ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : สตาร์ตรถนอน เสี่ยงเสียชีวิต จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์เตือนว่า ห้ามสตาร์ตรถนอน เพราะอาจเสียชีวิตได้ เรื่องนี้จริงหรือไม่ ?


🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ สุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์

เรื่องนี้จริงและแชร์ต่อได้ แต่ก็มีคนแย้งว่าทำแล้วไม่เห็นเป็นอะไรเลย เรียกว่าอยู่ที่พื้นที่จอดรถและเวลาในการนอนด้วย


ทำไมถึงบอกว่า “ห้ามสตาร์ตรถนอน” ?

เครื่องยนต์ระบบสันดาปสามารถปล่อยก๊าซพิษออกมาได้

โดยปกติแล้วขณะที่อยู่ในรถยนต์จะมีก๊าซพิษ 2 ตัวหลัก ๆ คือ


1. คาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon dioxide) ออกจากร่างกายคนเรา

2. คาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon monoxide) ออกจากปลายท่อไอเสียรถยนต์

ทั้งคาร์บอนไดออกไซด์ และคาร์บอนมอนอกไซด์ มีน้ำหนักเบากว่าก๊าซออกซิเจน (Oxygen) เวลาขับรถยนต์ปกติและรถเคลื่อนที่ไปข้างหน้าตลอดเวลา ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ที่พ่นออกมาก็กระจายอยู่ในบรรยากาศ

การขับรถยนต์เคลื่อนที่ไปข้างหน้าก็จะมีก๊าซออกซิเจนเข้ามาในตัวรถด้วย และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่กระจายอยู่ในรถก็ถูกดันออกไปด้านนอกตัวรถด้วย

ถึงแม้ว่าคนเราจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาตลอดเวลา แต่รถยนต์ถูกออกแบบให้อากาศภายนอกหมุนเวียนเข้ามาได้ จึงทำให้สามารถขับขี่รถยนต์ได้โดยไม่มีปัญหา

กรณีการจอดรถยนต์บริเวณที่อากาศถ่ายเทไม่ดี ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์จากท่อไอเสียรถยนต์สามารถย้อนกลับเข้ามาในตัวรถยนต์ได้

ก๊าซพิษสามารถเข้าสู่ตัวรถยนต์ทางไหน ?

รถยนต์แต่ละคันจะมีช่องระบายที่เปิด-ปิดอัตโนมัติตามแรงลม

ดังนั้น การจอดรถยนต์บริเวณที่การถ่ายเทอากาศไม่ดี ก๊าซพิษก็จะอยู่บริเวณรอบตัวรถจะซึมผ่านเข้าตัวรถส่งผลกับคนที่อยู่ในรถยนต์ได้

ขณะที่เราหายใจนำก๊าซออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย เม็ดเลือดแดงจับกับออกซิเจนไหลเวียนสู่ระบบต่าง ๆ ในร่างกาย

แต่ถ้าเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และคาร์บอนมอนอกไซด์ที่เราหายใจเข้าสู่ร่างกาย ปรากฏว่าคาร์บอนมอนอกไซด์เบากว่าก๊าซออกซิเจน ขณะที่อยู่ในพื้นที่จำกัดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์สามารถรวมตัวกับเม็ดเลือดแดงได้ดีกว่าก๊าซออกซิเจน 2 เท่า นั่นคือตัวเราซึมซับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ได้ดีกว่าก๊าซออกซิเจน

สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ ขณะนอนหลับ ตัวก๊าซที่เข้ามาคนเราหายใจปกติ อากาศหมุนเวียนจากภายนอกเข้ามาในตัวรถยนต์ได้น้อยลงกว่าเดิม มีก๊าซพิษเข้ามาสู่เม็ดเลือดแดงได้ดีมากขึ้นกว่าเดิม ร่างกายได้รับก๊าซออกซิเจนน้อยลง สมองก็ทำงานช้าลง เกิดอาการง่วง ซึม หลับ และถึงขั้นหมดสติได้ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต

การนำรถยนต์ไฟฟ้าตั้งแคมป์และนอนหลับในรถยนต์ ทำได้จริงหรือ ?

