มีคำอธิบายจาก ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย
📌 สรุป : ✅ แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม
อาจจะจริงและไม่จริง เนื่องจากภาวะตากระตุกจะเกิดได้จากหลายสาเหตุ ตั้งแต่โรคที่ไม่มีอันตรายอะไรไปจนถึงอาจจะเป็นโรคที่มีความรุนแรงได้
ตากระตุกข้างซ้ายหรือข้างขวา มีอะไรต่างกัน หรือไม่
ตากระตุกอาจจะเกิดข้างเดียว หรือเกิดพร้อมกัน 2 ข้างก็ได้ ขึ้นกับว่าสาเหตุที่เป็นเกิดจากอะไร
ถ้าเกิดจากการระคายเคืองที่เป็นพร้อมกัน เช่น คนเป็นภูมิแพ้ก็อาจจะมีการกระตุกทั้ง 2 ข้างได้
ถ้าเกิดจากการใช้งานหนัก ข้างที่มีความต้านทานหรือมีความแข็งแรงน้อยกว่าก็อาจเกิดการล้าก่อนได้ ในขณะเดียวกันเกิดจากโรคของตัวกล้ามเนื้อหรือเส้นประสาท ขึ้นกับว่าเกิดข้างซ้ายหรือข้างขวา ก็จะทำให้เกิดอาการผิดปกติที่ข้างนั้นได้
ความเชื่อที่ว่า กระตุกขวาร้าย ซ้ายดี ก็คงเป็นความเชื่อของคนสมัยก่อน แต่ว่าไม่ได้มีหลักฐานทางการแพทย์ในปัจจุบันว่าการกระตุกข้างซ้ายข้างขวามีผลกับโชคชะตาอย่างไรบ้าง
ถ้าตากระตุก 2 สัปดาห์ขึ้นไปควรพบแพทย์
กรณีที่เป็นเรื้อรังค่อนข้างนานเกิน 2 สัปดาห์ หรือเป็นรุนแรงจนกระทบการดำเนินชีวิตประจำวันเช่น เปลือกตาบางจังหวะหลับตาจนกระทั่งไม่มั่นใจที่จะทำอะไร ถือว่าเป็นอาการรุนแรงที่ต้องไปพบแพทย์เพื่อจะแก้ปัญหานี้ รวมทั้งกรณีที่มีความผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การบวมหรือการอักเสบบริเวณเปลือกตา ก็อาจบ่งบอกว่ามีโรคร้ายบริเวณดวงตา ควรไปพบแพทย์เพื่อความสบายใจ และหาสาเหตุที่ถูกต้องเพื่อให้การรักษาต่อไป
สำหรับกลุ่มที่ต้องระวังว่าภาวะตากระตุกอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของโรคระบบประสาท หรือระบบกล้ามเนื้อ เช่น กลุ่มที่มีอาการเปลือกตากระตุก หรือเปลือกตาตกลงมาทำงานได้ไม่ปกติ หรือมีกล้ามเนื้อบริเวณมุมปาก หรือส่วนอื่นของใบหน้าผิดปกติไปด้วย อาจจะเป็นความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อต่าง ๆ หรือเป็นระบบประสาทที่ถูกส่งเส้นประสาทมาควบคุมกล้ามเนื้อพวกนั้นก็ได้
ถ้ามีอาการผิดปกติอื่นร่วมด้วย นอกเหนือจากการมีเปลือกตากระตุกอย่างเดียว แนะนำว่าควรไปพบแพทย์ เพราะว่าอาการตากระตุกอาจเป็นสัญญาณเตือนถึงสาเหตุของโรคร้ายแรงของร่างกายได้
การรักษาตากระตุกมีหลายระดับ
ภาวะกล้ามเนื้อเปลือกตากระตุกมีแนวทางการรักษาหลายระดับ หลายวิธี
อาการเป็นน้อย ถ้าหาสาเหตุได้ เช่น ระคายเคืองตาจากตาแห้ง ใช้น้ำตาเทียมช่วย
ถ้าเป็นจากภูมิแพ้ขึ้นตา ก็รักษาโรคภูมิแพ้ ถ้าเป็นขนตาทิ่ม หรือสิ่งแปลกปลอมเข้าตา เอาออกก็จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้
ถ้าเป็นจากกล้ามเนื้อล้า เพราะใช้งานมาก ก็อาจจะใช้วิธีนวด หรือคลึงบริเวณกล้ามเนื้อส่วนที่กระตุกเบา ๆ และบ่อย ๆ อาจจะทำให้อาการเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณนั้นดีขึ้นได้
ในคนที่มีเปลือกตาบีบตัวอย่างรุนแรง ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์ก็จะใช้การฉีดโบท็อกซ์ (Botulinum toxin) ก็จะช่วยให้กล้ามเนื้อมีการเกร็งตัวลดลง
ส่วนคนที่เป็นจากโรคระบบประสาทต้องไปรักษาตามสาเหตุต่อไป
เรื่องนี้มีทั้งส่วนที่จริงและไม่จริง เพราะว่าบางครั้งภาวะตากระตุกก็อาจเป็นอาการที่ไม่ได้บ่งบอกถึงความผิดปกติอะไรของร่างกาย
ในขณะเดียวกัน ตากระตุกหลาย ๆ ครั้ง ที่มีอาการอื่นร่วมด้วยหรือเป็นรุนแรงและเรื้อรังเป็นเวลานาน ก็อาจจะเป็นอาการเตือนว่ามีโรคร้ายแรงของระบบร่างกายอื่น ๆ เช่น ระบบกล้ามเนื้อ หรือระบบสมองได้
ดูเพิ่มเติม “รายการชัวร์ก่อนแชร์” https://www.youtube.com/watch?v=G3Lu-HNZNV4
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter