าจะมีเงินสะพัดในช่วงการเลือกตั้ง สภาเทศบาลและนายกเทศมนตรี จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งกว่า 48 ล้านคน กรณีมาเลือกตั้งร้อยละ 87.9 จะมีเงินสะพัดมากกว่า 42 ล้านบาท มาเลือกตั้งร้อยละ 66.51 จะมีเงินสะพัดมากกว่า 32 ล้านบาท และหากมาเลือกตั้งร้อยละ 50 จะมีเงินสะพัดมากกว่า 24 ล้านบาท

รศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า เป็นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยทำงานกับภาคีภาคสังคม โดยเริ่มขยายขอบเขตการต่อต้านคอร์รัปชันลงถึงฐานหน่วยเลือกตั้งหน่วยแรก จากผลสำรวจทั้งสองกลุ่มเป้าหมายชัดเจนว่าประชาชนมองว่าการโกงป็นสิ่งไม่ดี พร้อมจะปฏิเสธคนไม่ดี ถ้าได้ทราบประวัติหรือข้อบกพร่อง จะเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจเลือก ผลสำรวจบอกซื้อเสียงเฉลี่ย 1,100 บาทต่อหัว แต่ในสนามจริง มีถึง 2,000 บาท จึงขอฝากเรื่องนี้ไปถึง กกต.

สำหรับเยาวชนอายุ 15-17 ปี ยังไม่มีสิทธิเลือกตั้ง เน้นความโปร่งอันดับ 1 ขณะที่ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ให้ความสำคัญเรื่องนี้ลำดับท้ายๆ ทำให้ภาคีเครือข่ายเห็นร่วมกันว่ามีความหวังกับคนรุ่นใหม่

อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจเห็นชัดเจนว่าประชาชนปฏิเสธผู้นำองค์กรที่ไม่ซื่อสัตย์ไม่สุจริตและพร้อมจะร่วมมือทุกภาคส่วนในการกำจัดคอร์รัปชัน และในระดับท้องถิ่นยังมีการซื้อเสียง มีการทุจริตและน่าจะมีเงินสะพัดมาก ยิ่งหากมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจการเมืองหลัง เดือนพฤษภาคม ตัวเลขเงินสะพัดน่าจะมากกว่านี้ คาดหวังว่า กกต. น่าจะทำงานเข้มข้นขึ้นเพื่อสกัดการซื้อสียง เพื่อให้ได้คนโปร่งใส ผลสำรวจยังบอกว่าในอนาคตของภาคีภาคสังคมทั้งองค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ และอีกหลายองค์กร จะขับเคลื่อนงานในระดับพื้นที่มากขึ้น เพราะประชาชนต้องการมีส่วนร่วม เหมือนสุนัขเฝ้าบ้านจะทำให้ภาคประชาชนมีพลัง การสำรวจ การเลือกตั้งระดับเทศบาลจึงสำคัญเพราะเป็นการเลือกตั้งในระดับพื้นฐาน ถ้ามีการทุจริตในการเลือกตั้งระดับนี้ การเลือกตั้งระดับอื่นย่อมจะมีตามมาด้วย

นายวิเชียร พงศธร ประธานกรรมการมูลนิธิ “เพื่อคนไทย” กล่าวว่า ผลสำรวจชัดเจนว่าประชาชนรับทราบว่ามีการทุจริตคอร์รัปชันกว้างขวาง และไม่ยอมรับคนโกง มีผลต่อมิติต่างๆ ในชีวิตความเป็นอยู่ จึงไม่พอใจกับผลงานของผู้บริหารเทศบาลในอดีต และเมื่อเลือกตั้งเสร็จแล้ว ประชาชนยังอยากมีส่วนร่วมติดตาม ตรวจสอบ งานสำรวจครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งในโครงการชื่อ “1 สิทธิ์พลิกชีวิตมหาศาล” ที่มีภาคสังคมหลายองค์กรทำร่วมกัน อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้งคราวนี้ เรามีความหวังกับเยาวชนอายุ 15-17 ปี ที่จะเข้ามาร่วมพัฒนาความเป็นประชาธิปไตยให้เข้มแข็งได้

ดร.มานะ นิมิตรมงคล ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า รูปแบบการโกง พฤติกรรมการโกงในภาครัฐและในท้องถิ่น ไม่แตกต่างกัน และมีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สาธารณูปโภค โครงสร้างพื้นฐานของประเทศ สำหรับเงินซื้อเสียงในที่ผ่านมาการเลือกตั้งท้องถิ่น ระดับ อบจ. มีการซื้อเสียง 700-800 บาท ต่อหัว แต่ครั้งนี้หน่วยเลือกตั้งเล็กลง จำนวนเงินซื้อเสียงจะมากขึ้น ในระดับ อบต. ที่มีงบลงทุนหรือมีผลประโยชน์สูง หรือแหล่งท้องเที่ยวอัตราการซื้อเสียงจะมีผลประโยชน์มากขึ้น บางจุดพุ่งไป 10,000 กว่าบาท แต่การดำเนินคดีน่าผิดหวัง นำคนผิดมาลงโทษได้น้อยมาก หวังว่าความตื่นตัวของประชาชนจะช่วยกันเฝ้าระวัง บันทึกหลักฐาน แชร์ในโซเขียลมีเดียจะช่วยกระตุ้นให้ กกต. ทำงานได้มากขึ้น.-516-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

แจ้งความผู้ว่าสตง.

2 พิธีกรดังเข้าแจ้งความกล่าวโทษผู้ว่าฯ สตง. เหตุตึก สตง.ถล่ม

สองพิธีกรชื่อดัง เข้าแจ้งความกล่าวโทษ ผู้ว่าฯ สตง. และอดีตผู้ว่าฯ สตง. เหตุตึก สตง.แห่งใหม่ถล่ม แต่ไม่มีใครรับผิดชอบ มองอาจไม่ชอบมาพากล หวั่นเวลาผ่านไปเอาผิดใครไม่ได้

ก้อนปูนตกใส่รถ

กทพ. แจงก้อนปูนตกใส่รถผู้ใช้ทาง มีคนโยนลงมาจากสะพานลอย

กทพ. ชี้แจงกรณี ก้อนปูนตกใส่รถผู้ใช้ทาง ไม่ได้เกิดจากการกระเทาะของโครงสร้างทางพิเศษบูรพาวิถี แต่มีผู้โยนลงมาจากสะพานลอย จ่อประสานตำรวจตามตัวดำเนินคดี

ปล่อยกู้ดอกโหด

บุกทลาย “บ้านเสี่ยโน้ต” ปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยมหาโหด 1,825% ต่อปี

ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) บุกทลาย “บ้านเสี่ยโน้ต” ปล่อยเงินกู้เฉพาะผู้หญิง คิดดอกเบี้ยมหาโหดร้อยละ 1,825 ต่อปี ไม่จ่ายโดนข่มขู่ประจานไม่เลือกหน้า

ข่าวแนะนำ

แอนแทรกซ์

สธ.เผยติดเชื้อแอนแทรกซ์โอกาสตายสูงถึง 80%

สธ. เผยแอนแทรกซ์ เป็นโรคติดต่อร้ายแรง โอกาสเสียชีวิตสูงถึง 80% ส่วน จ.เลย ชาวบ้านพบวัวตายตัว สำนักงานปศุสัตว์ฯ ลงพื้นที่ตรวจสอบเบื้องต้น คาดกินเชือกไนล่อนมัดฟางเข้าไป ทำให้อุดตันทางเดินอาหาร ไม่น่าเกิดจากโรคระบาดสัตว์ เนื่องจากวัวในฝูงที่เหลืออยู่ ยังมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงดี

ค้นหาร่างใต้ตึกถล่ม

คาดไม่เกิน 1 สัปดาห์ ทราบชัดมีผู้ติดค้างในซากอาคาร สตง.หรือไม่

คาดไม่เกิน 1 สัปดาห์ จะทราบชัดมีผู้ติดค้างในซากอาคาร สตง. หรือไม่ ปัจจุบันการทำงานบริเวณทางเชื่อมด้านอาคารจอดรถด้านหลังยังลงไปไม่ถึงพื้นของชั้นใต้ดิน

หอพักรังสิต

“จิราพร” ส่งทีมตรวจเข้มหอพักย่านรังสิต หลังร้องถูกเจ้าของเอาเปรียบ

“จิราพร” ส่งทีม สคบ. ร่วมกับตำรวจ ลงพื้นที่ตรวจเข้มหอพักย่านรังสิต หลังพบผู้ร้องเรียนถูกเจ้าของเอาเปรียบ

ภาคใต้ฝนเพิ่ม ส่วนไทยตอนบนยังมีฝนฟ้าคะนองลมกระโชกแรง

กรมอุตุฯ เตือนภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและตกหนักบางแห่ง ระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ส่วนภาคเหนือ อีสาน และภาคกลาง ยังคงมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่ง อากาศร้อนตอนกลางวัน กรุงเทพฯ และปริมณฑล ฝนฟ้าคะนอง 60% ของพื้นที่