ฤดูหนาว 66 หนาวช้าและหนาวน้อย

กรุงเทพฯ 14 ต.ค.- กรมอุตุนิยมวิทยาคาด จะยังมีฝนต่อเนื่องอีกตลอดสัปดาห์ เหตุหย่อมความกดอากาศต่ำในทะเลจีนใต้เข้าปกคลุม โดยฤดูหนาวจะเริ่มต้นประมาณปลายเดือนตุลาคมซึ่งช้ากว่าค่าเฉลี่ย 2 สัปดาห์และอุณหภูมิต่ำสุดจะสูงกว่าค่าเฉลี่ย 1.5 องศาเซลเซียส


นายสมควร ต้นจาน ผู้อำนวยการส่วนพยากรณ์อากาศกลาง กองพยากรณ์อากาศ กรมอุตุนิยมวิทยากล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 15 – 23 ต.ค. 66 ประเทศไทยจะยังมีฝนตกต่อเนื่อง สาเหตุจากหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ ทางตะวันออกของประเทศเวียดนาม มีแนวโน้มจะเคลื่อนตัวเข้าปกคลุมตอนกลางของประเทศเวียดนาม  สปป. ลาว กัมพูชา  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางของไทย ประกอบแนวร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นมาพาดผ่านภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก ทำให้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางพื้นที่และต้องเฝ้าระวังฝนตกหนักบางพื้นที่

ขณะนี้ลมหนาวแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดยทิศทางลมเริ่มเปลี่ยนเป็นลมตะวันออกเฉียงเหนือ ดังนั้นตลอดสัปดาห์จะมีทั้งฝนและอากาศเย็น จึงต้องระมัดระวังสุขภาพ


กรมอุตุนิยมวิทยาคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูหนาวปีนี้ซึ่งจะหนาวช้าและหนาวน้อยกว่าค่าเฉลี่ยปกติ โดยฤดูหนาวจะเริ่มประมาณปลายเดือนตุลาคม 2566 ซึ่งจะช้ากว่าค่าเฉลี่ยปกติประมาณ 2 สัปดาห์และจะสิ้นสุดประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2567

สำหรับอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยบริเวณประเทศไทยตอนบนประมาณ 21 – 22 องศาเซลเซียส โดยค่าปกติอยู่ที่ 19.9 ดังนั้นจึงสูงกว่าค่าปกติประมาณ 1.5 องศาเซลเซียส

เมื่อเทียบกับฤดูหนาวปี 2565 ปีนี้อากาศจะหนาวเย็นน้อยกว่าปีที่ผ่านมา โดยอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยปี 2565 อยู่ที่ 20.8 องศาเซลเซียส


สำหรับอุณหภูมิต่ำที่สุดประมาณ 9 – 10 องศาเซลเซียส ส่วนมากจะอยู่ตอนบนของทั้งภาคเหนืvและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ส่วนอุณหภูมิต่ำที่สุดบริเวณกรุงเทพมหานคร 17 – 18 องศาเซลเซียสและปริมณฑล 15- 16 องศาเซลเซียส

ช่วงเวลาที่มีอากาศหนาวเย็นที่สุด ประมาณต้นเดือนธันวาคม 2566 ถึงปลายเดือนมกราคม 2567

ทั้งนี้ยอดดอยและยอดภู รวมทั้งเทือกเขาจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด และมีน้ำค้างแข็งเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง ส่วนภาคใต้ จะมีอากาศเย็นบางแห่งในบางช่วงส่วนมากตอนบนของภาค แต่ยังคงมีฝนตกชุกหนาแน่นต่อไปโดยเฉพาะทางฝั่งตะวันออกในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม กับมีฝนตกหนักหลายพื้นที่และหนักมากในบางแห่ง ซึ่งจะทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากรวมทั้งน้ำลันตลิ่งได้ในหลายพื้นที่ สำหรับคลื่นลมในทะเลอ่าวไทยจะมีกำลังแรงเป็นระยะๆ ในบางช่วงมีคลื่นสูง 2 – 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1 – 2 เมตร

กรมอุตุนิยมวิทยาแจ้งเตือนสิ่งที่ต้องเฝ้าระวังในช่วงปลายเดือนตุลาคม บริเวณภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออกและภาคใต้ตอนบนจะยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง ประกอบกับจะมีน้ำเหนือไหลบ่าลงมา และในบางช่วงจะมีน้ำทะเลหนุนสูง ซึ่งส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำล้นตลิ่งได้ในบางพื้นที่

จากนั้นในช่วงเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ อาจมีคลื่นกระแสลมตะวันตก เคลื่อนตัวจากประเทศเมียนมาผ่านประเทศไทยตอนบนซึ่งจะทำให้ช่วงดังกล่าวเกิดฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและอาจมีลูกเห็บตกได้ในบางพื้นที่.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เหล้าเถื่อนลาว

เสียชีวิตรายที่ 6 คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว

คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเสียชีวิตเพิ่มรายที่ 6 เป็นหญิงชาวออสเตรเลีย เสียชีวิตขณะรักษาตัวในไทย

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษา ทบ.

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก ช่วยปฏิบัติราชการที่กองบัญชาการกองทัพบก หลังถูกร้องทำร้ายร่างกายผู้ใต้บังคับบัญชา พร้อมช่วยเจ้าทุกข์ย้ายหน่วยตามร้องขอ

ไฟไหม้โรงงานพัดลม เผาวอดเสียหายกว่า 50 ล้าน

ไฟไหม้โรงงานผลิตพัดลมรายใหญ่ จ.สมุทรสาคร ระดมรถดับเพลิงระงับเหตุ กว่า 5 ชม. จึงควบคุมไว้ได้ในวงจำกัด เบื้องต้นเสียหายกว่า 50 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

“เหนือ-อีสาน-กลาง” อากาศเย็น ภาคใต้ฝนตกหนัก

กรมอุตุฯ รายงานภาคเหนือ อีสาน และภาคกลาง อากาศเย็นในตอนเช้า มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนภาคใต้ฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง