สคร. เผย ช่วยดันสินทรัพย์รัฐวิสาหกิจไทยโต 3 เท่าภายใน 15 ปี

กรุงเทพฯ 3 ต.ค. – สคร. เผย
ช่วยดันสินทรัพย์รัฐวิสาหกิจไทยโต 3 เท่าภายใน 15 ปี
พร้อมเดินหน้าสานต่อการลงทุนร่วมรัฐ-เอกชน เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน


นายเอกนิติ
นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กล่าวว่า
ตลอดระยะเวลาการดำเนินงาน 15 ปี ของ สคร.
ได้มีส่วนในการช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศพร้อมกับการกำกับการดำเนินงานด้วย
ธรรมาภิบาล ผ่านภารกิจหลัก
3 ด้าน ได้แก่ ด้านรัฐวิสาหกิจ ด้านหลักทรัพย์ของรัฐ และด้านการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน(PPP) ซึ่งได้มีการจัดตั้ง PPP Fast Track ที่ช่วยทำให้โครงการก่อสร้างพื้นฐานภาครัฐ
ทำได้รวดเร็ว และมีความรอบคอบมากยิ่งขึ้น
โดยในปีงบประมาณที่ผ่านมาสามารถขับเคลื่อนโครงการได้ 
340,000 ล้านบาท นอกจากนี้ยังได้มีการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย
หรือ
Thailand Future Fund เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนทางเลือกให้แก่ภาครัฐในการจัดทำโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ 
อีกทั้งยังได้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจ โดยกำหนดให้ผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจ
ต้องมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในรัฐวิสาหกิจนั้นๆ 
ซึ่งผ่านมติคณะรัฐมนตรีเรียบร้อยแล้ว /


ทั้งนี้ ผลการดำเนินงาน 15 ปีที่ผ่านมา ของ
สคร. ส่งผลให้สินทรัพย์รัฐวิสาหกิจรวม
จากปี 2546 มีมูลค่า 4.3 ล้านล้านบาท
มาอยู่ที่
15
ล้านล้านบาทในปี
2560  หรือคิดเป็นประมาณ 3 เท่าตัว
ขณะที่หลักทรัพย์ของรัฐ เพิ่มสูงขึ้นจากปี
2546 ที่ 300,000 ล้านบาท มาอยู่ที่ 1.15 ล้านล้านบาทในปี
2560 และด้านการลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน
ปัจจุบันมีมูลค่าถึง
3.35 แสนล้านบาท

ขณะที่ แผนยุทธศาสตร์ปีงบประมาณ 2561
ได้ตั้งเป้าที่จะดูแลงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ ให้ขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่า ร้อยละ
10 ต่อปี ซึ่งปีงบประมาณที่ผ่านมา สามารถขยายตัวได้ร้อยละ 20 สูงเป็นประวัติการณ์ ทำให้เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2
ขยายตัวได้ ร้อย
3.7

ส่วนหลักทรัพย์ที่ถือครองอยู่ในขณะนี้
จำนวน
109 หลักทรัพย์
จะทำแผนยุทธศาสตร์ บริหารจัดการหลักทรัพย์ให้เเล้วเสร็จ ภายใน ไตรมาส
1 ปีหน้า
โดยเฉพาะการทำแผนจำหน่ายหลักทรัพย์ที่ไม่จำเป็นต่อยุทธศาสตร์ของประเทศ
ในจำนวนมูลค่ากว่า
370,000 ล้านบาท อาทิ  การขายหุ้นที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ที่ภาครัฐดำเนินการยึดมาได้
โดยจะต้องทบทวนวิธีการขายหลักทรัพย์ให้เหมาะสม


สำหรับกรอบแนวคิดในการจัดแผนยุทธศาสตร์ PPP โดยมีมูลค่าโครงการลงทุนรวม 1.62 ล้านล้านบาท สำหรับ 55 โครงการลงทุน โครงการส่วนใหญ่เป็นโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะของกระทรวงคมนาคม
ประมาณร้อยละ
94 อาทิ โครงการท่าเรือสาธารณะ
โครงการขนส่งทางรางภายในประเทศ โครงการลงทุนถนน รถไฟความเร็วสูง เป็นต้น
ซึ่งได้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว 16 โครงการ คาดว่า ในปี 2561 จะสามารถดำเนินโครงการได้สำเร็จ 4 โครงการ โดยประเมินว่าในปี 2563-2564
จะมีเม็ดเงินลงทุนเข้าสู่ระบบประมาณร้อยละ 40 ซึ่งแผนยุทธศาสตร์นี้เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

ขณะที่ร่างพระราชบัญญัติ
(พ.ร.บ.) การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ คาดว่าจะนำเสนอ ครม.
พิจารณาได้ภายในเดือนธันวาคม
2560.-สำนักข่าวไทย

 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง