ซีไอเอ็มบีระบุรวมเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวชัดเจนช่วงครึ่งหลังของปี

กรุงเทพฯ 27 มิ.ย.-ที่ปรึกษาการลงทุน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทยระบุเศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 เต็มไปด้วยโอกาสและความท้าทาย โดยมองไตรมาส 4 มีโอกาสจะเติบโตเฉียด 5% ดังนั้น ทิศทางภาพรวมเศรษฐกิจไทยน่าจะฟื้นตัวได้อย่างชัดเจนในช่วงครึ่งหลังของปี


ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย และที่ปรึกษาการลงทุน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทยเปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 มีโอกาสจะขยายตัวได้ 3.0% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมองว่าไตรมาส4 มีโอกาสจะเติบโตเฉียด 5% เพราะฉะนั้นมองภาพเศรษฐกิจไทยน่าจะฟื้นตัวได้อย่างชัดเจนในช่วงครึ่งหลังของปี

ปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตเร่งแรง มาจาก 3 ปัจจัย


1. จำนวนนักท่องเที่ยวที่คาดว่าจะฟื้นเร็วกว่าที่คาด และฟื้นเร็วกว่าที่เห็นช่วงครึ่งแรกของปี ไม่ว่าจะเป็นหลายประเทศที่เริ่มกลับมามีจำนวนนักท่องเที่ยวใกล้เคียงกับช่วงก่อนโควิด ไม่ว่าจะเป็น มาเลเซีย อินเดีย เกาหลีใต้ ยุโรป รัสเซียอย่างไรก็ดี ต้องรอจำนวนนักท่องเที่ยวจีนให้มากกว่านี้ แต่ก็เชื่อว่าโอกาสที่จะกลับมามีมากขึ้น ผลดีน่าจะมีต่อธุรกิจบริการกลุ่มโรงแรม ร้านอาหาร ขนส่ง (สายการบิน) ค้าปลีก โดยเฉพาะตลาดบน เช่น โรงแรมขนาด 4 ดาวขึ้นไป และน่าจะเห็นการกระจายตัวมากกว่าในกรุงเทพฯและภูเก็ตออกไปเมืองท่องเที่ยวอื่นๆ เช่น พัทยา สมุย กระบี่ เป็นต้น

2. ภาคการส่งออกที่น่าจะพลิกกลับมาเป็นบวก หลังจากติดลบต่อเนื่องในช่วงต้นปี เห็นภาพการฟื้นตัวในอุตสาหกรรมกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ และยานยนต์ชิ้นส่วน น่าจะสนับสนุนให้เกิดภาคการลงทุนที่ดีขึ้น การจ้างงานที่ดีต่อเนื่อง ซึ่งสนับสนุนภาคการบริโภคอีกทอดหนึ่ง โดยกลุ่มที่คาดว่าจะฟื้นตัวได้ดีในช่วงไตรมาส 3 น่าจะอยู่ในกลุ่มอาหารแปรรูปและเกษตรแปรรูป โดยได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศจีนเป็นสำคัญ

3. ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่น่าจะทรงตัว หรือกลับมาย่อลงเล็กน้อย ตามปัจจัยเศรษฐกิจสหรัฐ ยุโรป ที่มีแนวโน้มที่จะเติบโตช้าลง โดยราคาน้ำมันที่ย่อลงน่าจะเป็นส่วนที่ช่วยลดค่าครองชีพให้คนในประเทศ สนับสนุนให้อัตราเงินเฟ้อเริ่มมีแนวโน้มที่จะทรงตัวและลดลงต่อเนื่องได้ นอกจากนี้ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์อื่น ๆ มีแนวโน้มทรงตัวหรือลดลงตามราคาน้ำมัน ซึ่งน่าจะช่วยลดต้นทุนภาคการเกษตรจากราคาอาหารสัตว์ที่ลดลงและภาคการก่อสร้างจากราคาวัสดุต่างๆที่ทรงตัวได้ แต่อาจไม่มากเพราะปัญหาภัยแล้งจากสภาวะเอลนีโญ (El Nino)


ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 มีความเสี่ยงที่อาจทำให้การฟื้นตัวสะดุดได้ ด้วย 3 ปัจจัย

