กทม. 18 ก.ย.-นักเศรษฐศาสตร์ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) ระบุแนวโน้นเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังปี 66 จะฟื้นตัวขึ้นมาจากการบริโภคภายในประเทศและการท่องเที่ยว แต่ผลกระทบหลายด้านจากครึ่งปีแรกทำให้อัตราการเติบโตในปี 66 จะอยู่ที่ร้อยละ 3.3 เท่านั้น จากเดิมที่เคยคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 66 จะขยายตัวได้ถึงร้อยละ 4.2 ยังคงต้องติดตามหลายปัจจัยทั้งเงินเฟ้อ ดอกเบี้ยนโยบายว่าจะนิ่งนานแค่ไหน แต่ปีหน้าโอกาสที่เศรษฐกิจไทยโตร้อยละ 4.5 เป็นไปได้สูง
ดร.ทิม ลีฬหะพันธุ์ นักเศรษฐศาสตร์ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) กล่าวว่าธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดคาดเศรษฐกิจไทยจะเติบโตร้อยละ 4.3 ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2566 เนื่องจากภาพรวมด้านการเมืองมีความชัดเจนขึ้น ประกอบกับนโยบายกระตุ้นการใช้ง่ายและนักท่องเที่ยวที่เพิ่มสูงขึ้น คาดธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปอย่างน้อยถึงสิ้นปี 2568 โดยอาจมีแรงกดดันด้านเงินเฟ้อเป็นตัวแปร
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยยังอยู่ในช่วงเศรษฐกิจขยายตัวแม้ในระยะที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ แต่ตอนนี้ได้รัฐบาลใหม่ คาดการบริโภคภายในประเทศช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ตามด้วยการฟื้นตัวในภากการท่องเที่ยวที่เร่งตัวขึ้น โดยในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาประเทศไทยกว่า 17.5 ล้านคน โดยเฉลี่ยมีการเดินทางเข้ามาเดือนละ 2.2 ล้านคน เนื่องจากกำลังเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยว ซึ่งธนาคารฯ ดาดมีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเป็นเดือนละ 3 ล้านคน ตั้งแต่ปลายเดือนกันยายนนี้ ทำให้ทั้งปีจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาประเทศไทยประมาณ 30 ล้านคน
ช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 จำนวนนักท่องเที่ยวอยู่ในระดับเกือบ 40 ล้านคน ในปี 2562 เนื่องจากภาพรวมเศรษฐกิจ โลกยังมีความไม่แน่นอนอยู่หลายประการ ธนาคารสแตนดารัดชาร์เตอร์ดจึงปรับลด คาดการณ์ดุลบัญชีเดินสะพัดจากร้อยละ 3.6 มาอยู่ที่ร้อยละ 1.5 ของดีพี การขาดดุลปีงบประมาณคาดอยู่ที่ร้อยละ 4.0 ต่อจีดีพี ในปี 2567 จากร้อยละ 3.8 ต่อจีดีพี ในปี 2566
สำหรับการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2567 น่าจะล่าช้า ในขณะที่นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจตามที่พรรคเพื่อไทยได้หาเสียงไว้มีทิศทางอย่างไร คงเป็นสิ่งที่ต้องมีการติดตามดู และสะท้อนจากตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุดของประเทศ ธนาคารฯได้ปรับลดประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในปี 2566 ลงจากร้อยละ 4.2 อยู่ที่ร้อยละ 3.3 คาดเศรษฐกิจเติบโตที่ร้อยละ 4.2 ในปี 2567 จากเดิมคาคไว้ที่ร้อยละ 1.5 ด้วยเหตุนี้ จึงมีการปรับลดการเงินเฟ้อพื้นฐานในปีนี้ลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.3 จากเดิมที่คาดไว้ร้อยละ 1.7 โดยคาดเงินเฟ้อพื้นฐานจะอยู่ที่ร้อยละ 1.5 ในปี 2567 จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 1.3 ในขณะที่คงคาดการณ์เงินเฟ้อทั่วไปในปี 2566 ที่ร้อยละ 1.4 ธนาคารฯยังกังวลปัจจัยเสี่ยงปีหน้า คือ ปัญหาเศรษฐกิจโลกน่าจะโตต่ำกว่าร้อยละ 3 คาคว่า เงินเฟ้อจะเพิ่มสูงอยู่ที่ร้อยละ 2.1 จากเหตุน้ำมันอาจจะกลับมาสูงขึ้นได้ ขณะที่เงินบาทในช่วงปลายปีน่าจะแข่งค่าอยู่ที่ 34 บาท ต่อดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ตัวเลขส่งออกยังคงติดลบแต่จะมากหรือน้อยคงต้องดูว่าช่วงเวลาที่เหลือส่งออกไทยจะขยายตัวหรือไม่
อย่างไรก็ตาม การค่อยๆ ฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ประกอบกับความไม่แน่นอนทางการคลังและเงินเฟ้อทั่วไปที่อยู่ในระดับต่ำในช่วงที่ผ่านมาน่าจะเป็นปัจจัยที่ทำให้ยังไม่มีการขึ้นอัตราดอกเบี้ย นโยบาย ยังคงมีความเสี่ยงด้านเงินเอ ดังนั้น การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายน่าจะยังไม่เกิดขึ้นในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า แต่อาจมีการกลับมาพูดถึงการปรับขึ้นอัตราคอกเบี้ยอีกในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ นอกจากนี้ นโยบายการคลังและการฟื้นตัวของภากการท่องเที่ยวที่ชัดเจนกว่านี้น่าจะทำให้เห็นความชัดเจนในทิศทางคอกเบี้ยนโยบายยิ่งขึ้น และธนาคารฯคงจะเฝ้าตามดูว่าการประกาศใช้นโยบายดิจิทัล 10,000 บาทที่รัฐบาลจะออกมานั้นยังไม่ชัดเจนว่าจะออกมาอย่างไรและจะใช้เงินจากที่ใดบ้าง จึงยังไม่สามารถประเมินอะไรได้ในตอนนี้มากนัก .-สำนักข่าวไทย