มทร.พ ไม่จบ แม้รมว.อว.ช่วยกู้สถานการณ์

กรุงเทพฯ 28 พ.ย.-นายกสภามทร.พ.แฉขบวนการแย่งชิงอำนาจภายในใช้การประชุมลับลงมติเสียงข้างมากปลดอย่างไม่เป็นธรรม แม้รมว.อว.จะออกประกาศหวังกู้สถานการณ์ เปรียบมหาหาวิทยาลัยเป็น “คนหัวขาด”


นายสุรพงษ์ โสธนะเสถียร นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร(มทร.พ.) ให้สัมภาษณ์กรณีเกิดปัญหาภายในมหาวิทยาลัย า มทร.พ.ประสบปัญหาการแข่งขันอำนาจการเมืองในมหาวิทยาลัย  มีปัญหาเรื่องคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล จนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม(อว.) ต้องออกประกาศก.พ.อ. หวังว่าจะช่วยกู้สถานการณ์ของระบบมหาวิทยาลัยให้ดีขึ้น ความขัดแย้งในมหาวิทยาลัยอยู่ที่ว่า ผู้นำมหาวิทยาลัยแย่งชิงกันครอบครองอำนาจและผลประโยชน์ โดยเฉพาะความพยายามยึดตำแหน่งอธิการบดีของฝ่ายบริหารและสภามหาวิทยาลัยให้อยู่ในกำมือของตนเองแบบเบ็ดเสร็จ

นายสุรพงษ์ กล่าวว่า การประชุมสภาวันที่ 20 เมษายน 2565 กรรมการสภาและฝ่ายบริหารถือวิสาสะแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายงานการประชุมสภามหาวิทยาลัย หลังจากที่ตนกล่าวปิดประชุมสภาแล้ว แต่กรรมการยังคงนั่งประชุมต่อ ซึ่งเป็นการประชุมลับหลังนี้ได้ใช้เสียงข้างมากถอดถอนตน โดยอ้างอิงเพียงข้อความเชิงปริมาณทั้งที่การลงมตินี้ สภามหาวิทยาลัยต้องพิสูจน์ให้เห็นจริงตาม (3) ของมาตรา 26 ของพ.ร.บ.ว่ามีความประพฤติเสื่อมเสีย บกพร่องต่อหน้าที่ หรือหย่อนความสามารถก่อน


“แต่ข้อความที่เป็นเงื่อนไขดังกล่าวยังไม่ได้มีการสอบสวน เพื่อให้มีข้อยุติทางกฎหมาย กรรมการสภาและหัวหน้าฝ่ายบริหารรับบทบาทเป็นเลขานุการของที่ประชุม เพื่อกำหนดการประชุมทั้งหมดเอง การประชุมลับหลังทำให้ผมไม่ได้รับโอกาสแสดงประจักษ์หลักฐาน ผลการประชุมในวันนั้น มีการปลอมแปลงรายงานการประชุมสภาจากเดิมเป็นของใหม่อย่างสิ้นเชิง เพื่อให้มีญัตติถอดถอนผมอยู่ในนั้น ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของการฟ้องศาลปกครอง ศาลอาญา และศาลอาญาปราบทุจริต และสอบสวนทั้งข้อเท็จจริงและการสอบสวนวินัยด้วยเหตุที่ว่าตามมาตรา 29 ของพ.ร.บ. บัญญัติไว้ว่า (อธิการบดี) ถูกลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการ เพราะเหตุมีมลทินหรือมัวหมองใน กรณีที่ถูกสอบสวนทางวินัยอย่างร้ายแรง”  นายสุรพงษ์ กล่าว

นายสุรพงษ์ กล่าวว่า ได้ตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงและกรรมการสอบสวนวินัยตามข้อบังคับ ได้ผลสรุปเมื่อวันที่ 3 ตุลาคมที่ผ่านมา ดังนี้ อธิการบดีได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีเป็นผู้บังคับบัญชาของมหาวิทยาลัย มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในกิจการมหาวิทยาลัย แต่ไม่ดำรงตนอยู่ในกรอบของกฎหมายและข้อบังคับ มีพฤติกรรมลุแก่อำนาจ กระทำการตามอำเภอใจ ไม่เคารพยำเกรงกฎหมายและข้อบังคับ และยังก้าวล่วงอำนาจของผู้บังคับบัญชา ขาดไร้ซึ่งคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ทำให้เกิดความระส่ำระสายในมหาวิทยาลัย พฤติการณ์เหล่านั้นล้วนแสดงถึงวุฒิอันไม่เหมาะสมกับตำแหน่งอธิการบดี ถือได้ว่าเป็นการกระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรงมหาวิทยาลัยกลายเป็นคนหัวขาด การสั่งงานใด ๆ และการรับคำสั่งของบุคลากรในมหาวิทยาลัยจากทีมงานของบุคคลดังกล่าวถือว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง