นครราชสีมา 2 พ.ย.-เอกชนจับตาเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ไม่ว่าใครจะเป็นประธานาธิบดี ไทยก็ได้ประโยชน์จาก Trade war หากเป็น “แฮร์ริส” ทุกอย่างจะยังคงเดิม แต่หากเป็น “ทรัมป์” การกีดกันการค้าจะรุนแรงมากขึ้น แนะไทยต้องมีลอบบี้ยิสต์ ในการเจรจาและวางนโยบายที่ชัดเจน ขณะเดียวกัน ปัญหาสินค้าจีนทะลักกระทบผู้ประกอบการไทยจะรุนแรงขึ้น วอนรัฐบาลเร่งหามาตรการป้องกันแก้ไข
นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐที่จะมีขึ้นในวันที่ 5 พฤศจิกายนนี้ เชื่อว่าทุกฝ่ายจับตาว่าใครจะได้รับความไว้วางใจให้เป็นประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจ และเป็นอันดับหนึ่งทุกด้านของโลก ระหว่างนายโดนัล ทรัมป์ และนางกัมลา แฮร์ริส ซึ่งนโยบายของทั้งสองคนมีความแตกต่าง และไม่ว่าใครจะได้รับคัดเลือกก็ต้องส่งผลไปทั่วโลกรวมถึงไทย ในช่วงที่โดนัล ทรัมป์ เป็นประธานาธิบดีสมัยที่หนึ่ง ก็เกิดผลกระทบเมื่อเกิด Trade war โดยที่ไม่มีใครคาดคิด ทำให้ต้องเกิดการปรับตัวขนาดใหญ่ เช่น ปี 2562 ไทยได้ดุลการค้าสหรัฐอันดับ 14 แต่ภายใต้การบริหารของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ซึ่งก็ดำเนินการเรื่อง Trade war จีนเช่นเดียวกันส่งผลให้ 9 เดือนของปี 2567 ประเทศไทยได้ดุลการค้ากับสหรัฐเพิ่มขึ้น 10% และเลื่อนขึ้นมาเป็นประเทศที่ได้ดุลการค้าสหรัฐอันดับที่ 12
ฉะนั้นหมายความว่าภายใต้ Trade war ของทั้งสองนโยบายของ 2 ผู้นำจากต่างพรรค ประเทศไทยยังได้ประโยชน์ทางด้านการค้า ทั้งสองนโยบายเหมือนกันคือเรื่อง Trade war และการมองจีนเป็นศัตรูหมายเลข1 ฉะนั้นมาตรการต่างๆก็จะเหมือนกันแต่มิติความรุนแรงจะแตกต่างกันโดยปัจจุบันทางด้านการค้าประธานาธิบดีโจ ไบเดน ได้ขึ้นภาษีรถยนต์อีวีเช่นรถยนต์อีวี ที่นำเข้าจากจีนจากเดิม 25% ขึ้นไปอีก 75% รวมเป็น 100% และจะมีการเรียกเก็บภาษีที่ผ่านมาในเดือนพฤษภาคม 18,000 ล้านเหรียญในอุตสาหกรรมนำเข้าจากจีนโดยเฉพาะพลังงานสะอาด แผงโซล่า แต่หากเป็นโดนัล ทรัมป์ จะมีความรุนแรงขึ้น คือจะมีการขึ้นภาษีจากทุกประเทศที่ได้ดุลการค้าสหรัฐ อย่างน้อย 10 ถึง 20% แต่กับจีนจะให้เป็นพิเศษคือจะเพิ่ม 60 ถึง 100% จะเห็นว่านโยบายมีความรุนแรงขึ้นซึ่งหากเป็น โดนัล ทรัมป์ ก็จะบอกว่าMake America great again ซึ่ง จะมอง เรื่อง ดุลการค้าและความมั่นคงสูงเป็นพิเศษ
ส่วนนโยบายเรื่องการลงทุนหาก นางกมลา แฮร์ริสได้รับชัยชนะก็จะดำเนินนโยบายเช่นเดียวกับ โจ ไบเดน คือเพิ่มการเก็บภาษีจากปัจจุบัน 21% เป็น 28% แต่หากเป็นทรัมป์จะส่งเสริมการลงทุนในประเทศให้กลับมา โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเทคทั้งหลายเพื่อการจ้างงาน สร้างจีดีพี โดยจะมีนโยบายลดภาษีนิติบุคคล 15% จาก
ส่วนเรื่องการกีดกันเทคโนโลยี ทรัมป์จะมีความรุนแรงกว่าโจ ไบเดน ซึ่งหาก แฮร์ริส มาก็คงดำเนินการเหมือนเดิมเช่นการออกกฏหมาย CHIPS and Science Act ซึ่งก็คือการที่จะไม่ถ่ายทอดเทคโนโลยีชั้นสูงหรือขายเทคโนโลยีเหล่านี้ไปยังประเทศที่ไม่เป็นมิตร ซึ่งหมายถึง จีน จะเห็นว่ามาตรการนี้เข้มข้น เพราะเกรงว่า จีนจะได้ชิปที่มีเทคโนโลยีชั้นสูงหรือว่าขนาดเล็กตอนนี้ก็มีการกีดกันทุกอย่างกระทั่งการขอความร่วมมือจากประเทศเนเธอร์แลนด์ บริษัทASML ผู้ผลิตเครื่องผลิตชิปรายเดียวของโลก ซึ่งลูกค้ารายใหญ่ก็คือประเทศจีน เพราะว่ากลัวว่าจีนจะไปผลิตชิปชั้นสูงแข่งกับอเมริกา ส่วนทรัมป์ ก็บอกว่า จะไม่ให้จีนลงทุนในเทคโนโลยี สาธารณูปโภค รวมถึงพลังงาน
ส่วนมิติปัญหาเรื่องผลกระทบของสิ่งแวดล้อมและอุตสาหกรรม ทั้ง 2 พรรค มีความแตกต่างกัน โดย แฮร์ริสและไบเดนยังคงให้ความสำคัญในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ลดการใช้พลังงานฟอสซิล เพื่อลดโลกร้อน และสนับสนุนพลังงานสีเดียว แต่ทรัมป์ไม่สน มีหลายคนบอกว่า ทรัมป์ไม่สนใจเรื่อสนธิสัญญา Paris ที่ได้เซ็นต์กันไว้ตั้งแต่ปี 2015 แต่จะให้การสนับสนุนขุดเจาะน้ำมัน หาแหล่งน้ำมันจากฟอสซิล
เรื่องการต่างประเทศหากแฮร์ริส ได้เป็นประธานาธิบดีความตึงเครียดเรื่องสถานการณ์จีโอโพลิติกส์จะสูงและมีโอกาสที่จะเกิดสงครามได้ทุกเมื่อถ้ามีการกระทบกระทั่งกันหรือว่ามีน้ำผึ้งหยดเดียวที่ไม่ตั้งใจซึ่งจะนำไปสู่สงครามใหญ่หรือสงครามโลกได้ แต่กรณีทรัมป์ ประกาศชัดเจนเรื่องการต่างประเทศ เช้น นาโต้ ทรัมป์ ประกาศต่างคนต่างอยู่ และนาโต้อย่าหวังพึ่งสหรัฐ ทุกประเทศต้องเพิ่มงบการทหารอีก 3% ของงบป้องกันประเทศ ซึ่งตอนนี้กลุ่มประเทศนาโต้หรือกลุ่มอียูเศรษฐกิจไม่ดี เนื่องจากสงครามรัสเซียยูเครน เรื่องของไต้หวันเองทรัมป์ก็ประกาศว่าถ้าไต้หวันต้องการให้สหรัฐอเมริกาไปช่วยต้องจ่ายค่าคุ้มครองเพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้จะทำให้อุณหภูมิของสมรภูมิต่างๆน่าจะลดลง ยกเว้นสมรภูมิเดียวคือตะวันออกกลางระหว่างอิหร่านกับอิสราเอล ทรัมป์ก็ยังคงสนับสนุนอิสราเอลเต็มที่
