“ผู้จัดการมรดก” คีย์แมนสำคัญ แต่ไม่ใช่เจ้าของมรดก

กรุงเทพฯ 14 มิ.ย.-KBank Private Banking (เคแบงก์ ไพรเวทแบงก์กิ้ง) ผู้ให้บริการที่ปรึกษาด้านการบริหารทรัพย์สินครอบครัว ชี้ จำเป็นในการตั้งผู้จัดการมรดก เมื่อเกิดการสูญเสียสมาชิกในครอบครัว  คีย์แมนสำคัญ แต่ไม่ใช่เจ้าของมรดก 


นายพีระพัฒน์ เหรียญประยูร Managing Director, Wealth Planning and Non Capital Market Head, Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า เมื่อเกิดการสูญเสียสมาชิกในครอบครัว หลังจากที่สมาชิกในครอบครัวต้องแจ้งการเสียชีวิตภายใน 24 ชั่วโมงต่อสำนักเขตหรือที่ว่าการอำเภอเพื่อออกใบมรณบัตรแล้ว อีกสิ่งที่จำเป็นต้องทำโดยเฉพาะอย่างยิ่งในครอบครัวที่มีทรัพย์สินมาก คือการตั้ง “ผู้จัดการมรดก” เพื่อดำเนินการ 4 เรื่องสำคัญต่อทรัพย์มรดกของผู้เสียชีวิต ได้แก่

1) รวบรวมทรัพย์สินและหนี้สิน: อสังหาริมทรัพย์ ทรัพย์สินทางการเงิน เช่น บัญชีเงินฝาก ยานพาหนะ และทรัพย์สินประเภทอื่น ๆ เช่น ทองคำ เครื่องประดับ


2) จัดการทรัพย์มรดก: ดูแล รักษา หรือจัดการทรัพย์มรดกตามที่จำเป็นหรือที่ระบุไว้ในพินัยกรรม

3) จัดแบ่งทรัพย์มรดก: แบ่งสินสมรส (ถ้ามี) และแบ่งทรัพย์มรดกให้ทายาท/ผู้รับพินัยกรรม

4) ยื่นภาษีเงินได้: ในปีแรกที่เสียชีวิต ให้ยื่นภาษีเงินได้ในนามผู้ตาย และในปีถัดจากปีที่เสียชีวิต หากยังไม่ดำเนินการแแบ่งทรัพย์สินให้ทายาท ให้ยื่นภาษีเงินได้ในนามกองมรดก (ต้องขอเลขผู้เสียภาษีต่างหาก)


ขั้นตอนในการตั้งผู้จัดการมรดก ให้ทายาท หรือ ผู้ร้อง (อาจเป็นผู้มีส่วนได้เสีย เช่น เจ้าหนี้) ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ดำเนินการตั้งผู้จัดการมรดกโดยแบ่งออกเป็น 2 กรณีคือ

1. กรณีที่ไม่มีพินัยกรรม อาจขอให้ตั้งทายาท/คู่สมรส คนใดคนหนึ่ง หรือร่วมกันเป็นผู้จัดการมรดก หรือตั้งบุคคลอื่นที่ไม่มีคุณสมบัติต้องห้ามตามกฎหมาย

2.กรณีที่มีพินัยกรรมและมีการระบุผู้จัดการมรดกไว้แล้ว ให้ตั้งบุคคลที่ระบุไว้ในพินัยกรรมเป็นผู้จัดการมรดก

หลังจากศาลได้ประกาศเพื่อให้ทายาทคัดค้าน และไต่สวนคุณสมบัติผู้ร้อง หากไม่มีการคัดค้าน ศาลจะมีคำสั่งให้ตั้งผู้จัดการมรดก ภายในระยะเวลา 2-3 เดือน จากนั้น ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายใน 15 วัน และต้องเสร็จภายใน 1  เดือน หรือตามระยะเวลาที่ศาลขยายให้ รวมทั้งจะต้องดำเนินการทำรายงานแสดงบัญชีการจัดการและแบ่งปันมรดกภายใน 1 ปี หรือตามระยะเวลาที่ทายาท/ศาล กำหนดไว้ด้วย

