fbpx

“ไก่ถังพิษณุโลก” สูตรเด็ดจากบ่อเกลือพันปี

พิษณุโลก 22 ส.ค. – ผ่านมาต้องชิม “ไก่ถังพิษณุโลก” สูตรเด็ด เคล็ดลับใช้วัตถุดิบพื้นถิ่นอย่างเกลือจากบ่อเกลือพันปี อ.นครไทย ปรุงเป็นสูตรเฉพาะ อบในถังนวัตกรรมสมัยใหม่ ได้ไก่ฉ่ำๆ กินคู่น้ำจิ้มแจ่ว อร่อยละมุนลิ้น


นี่คือเมนูไก่ถังพิษณุโลก ที่ใช้วัตถุดิบพื้นถิ่น อย่างเกลือจากบ่อเกลือพันปี อ.นครไทย น้ำตาลโตนด อ.วัดโบสถ์ และขิง อ.ชาติตระการ ปรุงเป็นสูตรเฉพาะ หมักด้วยเคล็ดลับพิเศษของทางร้าน และอบในถังนวัตกรรมสมัยใหม่ ที่สามารถย่นระยะเวลาในการอบได้ไวขึ้น ที่สำคัญจะทำให้เนื้อไก่มีความฉ่ำ สุกอย่างทั่วถึง เสิร์ฟพร้อมน้ำจิ้มแจ่วรสเด็ด อร่อยละมุนลิ้น ราคาเพียงตัวละ 200 บาท ที่ร้านฟ้าไทยฟาร์ม ถนนพิษณุโลก-นครสวรรค์ ต.ท่าทอง อ.เมือง จ.พิษณุโลก

นายสุพัฒน์ เผ่าธัญลักษณ์ ที่ปรึกษาผู้จัดการร้านฟ้าไทยฟาร์ม บอกว่า ร้านอาหารฟ้าไทยฟาร์ม อยู่คู่กับ จ.พิษณุโลก มานานกว่า 40 ปี เมนูเด็ดตอนนี้คือ “ไก่ถังพิษณุโลก” ซึ่งสูตรทั่วไปจะหมักด้วยน้ำมันหอย รากผักชี ลูกผักชี เม็ดผักชี แต่ของเราไม่เหมือนที่อื่น เราใช้เกลือจากบ่อเกลือพันปี ต.บ่อโพธิ์ อ.นครไทย จ.พิษณุโลก เพราะเกลือจากบ่อโพธิ์ นอกจากมีโซเดียมแล้ว ยังมีแร่ธาตุบางอย่างที่จะทำให้เนื้อไก่เกิดกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ และสามารถกลบกลิ่นคาวของไก่ได้เป็นอย่างดี


นอกจากนี้ เรายังใช้ความหวานของน้ำตาลโตนด อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก ซึ่งขึ้นชื่อเรื่องความหอม นำมาปรุงน้ำสำหรับอาบไก่ ตามสูตรเด็ดเคล็ดลับของทางร้าน ใช้วิธีอบไก่ประมาณ 20 นาที แล้วนำไก่ขึ้นมาอาบน้ำ เป็นน้ำอุ่นผสมน้ำตาลโตนดตามสูตรของเรา เพื่อเคลือบผิวไก่ ทำให้หนังไก่มีความหวานเค็มเป็นคาราเมลไลซ์ และนำไปอบต่ออีก 10 นาที ตัวหนังไก่จะมีความกรอบจากน้ำตาลที่เราเคลือบไว้

และส่วนประกอบที่ 3 เราใช้ขิงจาก อ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก เพราะขิงที่นี่เป็นภูมิปัญญาของคนสมัยก่อน ช่วยดับกลิ่นคาวไก่ที่ไม่พึงประสงค์ แล้วนำไปอบในถังนวัตกรรมสมัยใหม่ ที่เราได้คิดค้นร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ และมหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นถังสแตนเลส 2 ชั้น คนที่สัมผัสกับถัง จะไม่ได้สัมผัสกับความร้อนโดยตรงจากการอบ ซึ่งมีความปลอดภัยมากกว่า และตัวถังสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน ถอดชิ้นส่วนขนย้ายได้ง่าย และถังอบตัวนี้สามารถใช้กับระบบเตาถ่านก็ได้ แก๊สก็ได้ 1 ถัง สามารถอบไก่ไซซ์ 1 กิโลกรัม ได้จำนวน 12 ตัว ถ้าเป็นไก่ไซซ์ 1.5 กิโลกรัม จะได้ 10 ตัว ใช้ระยะเวลาในการอบประมาณ 20 นาที ซึ่งไวกว่าการอบถังสมัยเก่า โดยถังใหม่ของเราจะมีตัวช่วยเรื่องการกระจายความร้อนให้สม่ำเสมอและทั่วถึง ทำให้ไก่สุกไวอย่างทั่วถึง แต่ยังคงความฉ่ำของไก่ไว้ได้เป็นอย่างดี โดยต้นทุนของตัวถังนวัตกรรมสมัยใหม่นี้อยู่ที่ประมาณ 30,000 บาท. – สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

นายกตรวจน้ำท่วมเชียงราย

นายกฯ บินเชียงราย ติดตามสถานการณ์น้ำท่วม

“นายกฯ แพทองธาร” ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำท่วม เตรียมมอบถุงยังชีพแก่ผู้ประสบภัยในพื้นที่ จ.เชียงราย พร้อมตรวจเยี่ยมการลำเลียงสิ่งของช่วยเหลือของกองทัพ

ชิงทองระนอง68บาท

รวบแล้วโจรชิงทอง 68 บาท กลางห้างดังระนอง

รวบแล้ว 2 คนร้ายชายหญิง จี้ชิงทอง 68 บาท ในห้างดังกลางเมืองระนอง ฝ่ายชายรับสารภาพ ชีวิตตกต่ำ ไม่มีรายได้ จึงชวนหลานสาววัย 16 ปี มาร่วมก่อเหตุชิงทอง

น้องชายรัวยิงพี่สาวตายกลางงานศพแม่ อ้างฉุนไม่ให้ร่วมจัดงานศพ

น้องชายชักปืนรัวยิงพี่สาวเสียชีวิตกลางงานศพแม่ ภายหลังน้องชายเข้ามอบตัวกับตำรวจ อ้างเหตุผลฆ่าเพราะโมโห รู้สึกว่าพี่สาวใจดำมากที่กีดกันไม่ให้ตนช่วยจัดงานศพแม่

บุกทลายโรงงานผลิตยาเถื่อน ย่านทุ่งครุ

เจ้าหน้าที่ อย. ร่วมสืบนครบาล บุกทลายโรงงานผลิตยาเถื่อน ย่านทุ่งครุ มีเบาะแสต้นตอการทะลักของยาเขียวเหลือง ตะลึงพบซากจิ้งจกตายในหม้อต้ม ขณะที่เจ้าของโรงงานยันประกอบอาชีพโดยสุจริต

ข่าวแนะนำ

ภูเก็ตฝนตกต่อเนื่อง ชาวบ้านหวั่นเขาถล่มซ้ำ

หลังจากตลอดทั้งคืนที่ผ่านมาจนถึงเวลานี้ จ.ภูเก็ต มีฝนตกต่อเนื่อง ทำให้หลายพื้นที่เผชิญกับน้ำท่วมขัง ขณะที่พื้นที่ ต.กะรน จุดที่เคยเกิดดินถล่ม มีผู้เสียชีวิต 13 ราย เมื่อเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา ชาวบ้านในพื้นที่อยู่อย่างผวา เพราะกลัวดินจากภูเขาจะถล่มซ้ำอีก

ช่วย 143 นักท่องเที่ยวติดเกาะราชาใหญ่ ขึ้นฝั่งภูเก็ตปลอดภัย

ศรชล.ภาค 3 ร่วมกับทัพเรือภาคที่ 3 ส่งเรือ ต.111 ช่วยเหลือนักท่องเที่ยวต่างชาติ 143 คน ติดค้างบนเกาะราชาใหญ่ กลับเข้าฝั่ง จ.ภูเก็ต ได้อย่างปลอดภัย

น้ำในตัวเมืองหนองคายใกล้แห้ง หลังโขงพ้นวิกฤติ

หลายตำบลใน อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย น้ำยังท่วมสูงและเพิ่มระดับ บางจุดถูกตัดขาดมากว่า 2 สัปดาห์ ถือว่าหนักสุดในรอบ 30 ปี ขณะที่ในตัวเมือง น้ำใกล้แห้ง หลังระดับแม่น้ำโขงใกล้พ้นจุดวิกฤติ

ภาคเหนือเร่งฟื้นฟูความเสียหาย ชาวบ้านหวั่นพายุถล่มซ้ำ

หลายพื้นที่ทางภาคเหนือยังไม่ทันฟื้นฟูความเสียหายจากน้ำท่วมครั้งที่ผ่านมา แต่ชาวบ้านต้องเตรียมตัวรับกับพายุลูกใหม่ หลายคนยังไม่กล้ากลับไปอาศัยในบ้าน เพื่อรอจนกว่าพายุลูกนี้จะผ่านพ้นไปก่อน