กรุงเทพฯ 5 มิ.ย.-บนสังคมออนไลน์แชร์เตือนให้เลี่ยงอาหาร 7 ชนิด ที่ไม่ควรซื้อจากซูเปอร์มาร์เก็ต เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์.-สำนักข่าวไทย
บทสรุป : ไม่ควรแชร์ต่อ
ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท สอบถาม ดร.นัฐพล ตั้งสุภูมิ อาจารย์สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุข้อความที่แชร์เป็นข้อมูลเก่าตั้งแต่ปี 2555 เป็นความจริงบางส่วนแต่ไม่ทั้งหมด เนื่องจากมีความคลาดเคลื่อนในการแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย ดังนี้
-เนื้อบด ใช้เนื้อที่เหลือทำ : มีความเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งสกปรกหรือฝุ่นผงติดอยู่ ไม่สามารถทำความสะอาดได้ เพราะไม่ได้ขายเป็นชิ้น สิ่งที่ต้องระวังคือเชื้อจุลินทรีย์ที่อาจปนเปื้อนในเครื่องบดที่ไม่สะอาด
-เนื้อวัว มียาปฏิชีวนะเกินกำหนด : เป็นกรณีที่ อย.สหรัฐ ตรวจพบเมื่อปี 2553 ว่าพบยาปฏิชีวนะเกินกำหนด ประเทศไทยยังไม่พบปัญหานี้
-ข้าวโอ้ต มีโลหะหนักปนเปื้อน : ข้าวโอ้ตมีใยอาหารที่ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพ คือ “เบต้า กลูแคน” ข้อความที่แชร์คือการพบสารให้ความหวานในน้ำเชื่อมข้าวโพดมีสารตะกั่วปนเปื้อนเกิดที่สหรัฐเมื่อปี 2553
-กุ้งแช่แข็งเก่าเก็บ : อาหารแช่แข็งไม่สมควรเก็บไว้นานอยู่แล้ว เพราะหลักการสำคัญของอาหารแช่แข็งคือให้มีเชื้อเริ่มต้นน้อยที่สุด อาจจะล้างด้วยน้ำคลอรีน หรือเติมวัตถุเจือปนอาหารบางอย่างเพื่อที่เวลาละลายแล้วไม่ทำให้อาหารเสื่อมคุณภาพ อย่างไรก็ตาม แม้จะล้างน้ำแล้วแต่โปรตีนในกุ้งแช่แข็งยังไม่เปลี่ยนแปลง
-เนื้อสัตว์เป็นแพ็คมีแบคทีเรียจำนวนมาก : เป็นปัญหาในสหรัฐหลายปีแล้ว มีการใช้ยาปฏิฯ มากจนเชื้อ “สแตฟไฟโลคอคคัส ออเรียส” (Staphylococcus aureus) ดื้อยา แต่ในไทยยังไม่มีรายงานเรื่องนี้
-อาหารกระป๋องมีสารอันตราย อาจส่งผลเสียต่อสมองและระบบหลอดเลือดหัวใจ : ข้อความนี้เชื่อมโยงพิษภัยของสารชื่อ BPA ซึ่งเป็นส่วนประกอบเคลือบอาหารกระป๋อง แต่ อย.สหรัฐ พบว่าแม้จะกินอาหารกระป๋องทุกวันทุกมื้อ ปริมาณสารที่เคลือบกระป๋องก็ไม่ทำให้เกิดพิษต่อร่างกาย
-ผลไม้แช่แข็ง มีแต่ความชื้น ขึ้นราง่ายกว่าผลไม้สด พบแบคทีเรียในเนื้อผลไม้ : เป็นความจริง แต่ปกติคนจะกินอาหารแช่แข็งทันที ไม่ทิ้งไว้
ที่อุณหภูมิห้องนานเกินไป
ทั้งนี้ พิษภัยต่างๆ ส่วนมากจะมาจากการผลิต การเก็บไม่ดี และการปรุงอาหารไม่ถูกสุขลักษณะ
วิธีการ • Add LINE ของสำนักข่าวไทย เข้าไปที่เพิ่มเพื่อน แล้วพิมพ์ @TNAMCOT ถ้าได้รับแชร์อะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาให้เราตรวจใน “ชัวร์ก่อนแชร์” พบกับสกู๊ปข่าวนี้ได้ในข่าวค่ำสำนักข่าวไทยทุกวัน
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter