สภาไม่รับข้อสังเกตรายงาน กมธ.ศึกษาแนวทางนิรโทษกรรม

รัฐสภา 24 ต.ค.-สภาไม่รับข้อสังเกตรายงาน กมธ.ศึกษาแนวทางการตรา พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ส่งแต่ตัวรายงานให้ ครม. ด้านประธาน กมธ. ย้ำไม่มีเรื่องแก้ ม.112 เป็นเพียงเปิดทางรับทราบข้อเท็จจริง และสมัยประชุมหน้ามีร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมทางการเมืองรอ 4 ฉบับ

การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ช่วงบ่ายวันนี้ (24 ต.ค.) มีนายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง เป็นประธานการประชุม ได้พิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม


น.ส.ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ กรรมาธิการฯ อภิปรายว่า การนิรโทษกรรมทางการเมืองเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนในยุคนี้ ในเมื่อนักการเมือง จับมือกันได้ ทำไมถึงมีปัญหากับการนิรโทษกรรมให้กับประชาชน ซึ่งการนิรโทษกรรมคือความหวังของพี่น้องประชาชน และเมื่อถามแกนนำผู้ชุมนุมทุกคน ที่มาชี้แจงต่อกรรมาธิการฯทุกคนเห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมโดยรวมคดีมาตรา112 ซึ่งการนิรโทษกรรม ไม่ใช่การแก้ไขกฎหมาย หรือยกเลิกกฎหมาย แต่ทำให้ประชาชนได้กลับไปเริ่มต้นชีวิตใหม่ และถ้าไม่รวม มาตรา112 ก็ไม่เห็นประโยชน์อะไร ที่จะมานิรโทษกรรม เพราะคดีส่วนใหญ่ที่ตนว่าความเกือบร้อยละ 90มาจากมาตรการตรา 112

นายชัยธวัช ตุลาธน กรรมาธิการฯ กล่าวว่า ในอดีตเราเคยมีการนิรโทษกรรมคดีมาตรา 112 มาแล้ว กรณี 6 ตุลา ฯ แลัในข้อเท็จจริงปฏิเสธไม่ได้ว่า แม้จำนวนคดี112 อาจจะดูน้อย แต่คดีทางการเมืองที่เป็นความขัดแย้ง มีการโต้เถียงกัน มีข้อวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีกระบวนการยุติธรรมมีปัญหา ไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ในกระบวนการยุติธรรมอย่างที่ควรจะเป็นนั้น ล้วนแล้วแต่อยู่ที่คดีตามมาตรา 112 ทั้งสิ้น ปรากฏการณ์ที่เราถกเถียงกันในสภาในหลายครั้งก็สะท้อนชัดเจนว่า เรื่องคดีตามมาตรา 112 เป็นความขัดแย้งที่มีนัยสำคัญอย่างแหลมคมในการเมืองไทยในปัจจุบัน ดังนั้นหากเราไม่พิจารณานิรโทษกรรมตามคดี 112 ด้วย จะคลี่คลายความขัดแย้งได้จริงหรือไม่ จึงเป็นที่มาข้อเสนอทางเลือกอีกทางเลือกหนึ่งในรายงานนิรโทษกรรม ซึ่งเข้าใจฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมคดี 112 ทั้งหมดทีเดียวเลย กับฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยด้วยเหตุผลต่างๆ จึงเป็นที่มาว่าเรามีพื้นที่ตรงกลางที่พอจะยอมรับร่วมกันได้หรือไม่ คือการพิจารณานิรโทษกรรมคดีมาตรา 112 อย่างมีเงื่อนไข โดยมีคณะกรรมาธิการขึ้นมาพิจารณา


นายชัยธวัช กล่าวว่า เราให้อำนาจกับคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นมาตามกฎหมาย ในการตั้งกระบวนการกำหนดเงื่อนไข กำหนดมาตรการในการพิจารณาเป็นรายคดีว่าคดีตามมาตรา 112 แต่ละคดีมีรายละเอียดอย่างไร และควรจะให้สิทธิ์ในการพิจารณานิรโทษกรรมหรือไม่ เช่น รูปธรรม อาจจะเป็นกระบวนการที่ต้้งคณะกรรมการขึ้นมา เพื่อให้ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดได้มีโอกาสที่จะแถลงข้อเท็จจริง ว่าเหตุอะไรที่ทำให้พวกเขามีพฤติกรรมแบบนั้นจนถูกดำเนินคดี เพื่อเป็นโอกาสที่เรารับฟังผู้ที่ถูกกล่าวหาแล้วปรับความเข้าใจ ลดช่องว่างของความเข้าใจซึ่งกันและกันให้ได้มากที่สุด ให้ผู้ที่ถูกกล่าวหามีโอกาสสานเสวนากับผู้เห็นต่าง รวมถึงฝ่ายความมั่นคงและรัฐบาลในการรับฟัง ให้ข้อเท็จจริงอีกด้าน แลกเปลี่ยนความเห็นที่แตกต่างกัน เราอาจจะได้ข้อมูลและความเห็นที่เป็นประโยชน์ในการนำไปสู่ความปรองดอง สุดท้ายกระบวนการนี้ เราสามารถนำไปสู่การกำหนดเงื่อนไขได้ว่า ถ้ายอมที่จะเข้าสู่กระบวนการ พิจารณานิรโทษกรรม จะต้องกระทำการแบบไหนบ้าง ในช่วงเวลาที่กำหนด ระหว่างนั้นก็พัก การดำเนินคดี พักการรับโทษไปก่อน และเมื่อถึงเวลาก็สามารถเข้าสู่การนิรโทษกรรมได้อย่างสมบูรณ์ และเราอาจจะใช้โอกาสนี้ในการพลิกวิกฤตเป็นโอกาส ที่จะปกป้องส่งเสริมความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์ในสังคมไทย

นายจาตุรนต์ ฉายแสง กรรมาธิการฯ กล่าวว่า ต้องกล่าวถึงความเป็นมาก่อนที่จะมาเกิดรายงานนี้ พบว่ามีความขัดแย้งเกิดขึ้นหรือต่อเนื่องกันมา 20 ปี มีบางพรรค มีประชาชน เสนอร่างกฎหมายนิรโทษกรรมเข้ามาที่สภาแห่งนี้ มีการหารือกันพิจารณากันแล้ว เพื่อไทยได้ตัดสินใจว่าต้องการให้สส ทั้งหลายมีความคิดเห็น มีการศึกษากันอย่างให้จริงจังถ่องแท้เสียก่อน ที่จะไปพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหล่านั้น พรรคเพื่อไทยจึงได้เสนอ ญัตติตั้งกรรมาธิการคณะนี้ มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคเพื่อไทยเป็นประธาน สมาชิกจากทุกพรรคเข้ามาเป็นกรรมาธิการฯ โดยไม่มีกรรมาธิการฯคนใดมีความเห็นหรือแสดงความเห็นแตกต่างว่าไม่เห็นชอบกับรายงาน จะมีความแตกต่างกันที่บันทึกไว้ ก็คือมีความเห็นต่อการนิรโทษกรรมคดีที่มีความอ่อนไหว ซึ่งเขาก็เปิดโอกาสให้กรรมาธิการแต่ละคนให้ความเห็นส่วนตัวเป็นบันทึกเอาไว้

นายจาตุรนต์ กล่าวว่า รายงานนี้ได้ตอบคำถามสิ่งที่ประชาชนต้องการ คือการคลี่คลายปัญหาความขัดแย้งของสังคมไทยใน 20 ปีมานี้ เขาถึงได้บอกว่ามีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องแก้ไขความขัดแย้งที่มีมานาน การนิรโทษกรรมเป็นความจำเป็นเร่งด่วน อันจะนำมาซึ่งความปรองดองสมานฉันท์ และทำให้สังคมคืนสู่สภาพปกติ ถ้าเราไม่เห็นชอบข้อสังเกตเท่ากับเราไม่เห็นชอบกับข้อความนี้ แต่ข้อความนี้มันจะช่วยตอบคำถามแก้ปัญหาคลี่คลายความขัดแย้งทางสังคมได้ แม้แก้ไม่ได้หมด และการนิรโทษได้นำมาใช้หลายครั้ง เฉพาะปี 48 มาถึงปัจจุบัน มีการนิรโทษกรรม งคณะรัฐประหาร โดยนิรโทษกรรมให้ตนเองไปอย่างสบายสบาย และต้นเหตุทำให้มีผู้มาสนับสนุนการรัฐประหารก็เกิดเป็นคดีการเมือง มีผู้ต่อต้านการรัฐประหาร ก็เกิดเป็นคดีการเมือง มีผู้ไม่เห็นด้วยกับการปกครองของคณะรัฐประหารก็เป็นคดีที่เกิดจากแรงจูงใจทางการเมืองคณะรัฐประหาร นิรโทษตัวเองไปแล้ว แต่ผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายทุกฝ่ายยังต้องอยู่กับการถูกดำเนินคดีถูกลงโทษ ทั้งๆที่เป็นเรื่องคดีทางการเมือง กรรมาธิการบางคนอภิปรายว่า จะนิรโทษกรรมต้องยอมรับสารภาพว่าผิดเสียก่อน อันนั้นท่านเข้าใจผิด การนิรโทษกรรมในอดีตไม่ใช่อย่างนั้น การนิรโทษกรรมในอดีตในกรณีของ6ตุลา เขานิรโทษไม่ใช่ว่านักศึกษายอมรับกระทำผิด เพราะนักศึกษาไม่ได้ทำผิดอะไรเลย แต่เขาตั้งข้อหากล่าวหาร้ายแรงขึ้นศาลทหาร สุดท้ายพิจารณากันไปทั่วโลกประณามการรัฐไทยที่ไปทำอย่างนั้นกับนักศึกษาประชาชน ในที่สุดรัฐบาลในขณะนั้นจึงต้องนิรโทษกรรมทุกคนในเหตุการณ์ ซึ่งความจริงแล้วเป็นการนิรโทษผู้ที่สั่งให้ฆ่านักศึกษาประชาชนด้วยซ้ำ แต่ประชาชนได้ ด้วย


นายจาตุรนต์ กล่าวว่า ส่วนกรณีที่จะใช้คำว่าคดีที่มีความอ่อนไหวทางการเมือง กรณีนี้ ฟังดูแล้วมีผู้ห่วงว่า รายงานนี้จะทำให้เกิดการแก้ไขการนิรโทษ เรื่องที่เกี่ยวกับมาตรา112 ขอย้ำว่าไม่มีข้อสรุปเกี่ยวกับการนิรโทษคดี 112 วันนี้ไม่ใช่การเสนอพ.ร .บ. แก้ไขมาตรา 112 แต่ควรจะตั้งคำถามว่า คดีเกี่ยวกับมาตรา 112 เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความขัดแย้งทางการเมือง หรือความขัดแย้งในสังคมไทยหรือไม่ ถ้ามีเรื่องความขัดแย้งทางการเมืองและความขัดแย้งทางสังคมที่ไปโยงกับมาตรา112 เราจะแก้ปัญหาความขัดแย้งทางสังคมกันอย่างไร แล้วจะทำยังไงกับการบังคับใช้กฎหมายนี้ เป็นเรื่องที่ต้องศึกษากันต่อ และไม่ใช่ว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เป็นวาระโอกาสที่พรรคการเมืองจะมาแข่งกัน แสดงความจงรักภักดี ว่าจะเห็นด้วยกับการนิรโทษก็แสดงว่าไม่จงรักภักดี