หากผู้จัดการมรดกไม่ทำตามหน้าที่/ทุจริต ทายาท ผู้รับพินัยกรรมหรือผู้มีส่วนได้เสียในมรดก สามารถดำเนินการกับผู้จัดการมรดกได้ เช่น

-ถอนผู้จัดการมรดก ทายาทที่มีสิทธิได้รับมรดกสามารถยื่นร้องต่อศาลขอให้ถอนผู้จัดการมรดกคนเดิม และตั้งคนใหม่ได้ หากผู้จัดการมรดกไม่ทำหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ไม่เริ่มทำบัญชีทรัพย์มรดกภายใน 15  วัน หรือไม่แบ่งทรัพย์สินให้ทายาทให้เสร็จสิ้น และไม่ทำรายงานบัญชีแบ่งทรัพย์มรดกยื่นต่อศาลภายใน 1 เดือน ตามที่กฎหมายกำหนด

-ฟ้องให้แบ่งทรัพย์มรดก  มักเกิดขึ้นในกรณีที่ทายาทขอให้ผู้จัดการมรดกแบ่งทรัพย์มรดกให้ทายาท แต่ผู้จัดการมรดกไม่ยอมแบ่งทรัพย์มรดกให้ทายาท ตามที่กฎหมายกำหนด เช่น อ้างว่าเป็นทรัพย์กงสีห้ามแบ่ง หรือผัดผ่อนการแบ่งไปเรื่อยๆ หรือปฏิเสธไม่แบ่งด้วยเหตุผลอื่น ทายาทสามารถฟ้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้

-ฟ้องเพิกถอนการโอนมรดก ในกรณีที่ผู้จัดการมรดกขายทรัพย์มรดกไม่เป็นไปตามราคาท้องตลาด ขายทรัพย์มรดกโดยไม่นำเงินมาแบ่งทายาท โอนทรัพย์มรดกให้บุคคลอื่น โดยไม่มีค่าตอบแทน รับโอนทรัพย์มรดกมาเป็นของตนเองคนเดียว ไม่แบ่งทายาทคนอื่น

-ดำเนินคดีอาญาความผิดฐานยักยอก ในกรณีที่ผู้จัดการมรดก โอนทรัพย์มรดกให้ตนเองคนเดียว ไม่แบ่งทายาทอื่นหรือแสดงเจตนาว่าจะเอาทรัพย์มรดกไว้คนเดียว ไม่แบ่งทายาทอื่น โอนทรัพย์มรดกให้ทายาทคนหนึ่ง แต่ไม่แบ่งให้คนอื่น ทั้งที่มีทายาทหลายคน จงใจขายทรัพย์มรดกในราคาที่ต่ำเกินสมควร ในลักษณะสมรู้ร่วมคิดกับผู้ซื้อ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ที่ไม่ควรได้ ในกรณีนี้ต้องชัดเจนว่าผู้จัดการมรดกกระทำการโดยไม่สุจริต ยักย้ายถ่ายเทหรือโอนทรัพย์มรดก ทำให้เกิความเสียหายแก่ทายาท ต้องแจ้งความภายใน 3 เดือน นับแต่รู้เรื่องการกระทำความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด

นายพีระพัฒน์ กล่าวว่า จะเห็นได้ว่าผู้จัดการมรดก มีหน้าที่ในการจัดการมรดกโดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็น การรวบรวมทรัพย์มรดก เพื่อแบ่งให้ทายาท ตลอดจนชำระหนี้สินของเจ้ามรดกแก่เจ้าหนี้ ทำบัญชีทรัพย์มรดกและรายการแสดงบัญชีการจัดการ ซึ่งหากผู้จัดการมรดกไม่ใช่ทายาท หรือผู้รับพินัยกรรมของเจ้าของมรดก ผู้จัดการมรดกก็จะไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดก จึงถือว่าไม่ได้เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก 

