กรุงเทพฯ 24 ก.ค. – การยางแห่งประเทศไทย หรือ กยท. เผยน้ำหมักชีวภาพจากปลาหมอคางดำ จะเริ่มแจกจ่ายให้แก่เกษตรกรในโครงการแปลงใหญ่สวนยางได้ต้นเดือนกันยายนนี้ ย้ำงบประมาณจัดซื้อปลาหมอคางดำมาเป็นวัตถุดิบมาจากกองทุนพัฒนายางพาราสำหรับการดำเนินธุรกิจของ กยท. ไม่ใช่ส่วนของงบประมาณรักษาเสถียรภาพราคายางหรือสนับสนุนการปลูกทดแทน ย้ำเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางและสนับสนุนการแก้ปัญหาปลาหมอคางดำ ซึ่งเป็นวาระเร่งด่วนของชาติ
นายเพิก เลิศวังพง ประธานกรรมการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) และนายสุขทัศน์ ต่างวิริยกุล รองผู้ว่าการด้านปฏิบัติการ รักษาการแทนผู้ว่าการ กยท. แถลงถึงโครงการรับซื้อปลาหมอคางดำ เพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำหมักชีวภาพว่า กยท. ใช้เงินงบประมาณจากกองทุนพัฒนายางพารา มาตรา 13 สำหรับใช้ในการดำเนินธุรกิจของ กยท. ภายใต้โครงการจำหน่ายปัจจัยการผลิต 50 ล้านบาท ยืนยันว่าไม่ใช่งบประมาณสำหรับรักษาเสถียรภาพราคายางหรืองบสนับสนุนไม้ปลูกแทน
เบื้องต้นกำหนดจะรับซื้อ 1,000 ตัน ที่กิโลกรัมละ 15 บาท ซึ่งร่วมกับกรมประมง ขึ้นทะเบียนแพปลาเป็นจุดรับซื้อใน 16 จังหวัดที่พบการระบาด โดยจะเริ่มรับซื้อตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม แล้วนำไปมอบให้กับหมอดินอาสาหรือสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางที่สมัครเข้าโครงการเพื่อผลิตเป็นน้ำหมักชีวภาพตามสูตรของกรมพัฒนาที่ดิน จากนั้นส่งมอบให้ กยท. นำไปแจกจ่ายแก่เกษตรกร เพื่อนำไปใช้ในพื้นที่สวนยางในโครงการแปลงใหญ่กว่า 200,000 ไร่ ซึ่งจะสามารถแจกจ่ายได้ในเดือนกันยายน
กยท. มีงบประมาณสำหรับจัดซื้อปุ๋ยเพื่อแจกจ่ายให้เกษตรกรในสวนสงเคราะห์อยู่แล้ว ปัจจุบันสนับสนุนให้ใช้ปุ๋ยหรือสารบำรุงประเภทอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี ซึ่งจะช่วยเสริมธาตุอาหารรองและจุลธาตุ ตลอดจนช่วยปรับปรุงคุณภาพดิน ทำให้ต้นยางดูดซึมธาตุอาหารได้ดีขึ้น การใช้ปุ๋ยผสมผสานจะช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ร้อยละ 25 ของค่าปุ๋ยทั้งหมด ทั้งยังช่วยเพิ่มผลผลิตยางพารา
นอกเหนือจากแจกจ่ายให้เกษตรกรในสวนสงเคราะห์แล้ว หน่วยธุรกิจของของ กยท. ยังจะจำหน่ายให้แก่ชาวสวนยางทั่วไปที่สนใจ จากราคาน้ำหมักปลาในตลาดที่ขายถึงลิตรละ 200 บาท กยท. จำหน่ายเพียงลิตรละ 99 บาท เพื่อช่วยเหลือช่วยสวนยางและบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ ซึ่งเป็นวิกฤติของประเทศ.-512-สำนักข่าวไทย
จากราคาน้ำหมักปลาในตลาดที่ขายถึงลิตรละ 200 บาท เป็นการลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลิตในสวนยางของโครงการนำมาแก้ไขปัญหาเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่เกษตรกร ในการรับซื้อปลาหมอคางดำเพื่อนำไปผลิตเป็นน้ำหมักชีวภาพเพื่อใช้ใช้ในการเกษตร โดย กยท. ตั้งราคารับซื้อปลาหมอคางดำที่กิโลกรัมละ.-512-สำนักข่าวไทย