ส่วนผลที่จะเกิดกับประเทศไทย ที่ผ่านมาเราได้ตัวเลขการค้าขายมากขึ้น สิ่งที่เหมือนกันระหว่างโจ ไบเดนและทรัมป์คือเรื่อง Trade war และจีโอโพลิติกส์ ทั้ง 2 พรรคมองจีนเป็นคู่แข่งและศรัตรูอันดับหนึ่ง ฉะนั้นการขึ้นกำแพงภาษี การย้ายฐานการผลิตส่งผลดี สินค้าจากจีนจะถูกตั้งกำแพงสูง สหรัฐซื้อสินค้าจากจีนน้อยลง จะซื้อสินค้าจากประเทศอื่นรวมถึงไทยแทน ดังจะเห็นว่า 9 เดือนของปี 2567 ยอดการสั่งซื้อสินค้าจากประเทศไทยเพิ่มขึ้น ฉะนั้นถ้าหากว่าทรัมป์มาสถานการณ์ก็จะเป็นอย่างนั้นอยู่แต่อาจจะมีวิธีคิดแตกต่าง เมื่อครั้งที่ทรัมป์ ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่ 1 ได้ให้ความสำคัญกับประเทศที่ได้ดุลการค้ากับสหรัฐมาก ว่าทำไมถึงได้ดุลการค้า รวมถึงประเทศไทยซึ่งขณะนั้นเราอยู่อันดับที่ 14 ทรัมป์ได้ตั้งคำถามว่า ทำไมประเทศไทยได้ดุลการค้าเพราะเราบิดเบือนค่าเงินหรือไม่ หรือทำให้ค่าเงินอ่อนเกินไปหรือไม่ จึงได้มีมาตรการมาตรวจสอบ เพื่อลดความได้เปรียบ สิ่งเหล่านี้จะเกิดความเข้มข้นและจะเกิดการเจรจาจากพหุภาคีเดิมซึ่งเป็นประเทศพันธมิตรรวมกันเป็นทวิภาคี เจรจาเป็นรายประเทศ ส่วนตัวคิดว่าประเทศไทยจะได้ประโยชน์ เพียงแต่หากทรัมป์ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี ประเทศไทยจะต้องมีลอบบี้ยิสต์ ในการเจราและวางนโยบายที่ชัดเจน เพราะว่าหากเป็นทรัมป์จะเป็นลักษณะหมูไปไก่มา แต่หากเป็นกมลา แฮริส มาก็จะยังดำเนินการเหมือนทุกวันนี้ที่เป็นอยู่ เพราะฉะนั้นเรายังมีโอกาสได้เปรียบทางด้านการค้าแต่ทางด้านการลงทุนอุตสาหกรรม ตอนนี้ในเรื่องจีโอโพลิสติกและมีผลกระทบโดยเฉพาะการตั้งกำแพงภาษีส่งของอเมริกาที่จะสูงขึ้นแล้วรวมถึงของยุโรปที่จะตามมา วันนี้สินค้าจากจีนที่เคยผลิตและส่งไปขายทั้งในอเมริกาและยุโรปต้องเป็นหลักทะลักจากกลับมาในอาเซียนผลกระทบก็เห็นแล้วตั้งแต่ปี 2566 ซึ่งปีที่แล้วตนเองได้เคยบอกว่าในกลุ่มอุตสาหกรรมของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยรวม 46 กลุ่มมี 22 กลุ่มได้รับผลกระทบในเชิงลบยอดขายตกมาก จากสินค้าของจีนเข้ามา ปี 2566 เป็นปีแรกในรอบ 16 ปี จีนไม่ได้เปรียบสหรัฐเป็นคู่ค้าอันดับ 1 เนื่องจากการขึ้นภาษีนำเข้าสกัดกั้นได้ผล จากที่จีนเคยส่งสินค้าไปยังอเมริกามูลค่า ห้าแสนกว่าล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2565 ลดลงไม่ถึง สี่แสนล้านเหนียญสหรัฐในปี 2565 ลดลงกว่า20% แต่ในขณะเดียวกันยอดเหล่านี้กลับมาโผล่ที่เอเชียตะวันออกเชียงใต้กลายเป็นว่าในปี 2566 คู่ค้าอันดับหนึ่งของจีนคืออาเซียน นั่นหมายความว่าอาเซียนรวมถึงไทยรับสินค้าจากประเทศจีนไปเต็มๆ และเมื่อดูรายประเทศจะพบว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่ขาดดุลกับจีนมากที่สุดประเทศหนึ่งเราขาดดุลเพิ่มทุกปี เพียงเก้าเดือนของปี 2567 เรานำเข้าสินค้าจากจีนทั้งถูกกฎหมายและผิดกฎหมายเพิ่มขึ้นเพิ่มขึ้นเกือบ 20% อุตสาหกรรมของเราก็ได้รับผลกระทบจากเรื่องจีโอโพลิติกส์ที่มากขึ้น แต่อุตสาหกรรมใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นก็คือ FDI เพราะเป็นการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมที่จะเป็นยุคใหม่เรื่องของสินค้าที่เกี่ยวกับสมาร์ทอิเล็กทรอนิกส์เนี่ยก็จะเป็นอานิสงส์ที่ประเทศไทยได้รับมากขึ้น
สำหรับการลงทุนเก้าเดือนของปี 2567 บีโอไอประกาศว่า FDI หรือการลงทุนทางตรงจากหลายประเทศที่ย้ายฐานมาจากจีนประเทศไทยเราเติบโตขึ้นมีโครงการที่ขอรับการส่งเสริมลงทุนเกือบ 2000 โครงการรวมมูลค่า 722,000 กว่าล้านบาทมากที่สุดในรอบ 10 ปี นี่คืออานิสงส์ที่ได้รับ ฉะนั้นก็จะมีสินค้าที่ถูกดิสรับจากสินค้าจีนที่เข้ามาจำนวนมาก ล่าในปี 2567 มีอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบอีก 3 อุตสาหกรรมรวมเป็น 25 อุตสาหกรรม หากรัฐบาลไม่มีมาตรการที่ดีพอ อุตสาหกรรมของเราอาจจะได้รับผลกระทบเพิ่มมากขึ้นเป็น 30-35 อุตสาหกรรม
ดังนั้น ส.อ.ท. จึงเรียกร้องให้ภาครัฐเร่งหามาตรการป้องกันโดยด่วน ไม่เฉพาะสินค้าที่ถูกกฎหมาย เพราะยังมีสินค้าที่ไม่ถูกกฎหมายอีกมากมายในเมืองไทย ทำลาย SMEs ไทย ซึ่งต้องเร่งปกป้องสินค้าจากจีนไม่ให้เข้ามามากเกินไปและจะต้องรีบเร่งวางแผนหาตลาดสหรัฐเพิ่มมากขึ้น
“ในช่วงที่ผ่านมา ปัญหาสงครามการค้าที่เกิดขึ้นผู้ได้รับผลประโยชน์ก็คือเซาท์อีสเอเชีย แต่ประเทศที่ได้ประโยชน์มากที่สุดคือเวียดนาม ในปี 2021-2023 เวียดนามส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นอีก 2.6 แสนล้านเหรียญสหรัฐในขณะที่นำเข้าจากจีนเพิ่มขึ้นเป็น 1.6แสนล้านเหรียญสหรัฐเมื่อหักลบกบนี่แล้วพบว่าการส่งออกเป็นบวกถึงเกือบ 1 แสนล้านเหรียญล้านสหรัฐ แต่ของไทยเราส่งไปอเมริกาเพิ่มขึ้นได้ แต่นำเข้าเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน เมื่อหักลบแล้วพบว่าขาดดุล 2 หมื่นล้ายเหรียญสหรัฐ นั่นหมายความว่าประเทศไทยยังไม่ได้ประโยชน์จากความขัดแย้งนี้อย่างเต็มประสิทธิภาพ” นายเกรียงไกร กล่าว.-517.-สำนักข่าวไทย