1. ความไม่แน่นอนในการจัดตั้งรัฐบาล อาจจะมีความล่าช้า ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ คือ ต่างชาติ wait and see รอดูก่อน ก่อนที่จะกลับมาลงทุนในประเทศไทย อาจจะทำให้ไทยเสียโอกาสจากการย้ายฐานการผลิตจากจีนมาไทย ในอุตสาหกรรมสำคัญๆ บางครั้งเราอาจเสียโอกาสในการเร่งเจรจาการค้าเสรี (FTA) กับชาติยุโรป หรือชาติคู่ค้าสำคัญ ส่งผลให้ต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในไทย พิจารณาย้ายฐานไปเวียดนามหรือประเทศอื่นได้ หากสถานการณ์ของเรายังไม่มีการเอื้อ ให้เกิดประโยชน์จากการตั้งฐานการผลิตในประเทศ นอกจากนี้ งบการใช้จ่ายภาครัฐ งบการลงทุนภาครัฐ อาจลดลงต่อเนื่องได้ กระทบความเชื่อมั่นของนักลงทุนในประเทศ เมื่อเอกชนไทยยังไม่เห็นโครงการลงทุนภาครัฐใหม่ ๆ เอกชนอาจชะลอการก่อสร้างและกระทบภาคส่วนนี้ เว้นคอนโดมิเนียมระดับ 3 ล้านบาทตามแนวรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายที่ยังไปต่อได้

2. เศรษฐกิจโลกชะลอโดยเฉพาะเศรษฐกิจจีน เราเห็นภาพการเติบโตของเศรษฐกิจจีนที่เร่งแรงช่วงไตรมาส 1 ที่ 4.5% หลังจีนเปิดเมือง คนเร่งบริโภค แต่เริ่มเห็นสัญญาณชะลอตัวต่อเนื่อง ทั้งภาคการส่งออกที่พลิกกลับมาติดลบ ภาคการผลิตที่เริ่มเติบโตช้าลง รวมทั้งการใช้จ่ายของคนในประเทศเองไม่ได้แข็งแรงเหมือนต้นปี ภาครัฐเองเริ่มหามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น การลดดอกเบี้ยช่วงที่ผ่านมา อาจพอพยุงเศรษฐกิจได้บ้าง แต่ภาพเศรษฐกิจจีนที่เสี่ยงจะชะลอลงปัญหาสงครามการค้าและสงครามเทคโนโลยีกับสหรัฐฯที่สหรัฐฯพยายามกดดันไม่ให้เศรษฐกิจจีนขยายตัวได้ดีนักโดยเฉพาะการส่งออกของจีนในอนาคตและอาจมีแรงกดดันในภาคการผลิตของจีนอยู่ ซึ่งผลต่อภาคการส่งออกและการผลิตของจีนที่โตช้าจะกดดันภาคการส่งออกและภาคการท่องเที่ยวของไทยได้ในช่วงไตรมาส 3 นี้

3. ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีความเป็นไปได้ที่จะขึ้นดอกเบี้ยต่อลากยาว เนื่องจากปัญหาเงินเฟ้อมีแรงกดดันในระดับที่สูงอยู่ เงินเฟ้อที่หักจากราคาพลังงานและราคาอาหาร (core inflation) ยังลดลงค่อนข้างช้า ซึ่งอาจจะมีความเป็นไปได้ที่เฟดจะมีความจำเป็นที่จะขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง โดยอาจไม่ได้ขึ้นทุกรอบการประชุมหรืออาจจะขึ้นแล้วหยุดชั่วคราวก็ตาม ทำให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่สูงเกินกว่าที่ตลาดคาดกันไว้ที่ระดับ 5.75% และโอกาสในการลดดอกเบี้ยในปีนี้อาจจะหายไป น่าจะเกิดโอกาสที่เงินทุนจะเคลื่อนย้ายออกจากไทยกลับไปสู่สหรัฐฯกระทบให้เงินทุนผันผวน และทำให้บาทอ่อนค่าแตะระดับ 35.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ กระทบกับค่าครองชีพในประเทศได้อีกทอดหนึ่ง ขณะที่ทางคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของไทย มีโอกาสที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งเพื่อประคองแรงกดดันเงินเฟ้อในอนาคต แต่อาจมองว่าเรายังไม่จำเป็นต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยในรอบการประชุมเดือนสิงหาคม แต่อาจเว้นวรรคเพื่อรอความชัดเจนในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและนโยบายทางการเมือง รวมทั้งประเมินผลกระทบจากภาวะหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูงและความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ที่ยังมีอยู่ ก่อนจะปรับนโยบายทางการเงินในลำดับถัดไปในเดือนกันยายนสู่ระดับ 2.25%

“เรามองว่าการที่เศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 จะฟื้นตัวได้ แบบค่อยเป็นค่อยไป รวมทั้งจะเห็นสัญญาณฟื้นตัวได้ชัดเจนในไตรมาส 4 ก็เป็นไปได้ แต่ถ้าโอกาสของการฟื้นตัวน่าจะเป็นเชิงบวกที่ทำให้เศรษฐกิจไทยปีนี้ขยายตัวได้ 3.3% ตามคาด” ดร.อมรเทพ กล่าว.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ทหารทำร้าย

ทบ.ตั้ง กก.สอบปมกรมยุทธศึกษาทหารบก ทำร้ายผู้ใต้บังคับบัญชา

“ธนเดช” เผย กมธ.ทหาร รับเรื่องร้องเรียนเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก ทำร้ายร่างกายผู้ใต้บังคับบัญชา ขณะ ทบ. ตั้งกรรมการสอบแล้ว หวังเป็นตัวอย่างการลงโทษผู้บังคับบัญชาระดับสูงหากพบผิดจริง

“บิ๊กแจ๊ส” ลั่นพร้อมดูแลสนามกอล์ฟธูปะเตมีย์ ให้เป็นปอดประชาชน

“บิ๊กแจ๊ส” ลั่นหากได้รับถ่ายโอน อบจ.ปทุมฯ พร้อมจัดงบดูแลสนามกอล์ฟธูปะเตมีย์ ให้เป็นปอดประชาชน หลังขาดพื้นที่ออกกำลังกาย แต่จะกระทบความมั่นคงหรือไม่เป็นเรื่องละเอียดอ่อนต้องคุยกันต่อ

ข่าวแนะนำ

กฎหมายเปิดช่อง ริบรถพวกหัวร้อนบนถนนได้

จากคลิปรถเทสล่า ขับปาดหน้าบนทางด่วน ศาลสั่งจำคุก 1 เดือนคนขับ โทษจำรอลงอาญา 1 ปี แต่ที่สังคมต้องตระหนัก คือ ศาลยังสั่งริบรถเทสล่า มูลค่าเกือบ 2 ล้านคันนี้ด้วย วันนี้คนขับออกมาเปิดใจ พร้อมขอโทษคู่กรณี ขณะที่อัยการระบุ กฎหมายเปิดช่องให้ริบรถได้ เตือนผู้ขับขี่ใช้สติมากกว่าอารมณ์

นายกฯ ถกตั้งนายพลตำรวจ 41 ตำแหน่ง ยันไม่มีการเมืองแทรก

นายกฯ ถกแต่งตั้งนายพลตำรวจ 41 ตำแหน่ง ยันไม่มีการเมืองแทรก ยึดตาม พ.ร.บ.ตำรวจ ฉบับใหม่ พลิกโผ ‘สยาม บุญสม’ ผงาดคุมนครบาล ‘สันติ ชัยนิรามัย’ นั่ง ผบช.ปส. ‘ไตรรงค์ ผิวพรรณ’ โยกคุมไซเบอร์ ‘ภาณุมาศ บุญญลักษม์’ ขึ้นเป็น ผบช.สตม.

นายกฯ ถก ก.ตร. จับตาแต่งตั้งนายพลสีกากี 25 ตำแหน่ง

นายกฯ นั่งประธานประชุม ก.ตร. จับตาแต่งตั้งนายพล ระดับ “รอง ผบ.ตร.-ผู้ช่วย ผบ.ตร.-ผู้บัญชาการ” รวม 25 ตำแหน่ง กำชับพิจารณาให้รอบคอบ-ตรงกรอบกฎหมาย