กรุงเทพฯ 11 ต.ค. – ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทยคาด ปี 67 เศรษฐกิจไทยยังต้องเผชิญความเสี่ยงอีกมาก
ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัย และที่ปรึกษาการลงทุน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย กล่าวว่า จากการที่เงินบาท มีความผันผวนค่อนข้างมากและอ่อนค่าแรง เนื่องจากดอลล่าสหรัฐแข็งค่า และการเร่งดอกเบี้ย อย่างไรก็ตามมองว่าปลายปีนี้มีโอกาสเห็นบาทอยู่ที่ประมาณ 35 บาทต่อดอลล่าสหรัฐนั้นมีความเป็นไปได้ เพราะจากต้นเดือนที่กระโดดไป 37 กว่าๆ วันนี้ก็ลงมาที่ 36.5 ได้ และเชื่อว่าปลายปีจะเห็นรายได้จากการท่องเที่ยวกลับมาได้มาก ตัวเลขการจองโรงแรมจากยุโรปมีค่อนข้างสูง เหตุพารากอนไม่ได้กระทบการท่องเที่ยวมาก เชื่อว่าปลายปีนักท่องเที่ยวนักท่องเที่ยวจะเข้ามามาก และน่าจะถึง 28 ล้านคน
ในปี 2567 ยังมีสิ่งที่ต้องเผชิญอีกหลายที่เป็นเสี่ยงสำหรับเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก เช่น ความไม่สอดรับกันระหว่างสหรัฐกับจีน สงครามการค้า และจะนำไปสู่สงครามทางเทคโนโลยี ดังนั้นการค้าขายกับ 2 สัญชาตินี้ต้องดูให้ดี / De-Dollarization การที่ประเทศต่างๆ หาวิธีการ ‘ลด’ บทบาทค่าเงินดอลลาร์ต่อการค้าและการลงทุนของประเทศตัวเอง / Dis–inflation เงินเฟ้อต่ำ โดยเฉพาะจากจีนที่เผชิญปัญหาเงินฝืดช่วงเศรษฐกิจขยายตัวต่ำลง ทำให้สินค้าจากจีนทะลักมาบ้านเรา ทำให้ SMEs แข่งขันลำบาก / De carbonization ผู้ประกอบการต้องเผชิญความท้าทายจากต้นทุน และการลงทุนที่เพิ่มขึ้น หากปรับตัวได้ก็จะทำให้เกิดการลงทุนจากต่างชาติสูงขึ้น / สังคมผู้สูงอายุ ขาดแคลนแรงงานขณะที่ค่าแรงสูงขึ้น / Digitization กระบวนการแปลงข้อมูลไปสู่รูปแบบดิจิทัล แบงก์เปลี่ยนไปใช้ดิจิทัลมากขึ้น และประชาธิปไตยและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ส่วนนโยบายรัฐบาล ดิจิทัล วอลเล็ต 1 หมื่นบาท ที่มีนักวิชาการ นักเศรษฐศาสตร์ออกมาวิจารย์เป็นจำนวนมาก ส่วนตัวมองว่า การแจกเงินเพื่อให้มีเงินหมุนในระบบเศรษฐกิจฐานรากให้ดีขึ้น เพื่อให้เกิดการจ้างงาน เกิดความยั่งยืน ควรมีการติดตามผลต่อเนื่อง ไม่ใช่แจกแล้วจบ และไม่เป็นภาระทางการคลังระยะยาว
ส่วนสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างประเทศอิสราเอลกลับกลุ่มฮามาส มีความเสี่ยงทำให้ราคาน้ำมันขยับขึ้นไปอีก โดยผลกระทบต่อไทยมีทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยผลกระทบทางตรงปัจจุบันแทบยังไม่เห็น เพราะไทยส่งออกไปอิสราเอลน้อยไม่ถึง 1% และไม่ใช้นักท่องเที่ยวกลุ่มหลัก นักลงทุนก็มีไม่มาก สิ่งที่จะกระทบก็คือแรงงานที่เดินทางไปทำงานอิสราเอล สำหรับผลกระทบทางอ้อมก็คือเรื่องราคาพลังงาน แม้อิสราเอลไม่ใช่ผู้ผลิตน้ำมัน แต่ที่คนกังวลคือประเทศรอบข้างอย่างอิหร่าน และซาอุฯ จะเข้าร่วมสงครามด้วย ซึ่งจะเป็นการเชื่อมโยงสู่สงครามโลกครั้งที่ 4 ซึ่งจะทำให้ราคาน้ำมันพุ่ง สิ่งที่เราทำได้คือการจับตาอย่างใกล้ชิด แต่อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ที่น้ำมันดิบปรับตัวขึ้นไป 3% แต่ก็ย่อลงมาได้ จึงแสดงให้เห็นว่า สงครามดังกล่าวไม่มีผลโดยตรงต่อราคาน้ำมัน . -สำนักข่าวไทย