นอกจากนี้ หากผู้จัดการมรดกไม่ดำเนินการตามหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ หรือทำการทุจริตต่อทรัพย์มรดก อาจถูกดำเนินการทางกฎหมายด้วย ผู้จัดการมรดกจึงถือเป็นคีย์แมน หรือ บุคคลสำคัญในการบริหารจัดการและดำเนินการต่างๆ เกี่ยวกับมรดก ทั้งทรัพย์สินที่ต้องส่งต่อแก่ทายาท หรือการจัดการเรื่องหนี้สิน โดยหากเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมไว้ ผู้จัดการมรดกก็สามารถจัดการสิ่งต่างๆ ได้ง่ายขึ้น แต่หากไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ต้องดำเนินการต่างๆตามขั้นตอน ดังนั้น การทำพินัยกรรมกำหนดผู้จัดการมรดกที่มีความเป็นกลางหรือที่ทายาททุกคนยอมรับไว้ตั้งแต่ต้นอาจไม่ใช่บุคคลที่เป็นทายาทก็ได้ อาจช่วยลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ค้นบ้านสามารถ

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ” คดีฟอกเงินดิไอคอน

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ เจนชัยจิตรวนิช” คดีฟอกเงินดิไอคอน หลังพบเงิน “บอสดิไอคอน” โอนเข้าบัญชีแม่ของนายสามารถ

หมอบุญ

THG แจงบริษัทไม่เกี่ยวข้องคดีต่างๆ ที่เกิดจาก “หมอบุญ”

THG แจงตลาดหลักทรัพย์ฯ ปัจจุบัน “หมอบุญ” ไม่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้บริหารใน THG คดีฉ้อโกงใดๆ ที่เกิดขึ้น บริษัทไม่เกี่ยวข้อง

คะแนนไม่เป็นทางการ เลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ

ลุ้นผลคะแนนเลือกตั้งนายก อบจ.นครศรีธรรมราช นับเสร็จแล้วบางหน่วย ล่าสุด ณ เวลา 19.40 น. “วาริน ชิณวงศ์” เบอร์ 2 จากทีมนครเข้มแข็ง ชนะคู่แข่งขาดลอยในหลายหน่วย คะแนนทิ้งห่างแชมป์เก่า “กนกพร เดชเดโช” เบอร์ 1 จากพรรค ปชป.

“ทนายสายหยุด” จ่อถอนตัวคดีตั้ม หวั่นติดร่างแห

“ทนายสายหยุด” เตรียมถอนตัวเป็นทนายให้ “ตั้ม” เผยในมือมีแต่พยานเท็จ ปิดบังข้อเท็จจริง เสี่ยงเป็นผู้ร่วมกระทำผิด

ข่าวแนะนำ

วิเคราะห์การเมืองสนามใหญ่ หลังศึกเลือกตั้งนายก อบจ.

วิเคราะห์ผลการเลือกตั้งนายก อบจ. 4 สนามใหญ่ โดยเฉพาะอุดรธานี ที่สะท้อนถึงความนิยมในตัวของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี

“บิ๊กเต่า” ลั่นเตรียมมอบกุญแจมือเป็นของขวัญปีใหม่ให้คนดัง ส่งนอนห้องขัง

“บิ๊กเต่า” ลั่นเตรียมมอบ “กุญแจมือ” เป็นของขวัญปีใหม่ให้อินฟลูฯ นักร้อง คนดัง ส่งนอนห้องขังวีไอพี เผยปม “ฟิล์ม รัฐภูมิ” คาดมีความชัดเจนภายในสัปดาห์นี้

หมอบุญ

THG แจงบริษัทไม่เกี่ยวข้องคดีต่างๆ ที่เกิดจาก “หมอบุญ”

THG แจงตลาดหลักทรัพย์ฯ ปัจจุบัน “หมอบุญ” ไม่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้บริหารใน THG คดีฉ้อโกงใดๆ ที่เกิดขึ้น บริษัทไม่เกี่ยวข้อง