รถยนต์ไฟฟ้ามีโหมดตั้งแคมป์ และบอกว่านอนได้ปลอดภัย

ตัวรถยนต์ไฟฟ้าถึงแม้จะไม่มีมลพิษจากท่อไอเสียรถยนต์ (ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์) แต่คนเราปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ดังนั้น ถ้าจะนอนในรถยนต์ไฟฟ้า มีสิ่งที่ควรจะต้องทำ ได้แก่

1. เปิดระบบปรับอากาศภายในตัวรถยนต์เป็นอัตโนมัติ เมื่อเป็นระบบอัตโนมัติแล้วตัวระบบจะปรับช่องทิศทางกระจายลมปรับอากาศภายในห้องโดยสาร พร้อมกับเปิด-ปิดช่องรับอากาศจากภายนอกเข้ามา เพื่อลดความเสี่ยงจากขาดก๊าซออกซิเจน หรือมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการหายใจออกปริมาณมากเกินไป

2. ต้องแน่ใจว่าจุดที่ตั้งแคมป์จอดรถยนต์ไฟฟ้า ไม่มีเพื่อนร่วมทางจอดรถยนต์สันดาปติดเครื่องอยู่

3. จอดรถยนต์ตั้งแคมป์ บริเวณที่มีอากาศถ่ายเทดี ถึงแม้จะไม่มีรถยนต์สันดาปติดเครื่องอยู่ใกล้ ๆ ก็ตาม

4. ไม่ควรนำเต็นท์ขนาดใหญ่ครอบรถยนต์ไฟฟ้าขณะตั้งแคมป์ เพราะต้องระมัดระวังเรื่องอากาศหมุนเวียนและมีช่องทางให้ก๊าซออกซิเจนเข้ามาในห้องโดยสารด้วย

5. สถานที่จอดรถยนต์จะต้องมีอากาศถ่ายเทดี เป็นพื้นที่โล่ง มีลมผ่านและสามารถพัดไอเสียออกไปจากตัวรถได้

6. ไม่ควรนอนหลับในรถยนต์ที่สตาร์ตเครื่องไว้เป็นเวลานาน แต่ควรนอนพักสายตาช่วงเวลาสั้น ๆ 10-15 นาที เพราะถ้านานกว่านี้อาจเกิดอันตรายได้ เพราะถ้าต้องการนอนพักนาน ๆ ควรหาสถานที่ปลอดภัยและดับเครื่องยนต์นอนพักได้อย่างปลอดภัย

คำเตือน “สตาร์ตรถนอน เสี่ยงเสียชีวิต” นี้สามารถแชร์ต่อได้

“คาร์บอนไดออกไซด์” : ก๊าซอันตราย

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ก่อโรคได้ทางหนึ่งโดยการแทนที่ออกซิเจน (Asphyxiant) ทำให้ออกซิเจนในอากาศมีไม่พอ จึงเกิดพิษจากภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ (Hypoxia) ขึ้นได้ การที่มีคาร์บอนไดออกไซด์คั่งในเลือด (Hypercapnia) ไม่ว่าจะจากการขาดออกซิเจนหรือได้รับคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปมากก็ตาม จะทำให้เลือดเป็นกรด (Acidosis) เกิดการขยายตัวของหลอดเลือด กระตุ้นระบบหายใจให้หายใจเร็วขึ้น ทำให้หัวใจเต้นเร็ว และกดสมอง

อาการเฉียบพลัน การได้รับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่ร่างกายโดยการสูดหายใจเข้าไปเป็นหลัก

การสัมผัสกับก๊าซที่ผิวหนังหรือกลืนกินเข้าไปไม่ทำให้เกิดพิษ เมื่อสูดหายใจเอาก๊าซเข้าไป ในระยะแรกจะทำให้เกิดอาการหายใจเร็ว หายใจลึกขึ้น ความดันเลือดสูงขึ้น หัวใจเต้นเร็ว ชีพจรเร็ว หากได้รับในปริมาณมากขึ้น จะเริ่มมีผลกดสมอง ทำให้ซึมลง ปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ มึนงง สับสน การได้ยินลดลง และรบกวนการมองเห็น เนื่องจากสมองถูกกดการทำงาน ที่ผิวหนังจะเกิดหลอดเลือดขยายตัว เหงื่อออก กล้ามเนื้อสั่นกระตุก (Tremor) อาจพบมีคลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสียได้ บางรายอาจมีอาการคลั่ง (Panic) หากได้รับปริมาณสูงมากจะทำให้หมดสติ และเสียชีวิตในที่สุด

อาการพิษจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นี้มักจะพบร่วมกับภาวะขาดออกซิเจน (Hypoxia) ได้เสมอ ซึ่งภาวะขาดออกซิเจนอาจนำไปสู่อาการอย่างอื่นๆ เช่น สมองตาย ไตเสื่อม ตาบอด ตามมาได้

อาการระยะยาว การได้รับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ระดับสูงกว่าปกติสามารถพบได้ในตึกที่ระบบระบายอากาศไม่ดี ระดับของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สะสมนั้น ถูกใช้เป็นตัวชี้วัดหนึ่ง เพื่อดูอัตราการไหลเวียนของอากาศภายในอาคาร ผลของการได้รับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปนาน ๆ อาจทำให้ปวดหัวบ่อย กดสมอง มึนงง ง่วงซึม เครียด ความดันเลือดและอัตราการหายใจอาจเพิ่มสูงขึ้นได้

ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://www.sci.psu.ac.th/news/2021/07/get-to-know-carbon-dioxide/

ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ : ส่งผลร้ายต่อร่างกายได้อย่างไร

คาร์บอนมอนอกไซด์ เป็นก๊าซพิษที่ทำร้ายร่างกาย มีอันตรายถึงชีวิต โดยก๊าซปะปนอยู่ในอากาศ หลายครั้งที่มีการสูดดมเข้าไปในปริมาณมากก่อให้เกิดโรคร้ายตามมา และบางกรณียังทำให้เสียชีวิตฉับพลัน

  • ร่างกายได้รับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์
  • คาร์บอนมอนอกไซด์แย่งจับฮีโมโกบินในเม็ดเลือดแดง
  • ทำให้ฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงส่วนที่เหลือไม่ปล่อยออกซิเจนให้กับเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
  • ร่างกายขาดออกซิเจน เนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกายทำงานผิดปกติ
  • ทำให้เกิดอาการ เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง เจ็บแน่นหน้าอก หอบเหนื่อย หมดสติ ชัก โคม่า และเสียชีวิตในที่สุด

ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/infographic/ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์-ส่/

พิษจากก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์

“คาร์บอนมอนอกไซด์” เป็นก๊าซที่พบได้ในควันจากไฟไหม้ อุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่มีการใช้เครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ รวมถึงท่อไอเสียรถยนต์

ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และไม่ระคายเคือง จึงทำให้ผู้ที่ได้รับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เข้าไปจะไม่รู้ว่าตนเองกำลังสัมผัสก๊าซอยู่

กลไกการเกิดพิษของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เกิดจากการที่ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์มีความสามารถในการจับกับฮีโมโกลบินมากกว่าออกซิเจนประมาณ 200-250 เท่า ซึ่งเมื่อจับแล้วจะกลายเป็นสารประกอบคาร์บอกซีฮีโมโกลบิน ทำให้มีฮีโมโกลบินที่จับกับออกซิเจนในเลือดน้อยลง ส่งผลให้เม็ดเลือดแดงขนส่งออกซิเจนไปยังเนื้อเยื่อส่วนปลายได้ลดลง เนื้อเยื่อในร่างกายจึงเกิดภาวะขาดออกซิเจน

อาการพิษจากก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ที่พบได้บ่อย คือ ปวดศีรษะ และเวียนศีรษะ

อาการอื่น ๆ ที่พบได้ เช่น คลื่นไส้ อ่อนเพลีย สับสน และอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่

การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับอันตรายจากก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ให้นำผู้ป่วยออกจากจุดที่มีการสัมผัสก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ และให้อยู่ในสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเท ถอดเสื้อผ้าผู้ป่วยที่สัมผัสก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ดังกล่าว เปลี่ยนเป็นเสื้อผ้าที่สะอาด ร่วมกับการให้ออกซิเจน 100% โดยเร็ว และให้การรักษาแบบประคับประคองอย่างใกล้ชิด และบางรายอาจพิจารณาการให้ออกซิเจนความดันบรรยากาศสูงตามความเหมาะสม

ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJHP/article/view/249897

สัมภาษณ์โดย ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์

เรียบเรียงโดย คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล

ดูเพิ่มเติมรายการ ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : สตาร์ตรถนอน เสี่ยงเสียชีวิต จริงหรือ ?

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เหล้าเถื่อนลาว

เสียชีวิตรายที่ 6 คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว

คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเสียชีวิตเพิ่มรายที่ 6 เป็นหญิงชาวออสเตรเลีย เสียชีวิตขณะรักษาตัวในไทย

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษา ทบ.

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก ช่วยปฏิบัติราชการที่กองบัญชาการกองทัพบก หลังถูกร้องทำร้ายร่างกายผู้ใต้บังคับบัญชา พร้อมช่วยเจ้าทุกข์ย้ายหน่วยตามร้องขอ

ไฟไหม้โรงงานพัดลม เผาวอดเสียหายกว่า 50 ล้าน

ไฟไหม้โรงงานผลิตพัดลมรายใหญ่ จ.สมุทรสาคร ระดมรถดับเพลิงระงับเหตุ กว่า 5 ชม. จึงควบคุมไว้ได้ในวงจำกัด เบื้องต้นเสียหายกว่า 50 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

ศึกชิงนายก อบจ.เพชรบุรี แชมป์เก่ายังแรง

เลือกตั้งนายก อบจ.เพชรบุรี ไม่คึกคัก ผลไม่เป็นทางการ “ชัยยะ อังกินันทน์” แชมป์เก่า คะแนนนำทิ้งห่างคู่แข่ง ด้านเลขาฯ กกต. เผยภาพรวมทั้ง 3 จังหวัด คนมาใช้สิทธิน้อย คาดเบื่อเลือกตั้ง 2 รอบ

คะแนนไม่เป็นทางการ เลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ

ลุ้นผลคะแนนเลือกตั้งนายก อบจ.นครศรีธรรมราช นับเสร็จแล้วบางหน่วย ล่าสุด ณ เวลา 19.40 น. “วาริน ชิณวงศ์” เบอร์ 2 จากทีมนครเข้มแข็ง ชนะคู่แข่งขาดลอยในหลายหน่วย คะแนนทิ้งห่างแชมป์เก่า “กนกพร เดชเดโช” เบอร์ 1 จากพรรค ปชป.

ลุ้นผลเลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานี ขณะนี้การนับคะแนนตามหน่วยต่างๆ เสร็จสิ้นแล้ว อยู่ในขั้นตอนการรวมคะแนน ซึ่งในเขตเมือง ผลปรากฏว่าผู้สมัครจากพรรคประชาชนมีคะแนนนำ แต่อำเภอรอบนอก ตัวแทนพรรคเพื่อไทยมีคะแนนนำอยู่หลายหน่วยเลือกตั้ง

เร่งประสานอินเตอร์โพลขอหมายแดงล่าตัว “หมอบุญ”

ตำรวจเตรียมออกหมายจับเครือข่าย “หมอบุญ” ฉ้อโกง ลอต 2 รวมทั้งเร่งประสานอินเตอร์โพล ออกหมายแดงล่าตัว “หมอบุญ” กลับมาดำเนินคดี