แนะผู้ปกครองหมั่นดูแลบุตรหลาน โรคไข้อีดำอีแดงระบาดในเด็ก

กทม. 1 มี.ค.-กรมการแพทย์ แนะผู้ปกครองไม่ควรตื่นตระหนก จากสถานการณ์การระบาดของโรคไข้อีดำอีแดง แต่ให้ระมัดระวังและเฝ้าสังเกตอาการในเด็ก ดูแลสุขอนามัยอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ เนื่องจากโรคนี้ไม่สามารถหายได้เอง ทั้งยังมีภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตรายได้

นายแพทย์ธนินทร์ เวชชาภินันท์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรคไข้อีดำอีแดง หรือ Scarlet Fever เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียสเตร็ปโตคอคคัสกลุ่มเอ (Group A Streptococcus) การแพร่ระบาดอาจเนื่องมาจากการกลับมาใช้ชีวิตปกติหลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย และการสะสมของประชากรที่ไม่มีภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้น หรือที่เรียกว่า immunity debt สำหรับผู้ที่เคยเป็นโรคนี้มาก่อน ยังมีโอกาสเป็นซ้ำได้ เนื่องจากภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นหลังการติดเชื้อไม่ได้อยู่ถาวร และเชื้อสเตร็ปโตคอคคัส group A มีหลายสายพันธุ์ แต่มีเพียงบางสายพันธุ์ที่สร้างสารพิษนี้และทำให้เกิดโรคไข้อีดำอีแดง สายพันธุ์ที่พบว่าทำให้เกิดโรคนี้บ่อย ได้แก่ สายพันธุ์ที่มี emm type 12 และ emm type 1 การเฝ้าระวังและติดตามการระบาดของสายพันธุ์เหล่านี้จึงมีความสำคัญในการควบคุม


นายแพทย์อัครฐาน จิตนุยานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า โรคไข้อีดำอีแดง พบได้บ่อยในเด็กช่วงอายุ 5-15 ปี เชื้อนี้สามารถติดต่อได้ง่าย ผ่านทางการไอ จาม สัมผัสสารคัดหลั่ง หรือใช้ของร่วมกัน เช่น แก้วน้ำ ช้อน หรือผ้าเช็ดหน้า กลุ่มที่ต้องระวังเป็นพิเศษได้แก่ เด็กในวัยเรียน ผู้ที่อยู่ในสถานที่แออัดอาการของโรคไข้อีดำอีแดง คือ ไข้สูง เจ็บคอ ต่อมทอนซิลบวมแดง มีจุดหนอง หรือฝ้าขาวบริเวณทอนซิล และมีผื่นแดงคล้ายกระดาษทราย ขึ้นตามลำตัวแล้วกระจายไปแขนขา ผิวแดงคล้ายถูกแดดเผา แต่บริเวณรอบปากจะซีด และมีลิ้นแดงคล้ายผลสตรอเบอร์รี่ บางรายอาจมีอาการปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน หรือปวดท้องร่วมด้วย การรักษาจำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น เช่น ไตอักเสบ หรือไข้รูมาติก โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายเป็นปกติภายใน 7-10 วันหลังได้รับการรักษา ด้วยยาปฏิชีวนะ ดังนั้น เน้นย้ำถึงความสำคัญของการรับประทานยาปฏิชีวนะให้ครบตามกำหนด แม้ว่าอาการจะดีขึ้น หากรับประทานยาไม่ครบกำหนดอาจทำให้เชื้อยังหลงเหลืออยู่ และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง เช่น โรคหัวใจรูห์มาติก หรือไตอักเสบ

ทั้งนี้ ผู้ปกครองควรหมั่นสังเกตอาการของเด็กต่อไปอีกประมาณ 2-3 สัปดาห์หลังจากการรักษา เพื่อเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นหากพบว่าเด็กมีอาการตัวบวม ปัสสาวะออกน้อยลง หรือปัสสาวะมีสีแดงผิดปกติ อาจเป็นสัญญาณของภาวะไตอักเสบ หรือหากมีอาการเหนื่อยง่าย หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ อาจเป็นสัญญาณของภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจ ควรรีบนำเด็กไปพบแพทย์ทันที.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

หนุ่มพาลูก-เมียกลับจากฉลองวันเกิด รถยางระเบิดเสียหลักชนเสาไฟ ดับ 3 สาหัส 2

พ่อแม่ลูก 5 คน กลับจากฉลองวันเกิด รถกระบะยางระเบิดเสียหลักหมุนชนอัดเสาไฟฟ้า พ่อและแม่พร้อมลูกคนโตเสียชีวิตคาที่ ส่วนลูกคนกลางและคนเล็กอาการสาหัส

สุดโหด! ไล่แทงหนุ่มดับปมขัดแย้งยาเสพติด

วงจรปิดจับภาพชัด คนร้ายวิ่งข้ามถนนไล่แทงหนุ่มเสียชีวิต ชาวบ้านแตกตื่น ขณะที่ตำรวจรวบตัวทันควัน คาดปมขัดแย้งยาเสพติด

กยศ.เปิดทางปรับลดยอดหักเงินเดือน พ.ค.-มิ.ย.68

กยศ. เปิดทางปรับลดยอดหักเงินเดือน ช่วยเหลือชั่วคราว พ.ค.-มิ.ย.68 ให้นายจ้างลดยอดการหักเงินเดือน ทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อเริ่มผ่อนชำระใหม่เป็นรายเดือนในอัตราลดลง

ข่าวแนะนำ

เชียงใหม่เลือกตั้งเทศบาลคึกคัก ยอดร้องเรียนเกือบ 30 เรื่อง

เชียงใหม่เลือกตั้งเทศบาล บรรยากาศช่วงเช้าเป็นไปอย่างคึกคัก ขณะที่ กกต.เผยยอดร้องเรียน เกือบ 30 เรื่องแล้ว

กกต. เผยเลือกตั้งเทศบาล มีคำร้อง 352 เรื่อง เตือนอย่าทำผิด กม.

ประธาน กกต. เผยยอดคำร้อง “เลือกตั้งเทศบาล” เพิ่มเป็น 352 เรื่อง เตือนอย่าทำผิดกฎหมาย พร้อมเชิญชวนประชาชนออกมาใช้สิทธิ คาดรู้ผลคะแนนอย่างไม่เป็นทางการ ไม่เกิน 4 ทุ่ม

วธ.จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์-ตักบาตร เนื่องในวันวิสาขบูชา

วธ.จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ตักบาตร และเวียนเทียน เนื่องในเทศกาลวันวิสาขบูชา นำพุทธศาสนิกชนใช้หลักธรรมสืบสานพระพุทธศาสนา

แผ่นปูนหล่นจากรถบรรทุก ร่วงทับเก๋งพังยับ คนขับเจ็บ

แผ่นปูนขนาดใหญ่ร่วงจากรถบรรทุก ทับเก๋งวิ่งผ่าน พังยับทั้งคัน บริเวณปากซอยลาดกระบัง 54 โชคดีคนขับบาดเจ็บเล็กน้อย