กรุงเทพฯ 28 พ.ค.-AOT จัดประชุมการรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 2 งานสํารวจและออกแบบโครงการพัฒนาท่าอากาศยานดอนเมือง ระยะที่ 3 คาดเปิดให้บริการได้ปี 2574 รองรับผู้โดยสาร 40 ล้านคนต่อปี พร้อมเปิดบริการไพร์เวท เจ็ท เทอร์มินอล เพิ่มรายได้ 3,000 ล้านบาทต่อปี
บริษัท ท่าอากาศยานไทย จํากัด (มหาชน) (AOT) จัดประชุมการรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 2 งานสํารวจและออกแบบโครงการพัฒนาท่าอากาศยานดอนเมือง (ทดม.) ระยะที่ 3 เพื่อระดมความเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้เสียและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนําไปประกอบการออกแบบโครงการให้มีความเหมาะสม โดยมี นายกีรติ กิจมานะวัฒน์ กรรมการผู้อํานวยการใหญ่ AOT เป็นประธานการประชุมฯ และผู้แทนหน่วยงานจาก ภาครัฐ บริษัทสายการบิน ผู้ประกอบการให้บริการภาคพื้น ผู้ประกอบกิจการเชิงพาณิชย์ และผู้ให้บริการด้านขนส่ง ทั้งภายในและภายนอก ทดม. จํานวนกว่า 200 คนร่วมการประชุม
นายกีรติ กล่าวว่า โครงการพัฒนา ทดม. ระยะที่ 3 เป็นหนึ่ง โครงการสําคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งเพื่อเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจในประเทศและระหว่าง ประเทศ ตามนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งผลักดันประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการบิน ของโลก (Aviation Hub) เชื่อมโยงการขนส่งทางอากาศ และเชื่อมต่อการเดินทางแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
สําหรับโครงการพัฒนา ทดม. ระยะที่ 3 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติวงเงินลงทุนรวม 36,829 ล้านบาท เพื่อเพิ่ม ขีดความสามารถของท่าอากาศยานให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 40 ล้านคนต่อปี และสามารถบริหารจัดการได้ถึง 50 ล้านคนต่อปี โดยจะมีการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศหลังใหม่ (International Terminal) บริเวณ ด้านทิศใต้ของสนามบิน มีพื้นที่ใช้สอยประมาณกว่า 166,000 ตารางเมตร สามารถรองรับผู้โดยสารระหว่างประเทศได้ สูงสุด 23 ล้านคนต่อปี คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ประมาณปี 2572 จากนั้นจะปรับปรุงอาคารผู้โดยสารหลังที่ 1 เพื่อขยายพื้นที่ให้บริการผู้โดยสารภายในประเทศ ร่วมกับอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 สามารถรองรับผู้โดยสาร ภายในประเทศได้สูงสุด 27 ล้านคนต่อปี รวมพื้นที่ใช้สอยมากถึง 240,000 ตารางเมตร คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการ ได้ประมาณปี 2574 ซึ่งจะทําให้ ทดม.มีพื้นที่รองรับผู้โดยสารรวมกว่า 400,000 ตารางเมตรเทียบเท่าพื้นที่รองรับผู้โดยสารของสนามบินสุวรรณภูมิ รวมทั้งจะมีการเพิ่มบริการไพร์เวท เจ็ท เทอร์มินอล ที่ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการวันละ 20-30 เที่ยว เพื่อดึงผู้โดยสารชั้นดีมาใช้บริการที่สนามบินดอนเมือง
ทั้งนี้ คาดว่า จะสร้างรายได้ปีละ 3,000 ล้านบาทในส่วนนี้ พร้อมเพิ่มที่จอดรถอีก 4,000 คันจากเดิมรองรับได้ 2,000 คันซึ่งไม่เพียงพอ เพื่อรองรับการเดินทางภายในประเทศได้อย่างเต็มรูปแบบ โดยสนามบินดอนเมือง ถูกวางให้เป็นท่าอากาศยานที่สะดวกสบายเพราะอยู่ใกล้ใจกลางกรุงเทพมหานคร เน้นรองรับผู้โดยสารบินตรงจากจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และชาติในอาเซียน ขณะนี้สนามบินดอนเมืองมีไฟล์ทบินชั่วโมงละ 50 เที่ยวบิน หากพัฒนาแล้วเสร็จจะรองรับได้ 60 เที่ยวบินต่อชั่วโมง
ทั้งนี้ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการออกแบบ รายละเอียดโครงการฯ โดยคาดว่าจะออกแบบแล้วเสร็จในเดือนตุลาคม 2567 และจะเริ่มดําเนินงานก่อสร้างระหว่างปี
2568-2574
นายกีรติ กล่าวด้วยว่า การประชุมฯ ครั้งนี้ ทุกฝ่ายได้ร่วมแสดงความคิดเห็น รวมถึงข้อเสนอแนะที่เป็น ประโยชน์ ซึ่ง AOT ได้รวบรวมทุกความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อนํามาประกอบการออกแบบโครงการให้มีความเหมาะสม ครอบคลุมประเด็นการพัฒนาต่างๆ ที่สําคัญ และเกิดประโยชน์ต่อการ พัฒนา ทดม.ให้มีบทบาททางยุทธศาสตร์เป็น “ท่าอากาศยานที่รวดเร็วและสะดวกสบาย” หรือ “Fast and Hassle- free Airport” เพื่อเป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและภาคธุรกิจการบินของประเทศต่อไป.-513-สำนักข่าวไทย