ด้านนายชูศักดิ์ ศิรินิล ประธานคณะกรรมาธิการฯ กล่าวว่า รายงานนี้มิใช่การเสนอกฎหมาย ว่าจะนิรโทษกรรมการกระทำอะไรมาตราอะไร เข้าใจว่า หลายท่านที่อภิปรายไป คงเข้าใจตรงกันแล้วว่า รายงานนี้เป็นเพียงการศึกษาหาแนวทางในการตรากฎหมายหรือตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมว่ามาควรจะเป็นอย่างไร จะนิรโทษกรรมการกระทำอะไรบ้าง แต่โดยนัย มีความหมายเรื่องแรกก็คือ ให้มีการนิรโทษกรรมการกระทำทางการเมือง ที่มีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง ตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา ซึ่งทุกคนเห็นด้วย คือวไม่ได้ฟันธงเรื่องว่าจะมีนิรโทษกรรม มาตรา 112 หรือไม่ เป็นเพียงความเห็นกว้างๆ 3 ทาง และเราสรุปไว้ในข้อสรุปท้ายว่า เรื่องนี้ยังเป็นประเด็นอ่อนไหว ยังมีความเห็นขัดแย้ง ตนคิดว่าโดยส่วนตัวของกรรมาธิการฯมีความรู้สึกว่าประเด็นใดที่ยังไม่มีข้อยุติ ทางออกของประเทศที่ดีที่สุดก็คือการรับรู้รับทราบ ข้อเท็จจริงทุกฝ่ายว่าเขามีความเห็นอย่างไร ท้ายสุดแล้วถ้าเราไม่ทราบข้อเท็จจริง ไม่รับทราบเหตุการณ์การกระทำที่เกิดขึ้นทั้งหลาย ผลสุดท้ายจะกลายเป็นว่า ว่าเราจะตรากฎหมายโดยไม่รอบคอบ ไม่ระมัดระวัง และจะกลายเป็นปัญหาของสังคมในอนาคต ความจริงตนเชื่อว่ารายงานเนี้เป็นประโยชน์สำหรับสมาชิกที่จะนำไปศึกษา ที่ประกอบการพิจารณา ว่าถ้าเราจะตรากฎหมายนิรโทษกรรม แล้วควรจะคำนึงถึงอะไรบ้าง ควรจะมีสาระสำคัญอย่างไร

นายชูศักดิ์ กล่าวด้วยว่า อย่างน้อยที่สุด เปิดประชุมสมัยหน้ามา จะมี ร่างกฎหมาย 4 ร่างกฎหมาย ที่พวกเราคงจะต้องมาพิจารณาร่วมากันอีกครั้งหนึ่ง โดยมีร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่บุคคลลซึ่งได้กระทำความผิดอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ขัดแย้งทางการเมือง พ ศ เสนอโดยนายชัยธวัช ตุลาธน มีร่างพ.ร.บ.สร้างเสริมสันติสุข ของนายปรีดา บุญเพลิง ร่างพ.ร.บ. สร้างเสริมสันติสุข พ.ศ. ของนายพิชัย สุขสวาสดิ์ และร่างพระราชบัญญ.การนิรโทษกรรมประชาชน เสนอโดยนายพูนสุข พูนสุขเจริญ กับประชาชน 36,400 กว่าคน ซึ่งร่างกฎหมายเหล่านี้อยู่ในระเบียบวาระ

ภายหลังเปิดให้กรรมาธิการและสมาชิกชี้แจง สุดท้ายที่ประชุมฯ ได้ลงมติเกี่ยวกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ ปรากฎว่า ที่ประชุมเสียงข้างมาก มีมติ 268 ต่อ 149 เสียง ไม่เห็นด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ โดยมีผู้งดออกเสียง 5 คน ทำให้ข้อสังเกตตกไป โดยสภาจะส่งเฉพาะรายงานให้ ครม.เท่านั้น

ทั้งนี้ ในช่วงท้ายก่อนการลงมติ บรรยากาศภายในห้องประชุมเป็นไปอย่างเข้มข้น เมื่อนายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งทำหน้าที่ประธานการประชุมได้ให้สมาชิกแจ้งว่ามีใครไม่เห็นด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการหรือไม่ พร้อมกับผู้รับรอง

ทำให้ นพ.ชลน่าน สส.น่าน พรรคเพื่อไทย ลุกขึ้นประท้วง และแย้งว่า ประธานฯ ทำผิดข้อบังคับ เพราะเมื่อสภาฯ มีข้อสังเกตต้องให้ลงมติ ไม่ใช่เสนอญัตติ โดยจะต้องถามว่าใครเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ ปรากฏว่า นายพิเชษฐ์ได้โต้แย้งอย่างมีอารมณ์ว่า ก็ลงมติไงครับ จนนายแพทย์ชลน่าน ชี้หน้าว่า “หากท่านทำไม่ได้ก็เปลี่ยนให้รองประธานสภาฯ คนที่ 2 เถอะครับ” ซึ่งนายพิเชษฐ์ ได้กล่าวอย่างมีอารมณ์ว่าไม่ต้องชี้หน้า.-312.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ประหารชีวิตแอมไซยาไนด์

ศาลอาญาพิพากษาประหารชีวิต “แอม ไซยาไนด์”

ศาลอาญาพิพากษาประหารชีวิต “แอม ไซยาไนด์” ส่วนอดีตสามี คุก 1 ปี 4 เดือน “ทนายพัช” คุก 2 ปี ไม่รอลงอาญา ชดใช้ ให้ผู้เสียหายกว่า 2 ล้านบาท

นายกฯ ถกตั้งนายพลตำรวจ 41 ตำแหน่ง ยันไม่มีการเมืองแทรก

นายกฯ ถกแต่งตั้งนายพลตำรวจ 41 ตำแหน่ง ยันไม่มีการเมืองแทรก ยึดตาม พ.ร.บ.ตำรวจ ฉบับใหม่ พลิกโผ ‘สยาม บุญสม’ ผงาดคุมนครบาล ‘สันติ ชัยนิรามัย’ นั่ง ผบช.ปส. ‘ไตรรงค์ ผิวพรรณ’ โยกคุมไซเบอร์ ‘ภาณุมาศ บุญญลักษม์’ ขึ้นเป็น ผบช.สตม.

ดีเอสไอพบเส้นเงินโอนจากแม่ถึงนักการเมือง ส. เกือบ 100 ล้าน

ดีเอสไอพบเส้นเงินโอนจากแม่ถึงนักการเมือง ส. เกือบ 100 ล้านบาท จำนวนนี้พบโอนจาก “บอสพอล-บอสปีเตอร์” ด้วย เร่งขยายผลมีบอสรายอื่นโอนเข้าบัญชีดังกล่าวอีกหรือไม่

ข่าวแนะนำ

อุตุฯ เผยเหนือ-อีสาน อากาศเย็นในตอนเช้า ภาคใต้ฝนตกหนักบางแห่ง

กรมอุตุฯ เผยภาคเหนือ ภาคอีสาน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง ส่วนภาคใต้ มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง

“เอวา” เสือโคร่งสายแบ๊ว ดาวรุ่งดวงใหม่

หน้าตาที่น่ารักบ้องแบ๊วเหมือนแมวตัวโต ตกหัวใจคนรักสัตว์กันไปเต็มๆ สำหรับน้องเอวา เสือโคร่งสายแบ๊วของเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี นอกจากหน้าตาน่ารักแล้วยังมีความสามารถหลายอย่าง จนกลายเป็นดาวรุ่งดวงใหม่ ที่ผู้คนแห่ไปชมความน่ารักกันอย่างคึกคัก คาดจะช่วยดึงนักท่องเที่ยวไปที่เชียงใหม่ไนท์ซาฟารีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ต้อนรับอบอุ่น “โอปอล” รองอันดับ 3 มิสยูนิเวิร์ส 2024 ถึงไทย

กลับถึงไทยแล้ว “โอปอล สุชาตา” รองอันดับ 3 มิสยูนิเวิร์ส 2024 ปรากฏตัวในชุดไทย สวยสง่า แฟนนางงามต้อนรับอย่างอบอุ่น

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก