สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราช 2 มิ.ย.- กรมการแพทย์ เปิดศูนย์การดูแลทารกแรกเกิดป่วยและพิการครบวงจร ใช้เทคโนโลยีทันสมัย ผ่าตัดสวนหัวใจทารกแรกเกิด รักษาภาวะโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในเด็ก รวมผนังกั้นหัวใจรั่ว
นพ.ธีรพล โตพันธานนท์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวถึงการศูนย์การดูแลทารกแรกเกิดป่วยและพิการครบวงจร พร้อมเปิดให้สื่อมวลชน ชมห้องสวนหัวใจในเด็กว่า อัตราการเกิดของทารกไทย เฉลี่ยปีละ 700,000 คน โดยเป็นทารกคลอดก่อนกำหนด 100,000 คน ในจำนวนนี้มีบางรายป่วยพิการทั้งจากโรคหัวใจ ปากแหว่งเพดานโหว่ และบางรายก็เสียชีวิต ซึ่ง องค์การอนามัยโลก ระบว่า สาเหตุการตายาของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มาจากทารกคลอดก่อนกำหนด ร้อยละ 37.5 รองลงมา ทารกมีความพิการแต่กำเนิด ร้อยละ 23.9
สำหรับห้องผ่าตัดสวนหัวใจในเด็ก ของสถาบันสุขภาพแห่งชาติมหาราชินี ปัจจุบันได้มีการปรับปรุงให้ทันสมัย สามารถสวนหัวใจเด็กทารกแรกเกิด และขยายหลอดเลือดหัวใจตีบ ซึ่งในแต่ละปีทางสถาบันฯมีการผ่าตัดสวนหัวใจเด็ก 1,200 คน เฉลี่ยวันละ 4-5 เคสนอกจากยังใช้ในการผ่าตัดรักษาโรคผนังกั้นหัวใจรั่ว
นพ.วิบูลย์ กาญจนพัฒนกุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด กล่าวว่า ปัญหาที่พบในทารกคลอดก่อนกำหนด มากที่สุด ได้แก่ ภาวะน้ำหนักตัวน้อย บางรายหนักแค่ 450-500 กรัม ทำให้ความสมบูรณ์ของอวัยวะ ไม่เต็มที่ ทั้งปอดและหัวใจ การรักษาในปัจจุบันแพทย์ต้องให้เข้าตู้อบ ปรับอุณหภูมิเท่ากับครรภ์ของมารดา ให้สารน้ำ ไขมันและโปรตีน โดยทารกที่มีปัญหาสุขภาพเหล่านี้ ต้องอยู่ในตู้อบนานกว่า 3 เดือน
สำหรับค่าใช้จ่าย จะได้รับตามสิทธิของหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ บางรายไม่ค่าใช้จ่ายสูงถึง500,000 บาท หรือบางรายมีการผ่าตัดร่วมค่าใช้จ่ายสูงถึง 3,000,000 บาทซึ่งในการเบิกจ่าย สามารถเบิกได้แค่เพียง 200,000 -500,000 บาท จึงจำเป็นต้องใช้เงินบำรุงโรงพยาบาล ของกองทุน มูลนิธิโรงพยาบาลเด็ก -สำนักข่าวไทย