fbpx

 “ไพรินทร์” แนะทบทวนโครงสร้างไฟฟ้า  PDP 

กรุงเทพฯ 23 พ.ค.-  “ไพรินทร์” แนะทบทวนโครงสร้างไฟฟ้าระบบ PDP  หลังไทยมีไฟฟ้าปริมาณสำรองเกิน  แนวคิดนำก๊าซอ่าวไทย ส่งโรงไฟฟ้าโดยตรง  กกพ. รอนโยบายให้ชัดเจน ประชาชนได้ประโยชน์  ภาคอุตสาหกรรมอาจกระทบหนัก  


นายไพรินทร์  ชูโชติถาวร  ประธานกรรมการ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) กล่าวระหว่างการร่วมงานสัมมนาเรื่อง  “การวิเคระห์ข้อมูลเพื่อการกำกับกิจการพลังงาน” ว่า การประกาศ MOU  ของ 8 พรรคร่วมรัฐบาล ด้วยการปรับเปลี่ยนโครงสร้างพลังงาน  มองว่า  การลดปริมาณสำรองไฟฟ้า จากปัจจุบันร้อยละ 50  เพราะคาดการณ์เติบโตทางเศรษฐกิจระยะยาวตามแผน PDP  แต่ในช่วงเกิดปัญหาโควิด-19 เศรษฐกิจทรุด  เมื่อใช้ไฟฟ้าน้อยลง จึงมีส่วนเกินปริมาณสำรองจำนวนมาก  มองว่าปริมาณสำรองที่เหมาะสม คือ ร้อยละ 30 หากลดลงเหลือร้อยละ 20 นับว่าสำรองน้อยมากอาจเกิดปัญหาวิกฤติได้   เพราะหากเศรษฐกิจเติบโตการใช้ไฟฟ้าสูงขึ้น ปริมาณสำรองจำนวนมากจะทะยอยลดลงจากปัจจุบัน  โดยเฉพาะในช่วงฤดดูร้อนที่มีการใช้ไฟฟ้าจำนวนมาก ได้ทำให้ปริมาณสำรองลดลง แนวโน้มในระยะยาวไฟฟ้าสำรองมีจำนวนสูง  ผลดีมากกว่ามีปัญหาขาดแคลน 

“โครงสร้างไฟฟ้าของไทย รัฐเป็นผู้กำหนดจึงเลือกใช้ระบบ PDP   ขณะที่หลายประเทศพลังงานมีความมั่นคง จึงใช้ระบบเพาเวอร์พูล หลายประเทศในอาเซียนใช้ระบบนี้อยู่  เมื่อไทยใช้ระบบ PDP จนมีปริมาณไฟฟ้าสำรองเกิน อาจต้องเปลี่ยนแนวคิดว่า ระบบ  PDP เหมาะสำหรับในยุคพลังงานไฟฟ้าไม่เพียงพอ อาจต้องเปลี่ยนมาเป็นระบบไฟฟ้าเสรีได้หรือไม่ เพื่อให้ทุกเช้ามีการเสนอราคาซื้อขายไฟฟ้าแบบเสรี เพราะไทยถึงจุดปริมาณไฟฟ้าสำรองเกิน ไม่มีปัญหาขาดแคลน จึงขึ้นอยู่กับการเลือกใช้แบบไหน” นายไพรินทร์ กล่าว    


ส่วนแนวคิดนำก๊าซจากอ่าวไทย ส่งไปให้โรงไฟฟ้าโดยตรง   จากนั้นค่อยจัดส่งให้ภาคอุตสหากรรมภายหลัง นับว่าเป็นแนวคิดใหม่และเปลี่ยนนโยบายพลังานครั้งใหญ่ในรอบ 40 ปี สำหรับเมืองไทย จึงต้องศึกษาอย่างรอบคอบ  ยอมรับว่าการผลิตพลังงานมีต้นทุน ประเทศไทยต้องนำเข้า ที่ผ่านมาทุกรัฐบาลพยามยามที่สุด ไม่มีอะไรปลุกเสกให้พลังงานถูกลงได้ ปัจจุบันไทย ซื้อพลังงานและซื้อความมั่นคง หลายประเทศเพื่อนบ้าน ราคาพลังงานถูก แต่มีปัญหาไฟฟ้าตก ไฟฟ้าดับบ่อยมาก หากยอมจ่ายค่าความมั่นคง ต้องยอมจ่ายเรื่องปริมาณสำรองในสัดส่วนที่เหมาะสม  ยอมรับว่า การปรับโครงสร้างพลังงาน ด้วยการทบทวนแก้ไขสัญญาในการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ (IPP) นั้น อาจลำบาก เนื่องจากเป็นสัญญามีข้อผูกมัด เพราะข้อตกลงทางกฎหมาย หากมีการแก้ไขรัฐบาลต้องเข้าไปชดเชยดังนั้นการแก้ปัญหาต้องมองไปข้างหน้า 

นายวีระพล   จิรประดิษฐกุล อดีตกรรมการกำกับกิจการพลังงาน กล่าวยอมรับว่า ราคาพลังงานทดแทนมีความไม่แน่นอน จึงต้องส่งสัญญาณให้ประชาชนใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ และอยากให้ยกเลิกการอุดหนุนราคา อย่างเช่นการส่งเสริมใช้ก๊าซ NGV เมื่อภาครัฐอุดหนุนราคาต่ำมีคนใช้รถ NGV จำนวนมาก แต่พอยกเลิกอุดหนุนปรับราคาสะท้อนต้นทุน ประชาชนเลิกใช้ รถยนต์ NGV เกือบหมดเหลือแต่รถบรรทุก  สำหรับการส่งเสริมใช้รถยนต์ไฟฟ้าแนะนำให้ชาร์จแบตในช่วงกลางคืนเพราะราคาถูกกว่าการชาร์จในช่วงกลางวัน  ยอมรับว่าการชาร์จด้วยระบบควิกชาร์จในเวลานั้นๆ ทำให้แบตเสื่อมมากกว่าการค่อยๆชาร์จในช่วงกลางคืน 

นายคมกฤช  ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงาน คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน  (กกพ.)  กล่าวว่า แนวโน้มการใช้รถยนต์ไฟฟ้าสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะไทยมีระบบสายส่งไฟฟ้ากระจายทั่วประเทศ สำหรับพลังงานไฮโดรเจนยังหาที่เติมลำบาก รัฐบาลจึงต้องเลือกแนวทางส่งเสริมว่าจะเลือกส่งเสริมอย่างไร ขณะนี้ภาครัฐพยายามส่งเสริมการตั้งสถานีชาร์จกระจายทุกภูมิภาคให้เพียงพอ  ส่วนแนวคิดนำก๊าซจากอ่าวไทย  ส่งไปให้โรงไฟฟ้าผลิตไฟฟ้าโดยตรง   จากนั้นค่อยจัดส่งให้ภาคอุตสหากรรมภายหลัง  เคยใช้นโยบายดังกล่าวมาแล้วในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน ที่ผ่านมา แต่ทำให้ต้นทุนไฟฟ้าภาคอุตสาหกรรมเพิ่ม อาจส่งผลไปยังต้นทุน และกระทบราคาสินค้าเพิ่ม รัฐบาลชุดใหม่จึงต้องตัดสินใจ ส่วน สำนักงาน กกพ.พร้อมดำเนินการตามนโยบาย 


นายไพรินทร์ กล่าวเพิ่มเติมว่า รถไฟฟ้า คือ รถดิจิทัลวิ่งได้เหมาะสำหรับคนรุ่นใหม่  นิยมใช้กันหลายประเทศทั่วโลกขณะนี้จีน กลายเป็นผู้ส่งออกรถยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่ที่สุดของโลก และหากค่ายรถยนต์จีน ขยายเข้ามาลงทุนในประเทศ อาจได้เห็นรถยนต์ราคา 2-3 แสนบาท วิ่งบนถนนได้ในเมืองไทยในอนาคต ขณะที่พลังงานด้านอื่น อาจต้องปรับตัว อย่างเช่น รถยนต์โตโยต้าพลังงานจากไฮโดรเจน ต้องปิดโรงงานในสหรัฐไปแล้ว เพราะคนรุ่นใหม่หันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าจำนวนมาก  ยอมรับว่าเทคโนโลยีในการผลิตแบตเตอรี่ปัจจุบันเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก  มีการพัฒนาก้าวหน้าเพิ่มขึ้น ทั้งขนาดเล็กลง และจัดเก็บพลังงานได้สูงมาก การใช้ยานยนต์ไฟฟ้า จึงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา.-สำนักข่าวไทย  

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พบศพโบลท์หญิงวัย 47 ในป่าหญ้าริมทาง คาดถูกฆ่าชิงรถ

โบลท์หญิงวัย 47 ปี หายตัวจากบ้านพักย่านดินแดง 9 วัน ล่าสุดพบเป็นศพในป่าหญ้าริมถนนสายนครชัยศรี-ห้วยพลู อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ส่วนรถยนต์โผล่ที่ จ.ภูเก็ต คาดถูกคนร้ายฆ่าชิงรถ

pagers on display

ทำไมยังมีการใช้ “เพจเจอร์” ในยุคสมาร์ทโฟน

ลอนดอน 19 ก.ย.- เพจเจอร์ หรือวิทยุติดตามตัวเป็นอุปกรณ์การสื่อสารยอดนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ต้องหลีกทางให้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว แต่ยังคงมีการใช้งานในบางกลุ่ม รวมถึงกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่เพจเจอร์ระเบิดพร้อมกันหลายพันเครื่องทั่วเลบานอนเมื่อวันที่ 17 กันยายน แหล่งข่าวเผยว่า ฮิซบอลเลาะห์ใช้เพจเจอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางสื่อสารเทคโนโลยีต่ำ ส่งข้อความผ่านสัญญาณวิทยุ จึงตรวจจับสัญญาณและตำแหน่งได้ยากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ส่งสัญญาณไปยังเสาส่งที่อยู่ใกล้ที่สุด อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีระบุพิกัดบนพื้นโลกอย่างจีพีเอสด้วย อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอ (FBI) ของสหรัฐเผยว่า ในอดีตแก๊งอาชญากรรมโดยเฉพาะแก๊งค้ายาเสพติดในสหรัฐเคยนิยมใช้เพจเจอร์ แต่ขณะนี้หันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินราคาถูกที่สามารถเปลี่ยนเครื่องและหมายเลขได้อย่างง่ายดาย ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามแกะรอยได้ยาก อย่างไรก็ดี  ศัลยแพทย์โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรเผยว่า เพจเจอร์เป็นอุปกรณ์ที่แพทย์และพยาบาลสังกัดสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติหรือเอ็นเอชเอส (NHS) ต้องพกติดตัวอยู่เสมอ เพื่อรับแจ้งข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นช่องทางที่ถูกที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแจ้งข่าวทางเดียวกับคนจำนวนมาก เพจเจอร์หลายรุ่นสามารถส่งเสียงไซเรนและมีข้อความเสียงแจ้งให้ทีมแพทย์ไปรวมตัวที่ห้องฉุกเฉินได้ทันที ข้อมูลล่าสุดในปี 2562 ระบุว่า เอ็นเอชเอสใช้เพจเจอร์ประมาณ 130,000 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 10 ของที่ใช้ทั่วโลก คอกนิทีฟมาร์เก็ตรีเสิร์ช  (Cognitive Market Research) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยคาดการณ์ว่า ตลาดเพจเจอร์จะเติบโตร้อยละ 5.9 ต่อปี จากปี 2566 ถึงปี 2573 […]

ข่าวแนะนำ

“อนุทิน” ลุยเชียงใหม่ร่วมบิ๊กคลีนนิ่ง ฟื้นฟูหลังน้ำลด

“อนุทิน” ลงพื้นที่เชียงใหม่ ร่วมทีม จนท.-กู้ภัย-อาสาสมัคร “บิ๊กคลีนนิ่ง” ฟื้นฟูเมืองหลังน้ำลด เร่งจ่ายเยียวยาผู้ประสบภัย